ม.3




เทคโนโลยี  ( Technology)

 หมายถึง  สิ่งที่มนุษย์สร้างหรือพัฒนาขึ้นมา เช่น วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสาขาอื่น ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและแก้ปัญหาต่างๆ

อ่านเพิ่มเติม

เทคโนโลยีมีความสำคัญหลายด้าน ดังต่อไปนี้

1. สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี  โดยเมื่อใช้เทคโนโลยี เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางแทนการเดินหรือนั่งรถประจำทาง เดินทางโดยเรือยนต์ ทำให้มนุษย์ ประหยัดเวลาและสะดวกสบายไม่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน  และการใช้ชีวิตประจำวัน  มีเวลาทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและสุขภาพจิต ซึ่งบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตที่ดี

2.  เกิดการสื่อสารไร้พรหมแดน  เมื่อใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์ อินเตอร์เนท  ดาวเทียม มนุษย์ทั่วโลกจะสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ทุกที่ ทุกเวลา จึงเกิดความเสมอภาคกันในด้านศึกษาและการรับรู้ข่าวสารต่างๆ

3. ป้องกันความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สิน  เมื่อใช้เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย เช่นภาพถ่ายดาวเทียม กล้องโทรทัศน์วงจรปิด  การติดตั้งเครื่องจับสัญญาณสึนามิในทะเล จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดต่อชีวิตและทรัพย์สินได้นั่นเอง

4. การทำงานรวดเร็วคล่องตัว  เมื่อใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สำนักงาน เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร โทรสาร จะช่วยให้ทำงานเสร็จในเวลาที่กำหนด และมีคุณภาพ ประหยัดทรัพยากร
5. แก้ปัญหาต่างๆ ได้ เมื่อใช้เทคนิควิธีการต่างๆ ซึ่งอาจเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือนำงานวิจัยและพัฒนาของบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ซึ่งอาจจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปได้ เช่น การใช้วิธีแกล้งดิน  ช่วยปรับสภาพดินเป็นกรดให้ปลูกพืชได้  การใช้พืชสมุนไพรในการกำจัดแมลงแทนสารเคมีช่วยแก้ปัญหาการเกิดมลพิษทางอากาศได้

ระดับของเทคโนโลยี
 เทคโนโลยีเกิดจากการคิดค้นและพัฒนาของมนุษย์ มีหลักฐานปรากฏให้เห็นตั้งแต่ยุคโบราณซึ่งเป็นเครื่องมือทำมาหากินหรือใช้สอยประจำวัน ต่อมาในยุคกลางหรือยุคเหล็กจะเป็นการนำโลหะๆต่าง มาเป็นเครื่องมือและอาวุธรวมถึงการก่อสร้างที่อาศัย สำหรับในปัจจุบันสามารถแบ่งระดับของเทคโนโลยีได้ 3  ประเภท ดังนี้

เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านหรือพื้นฐาน เป็นเทคโนโลยียุคแรกของบรรพบุรุษซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสังคเกษตรกรรมพื้นบ้านที่มีการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธเพื่อใช้ในการล่าสัตว์นำมาเป็นอาหาร  ผลิตวัสดุ และนำทรัพยากรท้องถิ่นมาใช้ รวมถึงมรการถนอมอาหาร เช่น  อาหารตากแห้ง  เทคโนโลยีระดับนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจ หรือมีความรู้มากมาย เพียงแค่รู้หลักการและวิธีการใช้เท่านั้น ตัวอย่างเทคโนโลยีระดับนี้ ได้แก่ ขวาน  มีดพร้า เสียม จอบ ลอบดักปลา อวน แห คันไถ หม้อไห กระต่ายขูดมะพร้าว ครกตำข้าว ยาสมุนไพร เรือพาย  ครกกระเดื่อง ระหัดวิดน้ำ เครื่องสีข้าว  ครกหินบดยา เป็นต้น

2 เทคโนโลยีระดับกลาง  เป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนขึ้นโดยต้องใช้ความรู้และประสบการณ์  จากการแก้ปัญหาเกษตรกรรมพื้นบ้าน  มาพัฒนาระบบการทำงาน กลไกลต่างๆ และแก้ไข ซ่อมแซม อุปกรณ์ เครื่องมือให้กลับมามีสภาพดีดังเดิม ตลอดจนเผยแพร่ความรู้แก่คนในท้องถิ่นได้ ตัวอย่าง เทคโนโลยีระดับนี้ ได้แก่ การใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน  การใช้เครื่องทุ่นแรง  เครื่องยนต์  มอเตอร์  การจับสัตว์น้ำด้วยเรือยนต์ลากจูง  เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ กังหันลมช่วยผลิตพลังงานไฟฟ้า กังหันลมช่วยสูบน้ำใต้ดิน  สว่านไฟฟ้า เครื่องเจาะไฟฟ้า  การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อแก้ปัญหาดินเสื่อมสภาพ การสร้างอ่างเก็บน้ำ  การผลิตอาหารจากผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตร  เครื่องมือขูดมาพร้าวที่ติดมอเตอร์ใช้ไฟฟ้า  เป็นต้น

3  เทคโนโลยีระดับสูง  เป็นเทคโนโลยีที่ผู้พัฒนาต้องมีประสบการณ์อันยาวนาน  เพื่อให้สามารถปรับปรุง  แก้ไข้  ดัดแปลงเทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนได้ ซึ่งต้องมีการศึกษา  ค้นคว้า วิจัย ทดลอง อย่างสม่ำเสมอ และมีการประดิษฐ์ทดลองคิดค้นเครื่องมือ เครื่องจักรกลที่มีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเทคโนดลยีระดับนี้ ได้แก่  การผลิตอาหารกระป๋อง  การเลือกพันธุ์สัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ  การโคลนนิ่ง  การผลิตกะทิสำเร็จรูป  กะทิผง ยารักษาโรคแผนปัจจุบัน  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์   การบัญชี งานวิศวกรรม งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม  ระบบดาวเทียม  และนาโนเทคโนโลยี  เป็นต้น

ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ 
เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับวิทยาศาตร์อื่น  ๆ ดังนี้

1 ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์  ซึ่งได้แก่การประดิษฐ์ชักโครก  ของนักฟิสิกส์ โดยนำเรื่องของแรงและการเคลื่อนที่  มาประยุกต์ใช้ในระบบกดน้ำของชักโครก  โดยเมื่อโยกด้ามกดน้ำลงในลักษณะการเคลื่อนที่ในทิศทางลง กลไกของคานงัดจะทำให้ลูกลอยเคลื่อนที่ในทิศทางขึ้น ทำให้ระบบปล่อยน้ำทำงาน  เป็นต้น

ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศิลปศาสตร์  ด้านการออกแบบ งานศิลปะ การผสมสี  การออกแบบเครื่องเรือน และอื่นๆ


3 ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับมนุษย์  ในด้านการวิเคราะห์ความต้องการมนุษย์ การสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจโดยใช้ทักษะการ ฟัง พูด อ่าน เขียน  การนำข้อมูลมาพิจารณาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น  แล้วร่วมกันแก้ปัญหาหรือสร้างชิ้นงาน

4  ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์  เช่นการใช้เทคโนโลยีสะอาด เพื่อร่วมกันในสังคมให้มีการจัดการในสังคม และความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม 

ระบบเทคโนโลยี
1.  ตัวป้อน  เป็นความต้องการของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับ ปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย 

2.  กระบวนการเทคโนโลยี  เป็นขั้นตอนแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการซึ่งประกอบด้วยกระบวนการกำหนดปัญหาหรือความต้องการ  รวบรสมข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ ออกแบบและปฏิบัติการ ทดสอบ ปรับปรุงแก้ไขและประเมินผล เพื่อทำให้เกิดเปลี่ยนทรัพยากรมาเป็นผลผลิต ผลิตภัณฑ์

3. ผลผลิต  หรือผลลัพธ์  เป็นผลลัพธ์ หรือวิธีการ สิ่งของเครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์  เช่น การปลูกพืชไม่ใช้ดิน การปลูกถ่ายอวัยวะ

4. ทรัพยากรทางเทคโนโลยี  ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งของเครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์  มีดังนี้
              4.1  คน  คือเป็นผู้ที่มีความรู้ มีปัญญา มีทักษะ สามารถแก้ไขปัญหาได้  ออกแบบ วิเคราะห์ ตัดสินใจ
              4.2  ข้อมูล  ข่าวสาร สารสนเทศ 
              4.3 วัสดุ  ทรัพยากรที่มีอยู่บนโลก ทั้งสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ดิน หิน ทราย
              4.5 เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์  เป็นสิ่งที่จำเป็นในการสร้างสรรค์เทคโนโลยี   เช่น คีม ไขควง  ตะปู
              4.6 พลังงาน   เช่นพลังงานจากธรรมชาติ  เช่น พลังงานลม  พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์
              4.7 ทุน  ทรัพย์สิน  เช่น เงิน ที่ดิน สถานที่
              4.8  เวลา  ระยะเวลาที่ต้องคำนึงถึงเวลา เพราะต้องใช้ระยะในการสร้างงาน

5  ปัจจัยที่เอื้อหรือขัดขวางต่อเทคโนโลยี  ได้แก่ ทรัพยากรทางเทคโนโลยีต่างๆ ความเชื่อ ความศรัทรา ศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี   เป็นข้อจำกัด ข้อพิจารณา คุณภาพของบุคคล เป็นต้น

การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยี  มีหลักการดังนี้
              1  มีประโยชน์ 
              2 ประหยัด
              3  ปลอดภัย

เทคโนโลยีสะอาด  (Clean  Technology  หรือ CT)
              1. Reuse  การใช้แล้วใช้อีก
              2. Repair  การซ่อมแซมใช้ซ้ำ
              3. Reduce  การลดการใช้ให้น้อยลง
              4. Recycle  การหมุนเวียนนำกลับมาใช้อีกครั้ง

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสะอาด
              1. ประโยชน์ต่อมนุษย์
              2. ประโยชน์ชุมชน
              3.  ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
              4. ประโยชน์ต่อภาคอุตสหกรรม
              5. ประโยชน์ต่อภาครัฐ

 กระบวนการเทคโนโลยี    การสร้างสิ่งของทางเทคโนโลยีต้องเป็นไปตามระบบขั้นตอน เพื่อให้เข้าใจกระบวนระบบการทำงานต่างดังนี้
1. การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ   รู้ปัญหาและตั้งเป็นสิ่งที่ต้องหาคำตอบ
2. การรวบรวมข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีแก้ปัญหา   การหาความรู้ หาข้อมูล เพื่อรู้แนวทางในการแก้ปัญหา
3. การเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ  เลือกทางเลือกที่ทำน้อยลง และดีที่สุด
4.  การออกแบบและปฏิบัติ  ขั้นนี้ลงมือทำให้เกิดผลงานตามที่ต้องการ
5.  การทดสอบ   เมื่อเกิดสิ่งประดิษฐ์ต้องมีการทดลองทดสอบเพื่อความปลอดภัย แก้ไขปัญหาอาจจะเกิดได้
6. การปรับปรุงแก้ไข  การปรับปรุงเพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุด
7.  การประเมินผล  ประเมินผลกระบวนการทุกขั้นตอนและผลงานชิ้นนั้นๆ เช่นใช้งานได้ตามต้องการหรือไม่ สวยงามหรือไม่ มีประสิทธิภาพ  แข็งแรงทนทานหรือไม่ มีต้นทุนการผลิตสูงหรือไม่ มีระบบการป้องกัน ความปลอดภัยอย่าง

  หลักการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เบื้องต้น  มีดังต่อไปนี้

1.  ประโยชน์ใช้สอย  ผลิตภัณฑ์ต้องมีประโยชน์ตามความต้องการ 
2.  ความทนทาน  ทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน ไม่เปราะ ไม่แตกหัก
3.  ความสวยงาม    ผลิตภัณฑ์ต้องมีสิ่งดึงดูดสะดุดตาผู้พบเห็น มีสัน รูปร่าง รูปทรง ขนาดและความสมดุล
4. ราคา  ควรมีความเหมาะสมกับราคา
5. ความปลอดภัย  เช่นทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

ความคิดสร้างสรรค์  (Creative  thinking)
แนวทางปัญหาใหม่การคิดอย่างสร้างสรรค์มีลักษณะ ดังนี้
1.  ความคิดริเริ่ม (Originality) คือ ลักษณะความคิดแปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดเดิม ประยุกต์ให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น โดยไม่ซ้ำกับของเดิม ไม่เคยปรากฏมาก่อน
2. ความคล่องในความคิด ( Fluency) คือ ความสามารถในการคิดคำตอบได้อย่างรวดเร็ว คล่อแคล่ว
3. ความยืดหยุ่นในความคิด ( Flexibility)  คือ ความสามารถในการคิดคำตอบหลากหลายทิศทาง ดัดแปลงจากวิ่งหนึ่งไปเป้นสิ่งหนึ่งได้
4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration )  คือ ความคิดที่ละเอียดเพื่อตกแต่งความคิดอย่างขั้นหนึ่ง ให้ความคิดออกมาสมบรูณ์แบบมากขึ้น

บทความนี้ผู้เขียนนำมาให้ผู้ที่สนใจได้อ่านและค้นคว้าข้อมูล หวังเป็นอย่างยิ่งว่าอาจเป็นประโยชน์ด้านศึกษาต่อไป.


ขอบคุณ
https://www.youtube.com/watch?v=jzpCeKUrFkw


https://www.dogilike.com/content/caring/3534/



..........................................................................................................................................................

การเกษตรและการขยายพันธุ์พืช

ขอบคุณภาพจาก Google

ประวัติความเป็นมาของการขยายพันธุ์พืช
          มนุษย์รู้จักการขยายพันธุ์พืชมาตั้งแต่มนุษย์รู้จักพืชและความสำคัญของพืช โดยยุคแรกๆ มนุษย์ขยายพันธุ์พืชด้วยการเพาะเมล็ดที่เก็บรวบรวมมาจากท้องถิ่นต่างๆต่อมาจึงมีการคิดเลือกเฉพาะพืชพันธุ์ดีมาปลูก และเริ่มรู้จักวิธีการขยายพันธุ์พืชแบบแบ่งและแยกที่ไม่ต้องอาศัยเพศ หลังจากนั้นมนุษย์ชนชาติจีนได้ดัดแปลงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมาเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชโดยเมื่อสังเกตเห็นกิ่งอยู่ติดกัน  แล้วเกิดเสียดสีกันตามธรรมชาติ กิ่งหรือต้นพืชทั้งสองสามารถติดเป็นต้นเดียวกันได้ ต่อมาจึงคิดค้นวิธีการทาบกิ่ง ติดตา ต่อกิ่งและตอนกิ่งขึ้นมา
          ในยุคกลางวิธีการขยายพันธุ์พืชได้แผ่ขยายไปแถบประเทศตะวันตก  ต่อมาได้พัมนาวิชาการต่างๆ ที่เกียวข้องกับการขยายพันธุ์พืช เช่น วิชาพฤกษศาสตร์ วิชาฮอร์โมนพืช  วิชาพันธุศาสตร์ ทำให้การขยายพันธุ์พืชเจริญก้าวหน้ามาจนปัจจุบันนี้

     ความหมายและความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช
           การขยายพันธุ์พืช  หมายถึง  วิธีการที่ทำให้ต้นพืชเพิ่มจำนวนมากขึ้นดำรงสายพันธุ์ชนิดต่างๆ ไม่ให้สูญพันธุ์ โดยมีคุณสมบัติและคุณภาพของผลผลิตดีเท่าเดิม หรือดีขึ้นกว่าเดิม
           
การขยายพันธุ์พืชมีความสำคัญหลายด้านดังนี้
          1. ความสำคัญต่อมนุษย์  การเพิ่มจำนวนของต้นพืชเป็นหารเพิ่มอาหาร  เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคให้แก่มนุษย์
          2. ความสำคัญต่อต้นพืช  ต้นพืชสามารถดำรงพันธุ์ที่ดีไว้ได้  และเกิดพันธุ์ใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เช่น ต้นมะนาวที่สามารถให้ผลผลิตนอกฤดูกาล ต้นเฟื่องฟ้าหลายหลากสีในต้นเดียว ฝรั่งไร้เมล็ด
          3. ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม การเพิ่มจำนวนของพืชทำให้เกิดความร่มรื่ร เพิ่มออกซิเจนในอาการ ทำให้อากาศบริสุทธิ์ ช่วยดูดควันพิษจากการเผาไหม้เวื้อเพลิงของเครื่องยนต์ ยืดเกาะดินไม่ให้พังทลาย
          4. ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติ การขยายพันธุ์นำไปปลูกในดินที่ว่างเปล่าทำให้ดินนั้นมีคุณค่ามากกว่าการปล่อยทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์ และเพิ่มทรัพยกรป่าไม้ให้มีมากขึ้น
          5.ความสำคัญต่ออาชีพ  เกิดอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการขยายพันธุ์พืชมากมาย เช่น การขยายพันธุ์มะนาวเพื่อจำหน่วย  การปลูกสวนมะนาวโรงงานแปรรูปน้ำมะนาวและมะนาวผง  โรงงงานทำขวดหรือกล่องบรรจุมะนาวและมะนาวแปรรูปต่างๆ
           6.ความสำคัญต่อประเทศ  การนำผลผลิตที่ได้จากการขยายพันธุ์ เช่น ข้าว ยางพารา มะม่วง ทุเรียน  ฯลฯ ไปจำหน่ายเป็นสินค้าส่งออกช่วยให้มีรายได้นำมาพัฒนาประเทศของเราให้เจริญก้าวหน้า

ขอบคุณภาพจาก Google

ประเภทของการขยายพันธุ์พืชปละหลักการขยายพันธุ์พืช
           
                การขยายพันธุ์พืชแบ่งออกเป็น 2  ประเภท
              1. การขยายพันธุ์พืชแบบอาศัยเพศ  หรือการขยายพันธุ์ด้วยส่วนสืบพันธุ์ของพืช  เป็นการขยายพันธุ์พืช โดยการผสมเกสรเพื่อให้เกิดเป็นเมล็ด และนำเมล็ดไปเพาะให้เกิดต้นใหม่ นิยมขยายพันธุ์พืชจำพวกพืชล้มลุก


ขอบคุณภาพจาก Google

              2. การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ หรือไม่ใช้ส่วนสืบพันธุ์เป็นการขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชในการขยายพันธุ์ เช่น กิ่ง ลำต้น ใบ นำไปตัดชำ ติดตา ต่อกิ่ง ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ



ขอบคุณภาพจาก Google

              
 การขยายพันธุ์พืช หมายถึง วิธีการที่ทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณของต้นพืชให้มากขึ้น เพื่อดำรงสายพันธุ์ พืชชนิดต่าง ๆ ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ ซึ่งวิธีการที่นิยมปฏิบัติโดยทั่วไป ได้แก่  การตอนกิ่ง   การทาบกิ่ง   การติดตา   การเสียบยอด  การตัดชำ  และการตอนกิ่ง

          การตอนกิ่ง  คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่ทุกประการ  พืชที่นิยมนำมาตอนกิ่ง เช่น มะนาว ฝรั่ง ชบา เป็นต้น โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1) การเลือกกิ่งที่จะใช้การทำตอน ควรเลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบรูณ์ หรือไม่เกิน 1 ปี มีใบงาม ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย โดยปกตอมักจะเลือกกิ่งกระโดง ซึ่งเป็นกิ่งที่งอกในแนวตั้ง จะพุ่งขึ้นอย่างเดียวและเป็นกิ่งที่อวบอ้วน
2) ทำแผลบนกิ่งโดยควั่นกิ่่งทั้งด้านบนและด้านล่าง ลอกเอาเปลือกออก แล้วขูดเนื้อเยื่อเจริญที่เป็นเหมือกลื่นออก เพื่อตัดทางลำเลียงอาหาร โดยขูดจากบนลงล่างเบาๆ
3) ทาฮอร์โมนเร่งรากบริเวณนรอยแผลบนกิ่งตอน จะช่วยให้กิ่งพืชออกรากเร้ว มีรากมากขึ้น และรากเจริญเร็วขึ้น
4) หุ้มกิ่งตอนโดยนำตุ้มตอนซึ่งเป็นขุยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาดฟ อัดลงในถุงพลาสติกผูกปากถุงให้แน่น มาผ่าตามยาว แล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผล หลังตอนกิ่ง 3-5  วัน จะต้องรถน้ำตุ้้มตอน ถ้าตุ้มตอนแห้งให้ใช้เข็มฉีดยาฉีดน้ำเข้าไปในตุ้มตอน 5-7 วันต่อครั้ง จนกว่าจะงอก
5) เมื่อกิ่งตอนมีรากงอกแทงผ่านขุยมะพร้าวและเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีน้ำตาลปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอ จึงตัดกิ่งตอนไปในภาชนะ กระถาง หรือถุงพลาสติกเพื่อการย้ายปลูกต่อไป


ขอบคุณภาพจากgoogle


ขอบคุณภาพจากGoogle


......................................................................................................................................................................................................................

การทาบกิ่ง  คือ การนำต้นพืช 2  ต้น ซึ่งเป็นต้นชนิดเดียวกันและมีระบบรากเชื่อมต่อกิ่งกันโดยต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นตอพันธุ์ดี เมื่อเกิดการประสานจองตัวกิ่งทั้งสองแล้ว จึงตัดกิ่งพันธฺุ์ดี หลือเป็นต้นตอของพันธฺุ์ และยอดพันธุ์เป็นของอีกพันธุ์ พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาบกิ่ง เช่น มะขาม มะม่วง ทุเทียน ขนุน เงาะ ลำไย  เป็นต้น  การทาบกิิ่งทำได้หลายวิธี แต่ในที่นี้ขอนำเสนอวิธีการทาบกิ่งแบบฝานบวบ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
          1.เลือกกิ่งพันธุ์ของต้นไม้ที่ต้องการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาบกิ่ง โดยเลือกกิ่งที่มีลักษณะกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบรูณ์ ไม่มีโรครบกวน และแมลงทำลาย
           2.เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นแผลรูปโล่ ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว แล้วเฉือนต้นตอให้เป็นแผลแบบเดียวกันกับกิ่งพันธุ์ และแผลต้องมีความยาวเท่ากับแผลกิ่งพันธุ์
          3.ประกบแผลต้นตอเข้ากับกิ่งพันธุ์ดีให้สนิทแล้วพันพลาสติกให้แน่น แล้วรากกิ่งพันธุ์เข้ากับต้นตอเชือกหรือลวด
          4.ประมาณ 7-8  สัปดาห์ รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ แผลจะติดกันดี รากตุ้มต้นตอจะงอกแทงผ่านวัสดุและเริ่มมีน้ำตาล ปลายรากสีขาวและจำนวนมาก แล้วจึงทำการตัดกิ่งพันธุ์ดีที่ระดับเดียวกับตุ้มต้นตอที่นำมาทาบ จากนั้นนำลงถุงเพาะชำ พร้อมปักหลักค้ำยันต้น เพื่อป้องกันต้นล้ม  ก่อนตัดไปลงถุงเพาะต้องควั่นต้นพันธุ์ดี เพื่อกระตุ้นให้รากต้นตอทำงานให้เต้มที่ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงตัด



....................................................................................................................................................................

  การติดตา  คือ การนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดีไปติดบนต้นตอเพื่อเซื่อมประสานส่วนของพืชเข้าด้วยกัน ให้เจริญเป้นพืชต้นเดียวกัน พืชที่นิยมนำมาติดตา เช่น พุทธา กุหลาบ ยางพารา
           การติดตา มีขั้นตอนดังนี้
           1.  เลือกต้นตอในส่วนที่เป็นสีเขียวปนนำ้ตาล แล้วกรัดต้นตอเป็นรูปตัวที T โดยกรีดให้ลึงถึงเนื้อไม้ ความยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร
           2.เฉือนแผ่นตาของต้นพันธุ์ดีที่จะใช้เป็นรูปโล่ยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร  โดยเฉือนให้เนื้อติดมาด้วย จากนั้นลอกเอาเนื้อไม้ออก
           3. สอดแผ่นตาลงไปในเปลือกต้นตอ โดยให้ตาตั้งขึ้น แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่นโดยพันจากด้านล่างขึ้นด้านบน
           4.ประมาณ 7-10  วัน ให้เปิดพลาสติกออกดูว่าแผ่นมีสีเขียว แสดงว่าตาติดกับต้นตอแล้ว จากนั้นจึงพันใหม่ โดยเว้นช่องให้ตาโผล่ออกมา ทิ้งไว้ประมาณ 2-3  สัปดาห์ จึงตัดต้นตอเดิมแล้วกรีดพลาสติกออก


ขอบคุณภาพจากGoogle


ขอบคุณภาพจากGoogle
............................................................................................................................................................................................
การเสียบยอด  คือ การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของต้นพืช 2  ต้น เข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเติบโตเป็นต้นเดียวกัน พืชที่นิยมเสียบยอด เช่น ลำไย ทุเทียน ลองกอง
      การเสียบยอด มีขั้นตอนดังนี้
       1.ตัดยอดต้นตอให้สุงจากพื้นดินประมาณ 10 เซนติเมตรแล้วผ่ากลางลำตันของต้นให้ลึกประมาณ 3-4  เซนติเมตร
       2.เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 3-4  เซนติเมตร
       3.เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกันแล้วใช้พลาสติกพันให้แผลและกิ่งพันธุ์จากต้นด้านบนลงสู่ล่างเพื่อให้รอยแผลต้นตอติดกันจนแน่น
       4.คลุมต้นตอที่เสียบยอดแล้วด้วยพลาสติก ประมาณ 5-7  สัปดาห์ รอยแผลจะประสานดี หลังจากนั้นจะนำไปพักไว้ในโรงเรือนเพื่อย้ายปลูกต่อไป


ขอบคุณภาพจาก Google

...............................................................................................................................................................................................................


การตัดชำ   คือ การนำส่วนต่าง ๆ ของพืชพันะุ์ดี เช่น ใบ ราก มาตัดและปักชำในวัสดุเพาะชำ เพื่อให้ได้ใหม่จากส่วนที่นำมาตัดชำ โดยมีคุรสมบัติและลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ พืชที่นิยมนำมาตัดชำ เช่น เทียนทอง ดกสน ชาฮกเกี้ยน
      การตัดชำ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
      1. เลือกกิ่งพันธุ์ที่มีลักษณะที่ตาและใบ ถ้าเป็นกิ่งแก่ควรเลือกกิ่งที่มีตา หลังจากนั้นจึงโคนกิ่งให้ชิดข้อ ยาวประมาณ 15-20  เซนติเมตร โดยตัดเฉียงเป็นปากแลากและตัดปลายบนให้เหนือตาประมาณ 1 เซนติเมตร
      2. ใช้มีดปลายแหลมกรีดบริเวณรอบโคนยาว 1-1.5 เซนติเมตร  ประมาณ 2-3 รอย เพื่อกระตุ้นให้เกิดราก
      3. ปักกิ่งชำลงในวัสดุเพาะชำ ลึกประมาณ 2.5-5  เซนติเมตร
      4. ห่อหรือคลุมด้วยถงพลาสติกประมาณ  25-30  วัน กิ่งตัดชำจะแตกพร้อมออกราก เมื่อมีจำนวนมากจึงย้ายไปปลูกต่อไป
ขอบคุณภาพจาก Google



อ้างอิง : หนังสือการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 

.............................................................................................................................................................



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การพัฒนาบุคคลภาพการปรับปรุงตนเอง

ขอบคุณภาพจากGoogle การพัฒนาบุคคลภาพการปรับปรุงตนเอง 1. ความหมายของคำว่า  บุคคิลภาพ  (Personality)   หมายถึง ลักษณะเฉพาะทางของบุคคล...