วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เทคโนโลยี Technology




เทคโนโลยี  ( Technology)

 หมายถึง  สิ่งที่มนุษย์สร้างหรือพัฒนาขึ้นมา เช่น วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสาขาอื่น ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและแก้ปัญหาต่างๆ

อ่านเพิ่มเติม

เทคโนโลยีมีความสำคัญหลายด้าน ดังต่อไปนี้

1. สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี  โดยเมื่อใช้เทคโนโลยี เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางแทนการเดินหรือนั่งรถประจำทาง เดินทางโดยเรือยนต์ ทำให้มนุษย์ ประหยัดเวลาและสะดวกสบายไม่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน  และการใช้ชีวิตประจำวัน  มีเวลาทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและสุขภาพจิต ซึ่งบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตที่ดี

2.  เกิดการสื่อสารไร้พรหมแดน  เมื่อใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์ อินเตอร์เนท  ดาวเทียม มนุษย์ทั่วโลกจะสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ทุกที่ ทุกเวลา จึงเกิดความเสมอภาคกันในด้านศึกษาและการรับรู้ข่าวสารต่างๆ

3. ป้องกันความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สิน  เมื่อใช้เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย เช่นภาพถ่ายดาวเทียม กล้องโทรทัศน์วงจรปิด  การติดตั้งเครื่องจับสัญญาณสึนามิในทะเล จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดต่อชีวิตและทรัพย์สินได้นั่นเอง

4. การทำงานรวดเร็วคล่องตัว  เมื่อใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สำนักงาน เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร โทรสาร จะช่วยให้ทำงานเสร็จในเวลาที่กำหนด และมีคุณภาพ ประหยัดทรัพยากร
5. แก้ปัญหาต่างๆ ได้ เมื่อใช้เทคนิควิธีการต่างๆ ซึ่งอาจเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือนำงานวิจัยและพัฒนาของบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ซึ่งอาจจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปได้ เช่น การใช้วิธีแกล้งดิน  ช่วยปรับสภาพดินเป็นกรดให้ปลูกพืชได้  การใช้พืชสมุนไพรในการกำจัดแมลงแทนสารเคมีช่วยแก้ปัญหาการเกิดมลพิษทางอากาศได้

ระดับของเทคโนโลยี
 เทคโนโลยีเกิดจากการคิดค้นและพัฒนาของมนุษย์ มีหลักฐานปรากฏให้เห็นตั้งแต่ยุคโบราณซึ่งเป็นเครื่องมือทำมาหากินหรือใช้สอยประจำวัน ต่อมาในยุคกลางหรือยุคเหล็กจะเป็นการนำโลหะๆต่าง มาเป็นเครื่องมือและอาวุธรวมถึงการก่อสร้างที่อาศัย สำหรับในปัจจุบันสามารถแบ่งระดับของเทคโนโลยีได้ 3  ประเภท ดังนี้

เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านหรือพื้นฐาน เป็นเทคโนโลยียุคแรกของบรรพบุรุษซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสังคเกษตรกรรมพื้นบ้านที่มีการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธเพื่อใช้ในการล่าสัตว์นำมาเป็นอาหาร  ผลิตวัสดุ และนำทรัพยากรท้องถิ่นมาใช้ รวมถึงมรการถนอมอาหาร เช่น  อาหารตากแห้ง  เทคโนโลยีระดับนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจ หรือมีความรู้มากมาย เพียงแค่รู้หลักการและวิธีการใช้เท่านั้น ตัวอย่างเทคโนโลยีระดับนี้ ได้แก่ ขวาน  มีดพร้า เสียม จอบ ลอบดักปลา อวน แห คันไถ หม้อไห กระต่ายขูดมะพร้าว ครกตำข้าว ยาสมุนไพร เรือพาย  ครกกระเดื่อง ระหัดวิดน้ำ เครื่องสีข้าว  ครกหินบดยา เป็นต้น

2 เทคโนโลยีระดับกลาง  เป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนขึ้นโดยต้องใช้ความรู้และประสบการณ์  จากการแก้ปัญหาเกษตรกรรมพื้นบ้าน  มาพัฒนาระบบการทำงาน กลไกลต่างๆ และแก้ไข ซ่อมแซม อุปกรณ์ เครื่องมือให้กลับมามีสภาพดีดังเดิม ตลอดจนเผยแพร่ความรู้แก่คนในท้องถิ่นได้ ตัวอย่าง เทคโนโลยีระดับนี้ ได้แก่ การใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน  การใช้เครื่องทุ่นแรง  เครื่องยนต์  มอเตอร์  การจับสัตว์น้ำด้วยเรือยนต์ลากจูง  เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ กังหันลมช่วยผลิตพลังงานไฟฟ้า กังหันลมช่วยสูบน้ำใต้ดิน  สว่านไฟฟ้า เครื่องเจาะไฟฟ้า  การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อแก้ปัญหาดินเสื่อมสภาพ การสร้างอ่างเก็บน้ำ  การผลิตอาหารจากผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตร  เครื่องมือขูดมาพร้าวที่ติดมอเตอร์ใช้ไฟฟ้า  เป็นต้น

3  เทคโนโลยีระดับสูง  เป็นเทคโนโลยีที่ผู้พัฒนาต้องมีประสบการณ์อันยาวนาน  เพื่อให้สามารถปรับปรุง  แก้ไข้  ดัดแปลงเทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนได้ ซึ่งต้องมีการศึกษา  ค้นคว้า วิจัย ทดลอง อย่างสม่ำเสมอ และมีการประดิษฐ์ทดลองคิดค้นเครื่องมือ เครื่องจักรกลที่มีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเทคโนดลยีระดับนี้ ได้แก่  การผลิตอาหารกระป๋อง  การเลือกพันธุ์สัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ  การโคลนนิ่ง  การผลิตกะทิสำเร็จรูป  กะทิผง ยารักษาโรคแผนปัจจุบัน  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์   การบัญชี งานวิศวกรรม งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม  ระบบดาวเทียม  และนาโนเทคโนโลยี  เป็นต้น

ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ 
เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับวิทยาศาตร์อื่น  ๆ ดังนี้

1 ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์  ซึ่งได้แก่การประดิษฐ์ชักโครก  ของนักฟิสิกส์ โดยนำเรื่องของแรงและการเคลื่อนที่  มาประยุกต์ใช้ในระบบกดน้ำของชักโครก  โดยเมื่อโยกด้ามกดน้ำลงในลักษณะการเคลื่อนที่ในทิศทางลง กลไกของคานงัดจะทำให้ลูกลอยเคลื่อนที่ในทิศทางขึ้น ทำให้ระบบปล่อยน้ำทำงาน  เป็นต้น

ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศิลปศาสตร์  ด้านการออกแบบ งานศิลปะ การผสมสี  การออกแบบเครื่องเรือน และอื่นๆ


3 ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับมนุษย์  ในด้านการวิเคราะห์ความต้องการมนุษย์ การสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจโดยใช้ทักษะการ ฟัง พูด อ่าน เขียน  การนำข้อมูลมาพิจารณาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น  แล้วร่วมกันแก้ปัญหาหรือสร้างชิ้นงาน

4  ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์  เช่นการใช้เทคโนโลยีสะอาด เพื่อร่วมกันในสังคมให้มีการจัดการในสังคม และความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม 

ระบบเทคโนโลยี
1.  ตัวป้อน  เป็นความต้องการของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับ ปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย 

2.  กระบวนการเทคโนโลยี  เป็นขั้นตอนแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการซึ่งประกอบด้วยกระบวนการกำหนดปัญหาหรือความต้องการ  รวบรสมข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ ออกแบบและปฏิบัติการ ทดสอบ ปรับปรุงแก้ไขและประเมินผล เพื่อทำให้เกิดเปลี่ยนทรัพยากรมาเป็นผลผลิต ผลิตภัณฑ์

3. ผลผลิต  หรือผลลัพธ์  เป็นผลลัพธ์ หรือวิธีการ สิ่งของเครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์  เช่น การปลูกพืชไม่ใช้ดิน การปลูกถ่ายอวัยวะ

4. ทรัพยากรทางเทคโนโลยี  ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งของเครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์  มีดังนี้
              4.1  คน  คือเป็นผู้ที่มีความรู้ มีปัญญา มีทักษะ สามารถแก้ไขปัญหาได้  ออกแบบ วิเคราะห์ ตัดสินใจ
              4.2  ข้อมูล  ข่าวสาร สารสนเทศ 
              4.3 วัสดุ  ทรัพยากรที่มีอยู่บนโลก ทั้งสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ดิน หิน ทราย
              4.5 เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์  เป็นสิ่งที่จำเป็นในการสร้างสรรค์เทคโนโลยี   เช่น คีม ไขควง  ตะปู
              4.6 พลังงาน   เช่นพลังงานจากธรรมชาติ  เช่น พลังงานลม  พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์
              4.7 ทุน  ทรัพย์สิน  เช่น เงิน ที่ดิน สถานที่
              4.8  เวลา  ระยะเวลาที่ต้องคำนึงถึงเวลา เพราะต้องใช้ระยะในการสร้างงาน

5  ปัจจัยที่เอื้อหรือขัดขวางต่อเทคโนโลยี  ได้แก่ ทรัพยากรทางเทคโนโลยีต่างๆ ความเชื่อ ความศรัทรา ศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี   เป็นข้อจำกัด ข้อพิจารณา คุณภาพของบุคคล เป็นต้น

การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยี  มีหลักการดังนี้
              1  มีประโยชน์ 
              2 ประหยัด
              3  ปลอดภัย

เทคโนโลยีสะอาด  (Clean  Technology  หรือ CT)
              1. Reuse  การใช้แล้วใช้อีก
              2. Repair  การซ่อมแซมใช้ซ้ำ
              3. Reduce  การลดการใช้ให้น้อยลง
              4. Recycle  การหมุนเวียนนำกลับมาใช้อีกครั้ง

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสะอาด
              1. ประโยชน์ต่อมนุษย์
              2. ประโยชน์ชุมชน
              3.  ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
              4. ประโยชน์ต่อภาคอุตสหกรรม
              5. ประโยชน์ต่อภาครัฐ

 กระบวนการเทคโนโลยี    การสร้างสิ่งของทางเทคโนโลยีต้องเป็นไปตามระบบขั้นตอน เพื่อให้เข้าใจกระบวนระบบการทำงานต่างดังนี้
1. การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ   รู้ปัญหาและตั้งเป็นสิ่งที่ต้องหาคำตอบ
2. การรวบรวมข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีแก้ปัญหา   การหาความรู้ หาข้อมูล เพื่อรู้แนวทางในการแก้ปัญหา
3. การเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ  เลือกทางเลือกที่ทำน้อยลง และดีที่สุด
4.  การออกแบบและปฏิบัติ  ขั้นนี้ลงมือทำให้เกิดผลงานตามที่ต้องการ
5.  การทดสอบ   เมื่อเกิดสิ่งประดิษฐ์ต้องมีการทดลองทดสอบเพื่อความปลอดภัย แก้ไขปัญหาอาจจะเกิดได้
6. การปรับปรุงแก้ไข  การปรับปรุงเพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุด
7.  การประเมินผล  ประเมินผลกระบวนการทุกขั้นตอนและผลงานชิ้นนั้นๆ เช่นใช้งานได้ตามต้องการหรือไม่ สวยงามหรือไม่ มีประสิทธิภาพ  แข็งแรงทนทานหรือไม่ มีต้นทุนการผลิตสูงหรือไม่ มีระบบการป้องกัน ความปลอดภัยอย่าง

  หลักการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เบื้องต้น  มีดังต่อไปนี้

1.  ประโยชน์ใช้สอย  ผลิตภัณฑ์ต้องมีประโยชน์ตามความต้องการ 
2.  ความทนทาน  ทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน ไม่เปราะ ไม่แตกหัก
3.  ความสวยงาม    ผลิตภัณฑ์ต้องมีสิ่งดึงดูดสะดุดตาผู้พบเห็น มีสัน รูปร่าง รูปทรง ขนาดและความสมดุล
4. ราคา  ควรมีความเหมาะสมกับราคา
5. ความปลอดภัย  เช่นทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

ความคิดสร้างสรรค์  (Creative  thinking)
แนวทางปัญหาใหม่การคิดอย่างสร้างสรรค์มีลักษณะ ดังนี้
1.  ความคิดริเริ่ม (Originality) คือ ลักษณะความคิดแปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดเดิม ประยุกต์ให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น โดยไม่ซ้ำกับของเดิม ไม่เคยปรากฏมาก่อน
2. ความคล่องในความคิด ( Fluency) คือ ความสามารถในการคิดคำตอบได้อย่างรวดเร็ว คล่อแคล่ว
3. ความยืดหยุ่นในความคิด ( Flexibility)  คือ ความสามารถในการคิดคำตอบหลากหลายทิศทาง ดัดแปลงจากวิ่งหนึ่งไปเป้นสิ่งหนึ่งได้
4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration )  คือ ความคิดที่ละเอียดเพื่อตกแต่งความคิดอย่างขั้นหนึ่ง ให้ความคิดออกมาสมบรูณ์แบบมากขึ้น

บทความนี้ผู้เขียนนำมาให้ผู้ที่สนใจได้อ่านและค้นคว้าข้อมูล หวังเป็นอย่างยิ่งว่าอาจเป็นประโยชน์ด้านศึกษาต่อไป.


ขอบคุณ
https://www.youtube.com/watch?v=jzpCeKUrFkw


https://www.dogilike.com/content/caring/3534/






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การพัฒนาบุคคลภาพการปรับปรุงตนเอง

ขอบคุณภาพจากGoogle การพัฒนาบุคคลภาพการปรับปรุงตนเอง 1. ความหมายของคำว่า  บุคคิลภาพ  (Personality)   หมายถึง ลักษณะเฉพาะทางของบุคคล...