ขอบคุณภาพจาก google |
เรื่อง บ้านและความเป็นอยู่ในบ้าน
1. ความสบาย มีระดับอุณหภูมิพอเหมาะไม่ร้อนจนเกินไป
มีแสงสว่างพอสมควรและมีเครื่องเรือนที่เหมาะสมกับ
การใช้ประโยชน์
การใช้ประโยชน์
2. ความสะดวก มีความสะดวกในการเดินไปเดินมา
มีเครื่องอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆเหมาะสมและเพียงพอ
ต่อการใช้งาน
3. ความเป็นสัดส่วน มีการจักการบริการต่างๆของสถานที่เป็นสัดส่วนและมีการแยกจากกัน เช่น
ห้องนอน
ห้องนั่งเล่น ห้องพักผ่อนส่วนตัว ฯลฯ
4. ความสนใจส่วนบุคคล เป็นพื้นที่ให้สมาชิกทำงานที่สนใจเป็นพิเศษ เช่น งานอดิเรก และงานกิจกรรม
ของครอบครัว
5. มิตรภาพ ห้องที่เป็นศูนย์รวมทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เช่น ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ
ฟังวิทยุ เล่นเกม ฯลฯ
6. สุขภาพ บ้านที่ถูกสุขลักษณะจะทำให้สมาชิกมีสุขภาพที่ดี
ทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพทางกาย
7. ความปลอดภัย ควรมีการวางแผนจัดการเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติภัยต่างๆอย่างเหมาะสม
8. ความสวยงาม เน้นเรื่องความสะอาดและดูแลรักษาซ่อมแซมอุปกรณ์ภายในบ้านให้ดีอยู่เสมอ
9. การประหยัด มีการจัดการเพื่อให้เกิดการประหยัด เช่น ประหยัดเวลา แรงงาน
และประหยัดพลังงาน
10. ที่ตั้ง การเลือกทำเล
สภาพแวดล้อม การเดินทางสมาคมที่สะดวกปลอดภัยและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี
เช่น ไม่มีกองขยะ หรือชุมชนแออัด
การดูแลรักษาทำความสะอาดบ้าน
การดูแลรักษาบ้านหมายถึง การทำให้บ้านมีความสะอาดให้ผู้อยู่มีความสุข ปลอดภัย การทำความ
สะอาด คือ การทำความสะอาดทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน วิธีดูแลรักษาและทำความสะอาดบ้าน
สะอาด คือ การทำความสะอาดทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน วิธีดูแลรักษาและทำความสะอาดบ้าน
1) หลักการดูแลรักษา
มีหลักในการดูแลรักษาบ้านให้น่าอยู่
แบ่งออกได้ดังนี้
1.1 การทำความสะอาด
การทำความสะอาด
เป็นการทำสะอาดบ้านที่อยู่อาศัยในส่วนต่างๆของอาคาร ของห้อง รวมถึงเครื่อง
เรือนและอุปกรณ์เครื่องมือใช้ต่างๆภายในบ้านการทำความสะอาดบริเวณบ้าน เช่น สนามหญ้า บริเวณรอบๆ
บ้าน ไม้ดอกไม้ประดับและการขยะมูลฝอย
1.2 การตกแต่งที่อยู่อาศัย
ในการจัดตกแต่งที่อยู่อาศัย
มีหลักการจัดการ ดังนี้
1.2.1 ความสวยงาม ใช้หลักการทางศิลปะ
พิจารณาเครื่องเรือนเครื่องประดับในบ้าน เช่น รูปทรง โทนสี
ความเข้า
กันอย่างเหมาะสม
กันอย่างเหมาะสม
1.2.2 ความสะดวก
พิจารณาการใช้สอยสามารถหยิบใช้ได้สะดวก เหมาะสมกับเนื้อที่
เครื่องเรือนควรง่ายแก่การ
ทำความสะอาด
ทำความสะอาด
1.2.3 ความสบาย บ้านที่น่าอยู่ ควรประกอบไปด้วย
ความสบายกาย และสบายใจ
1.2.4 ความปลอดภัย
ต้องสามารถป้องกันอุบัติเหตุภายในบ้าน มีหลักการพิจารณา ดังนี้
-บันใด ระวังการวางเกะกะ ความลื่นและแสงสว่าง
- เครื่องเรือน ระวังเรื่องความแหลมคม แตกหักง่าย
- แสงสว่างเพียงพอ เช่น
การอ่านหนังสือหรือเย็บผ้า
-ตู้ยาหรือสารเคมีอันตราย
ควรวางไว้ไม่ให้เด็กหยิบได้
-สวิตช์ไฟฟ้า
อยู่ใกล้ประตูทางเข้าออก
-พื้นไม่ขัดมันเกิน
โดยเฉพาะหากเปียกก็จะอันตรายมาก
1.2.5 ความเป็นสัดส่วน
มีความเป็นส่วนตัว ความสงบเฉพาะกรณี เป็นสิ่งที่สมาชิกต้องการ
1.2.6 ความประหยัด
มีหลักการตกแต่งความสวยงามที่เน้นความประหยัดซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
-นำวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์มาที่สุด
-เลือกซื้อเครื่องเรือนที่คุ้มค่า
ดูแลรักษาซ่อมแซมได้และประหยัดแรงงานในการดูแลรักษา
1.2.7 ถูกสุขลักษณะ
การดูแลรักษาบ้านให้ถูกสุขลักษณะพิจารณาเกี่ยวกับความสะอาด
ความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย การจัดการขยะมูลฝอย การใช้และดูแลรักษาเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ
1.2.8 การซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ได้แก่ การซ่อมแซมส่วนต่างๆของบ้านและอาคาร เช่น หลังคา ฝาผนัง รวม
ไปถึงเครื่องเรือนต่างๆ หากไม่สามรถจัดการซ่อมแซมเองได้ควรจ้างช่างมาซ่อมแซมให้สมบูรณ์
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดบ้าน
เรียบร้อย การจัดการขยะมูลฝอย การใช้และดูแลรักษาเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ
1.2.8 การซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ได้แก่ การซ่อมแซมส่วนต่างๆของบ้านและอาคาร เช่น หลังคา ฝาผนัง รวม
ไปถึงเครื่องเรือนต่างๆ หากไม่สามรถจัดการซ่อมแซมเองได้ควรจ้างช่างมาซ่อมแซมให้สมบูรณ์
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดบ้าน
การวางแผนการทำงาน คือการกำหนดขั้นตอน วิธีการทำงานไว้ในปฏิทินงานล่วงหน้า
ก่อนลงมือทำ
ต้องมีวัตถุประสงค์ในการทำงานชัดเจนเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตาม
เป้าหมายที่วางไว้
การวางแผนการดูแลรักษาบ้าน ทำความสะอาดบ้าน จัด ตกแต่งบ้าน
มีประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. ทำให้ทราบประมาณการค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรในการดูแลรักษาบ้าน
ตกแต่งบ้านเพื่อแบ่งเงินรายได้ให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายส่วนอื่น
2. ทำให้สมาชิกในบ้านได้ทราบงานที่จะทำล่วงหน้า
3. ฝึกนิสัยการคิด การวางแผนการทำงานต่าง ๆ
4. ช่วยประเมินผลการทำงานได้ทุกระยะ
5. ช่วยให้บ้านมีสภาพดี น่าอยู่การวางแผนการทำงานบ้านที่ดี
มีลักษณะมีลักษณะดังนี้
5.1 มีลำดับขั้นตอนการทำงานก่อน – หลัง
5.2 มีความชัดเจน คือ
รู้ว่าจะทำอะไร เพื่ออะไร อย่างไร ทำที่ไหน เมื่อไรและใครเป็นคนทำ
5.3 มีระยะเวลาในการทำงาน
5.4 มีการกำหนดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ
5.5 มีผู้รับผิดชอบโดยกำหนดว่างานใดใครรับผิดชอบหรือให้ใครทำ
การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานบ้าน
1. ความสำคัญของอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานบ้าน
งานบ้านเป็นงานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันและต้องทำเป็นประจำ
เช่น
งานเตรียมและงานประกอบอาหาร
งานทำความสะอาดบ้าน งานซักรีดเสื้อผ้า งานจัดตกแต่งบ้าน ซึ่งงาน
เหล่านี้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการทำงานเพื่อวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
1.ทำให้งานเสร็จรวดเร็ว ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย เช่น การซักผ้า
2. ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ เช่น การใช้เครื่องซักผ้า
3. ทำให้มีเวลาในการทำอย่างอื่นอีกมากมาย เช่น ขณะซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า
เราก็ทำอาหาร ปลูกต้นไม้
รดน้ำต้นไม้
กวาดบ้าน ถูบ้าน เป็นต้น
หลักการเลือกและใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานบ้าน
1. ต้องปลอดภัยในการใช้งาน
2. ช่วยประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แรงงาน
พลังงานไฟฟ้า และทรัพยาการน้ำ
3. มีขั้นตอนในการใช้งานและบำรุงรักษาง่าย
ไม่ซับซ้อน
4. มีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน
5. ทำจากวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
3. การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงาน
3.1 อุปกรณ์ทำความสะอาด
อุปกรณ์ที่ใช้อำนวยความสะดวกในหารทำความสะอาดมีหลายประเภท
หลายชนิด โดยแต่ละชนิดมี
ประโยชน์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
3.1.1 อุปกรณ์สำหรับปัด กวาด เช่น
ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้กวาดขนไก่
ไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้กวาด
เสี้ยนตาล ไม้กวาดไม่ไผ่
การเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับ ปัด กวาด
ควรเลือกที่มีด้ามจับที่พอเหมาะกับมือ
ด้ามตรง แข็งแรงไม่มีมอดกัดกิน ปลายไม้กวาดผูกมัดแน่น
ไม่หลุด และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณษะของพื้น ดังนี้ เช่น ไม้กวาดดอกหญ้า ใช้กวาดพื้นไม้
พื้นปูน
ชีเมนต์ขัดเรียบพื้นหินขัด พื้นกระเบื้อง ไม้กวาดทางมะพร้าว
ใช้กวาดพื้นซีเมนต์ขัดหยาบพื้นดิน บริเวณ
ที่มีน้ำขัง
3.1.2 อุปกรณ์สำหรับขัด
อุปกรณ์สำหรับขัดหลายชนิด เช่น แผ่นขัด แปรงพลาสติก แปรงลวด
3.1.3 อุปกรณ์สำหรับเช็ดถู เช่น ผ้าขี้ริ้ว ฟองน้ำ
3.1.4 เครื่องดูดฝุ่น ช่วยประหยัดเวลา
ไม่ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย ดังนั้นควรใช้อย่างถูกวิธี การใช้งาน ควร
ศึกษาคู่มือก่อนการใช้งานและปฎิบัติตามคำแนะนำ หลังทำความสะอาดดูดฝุ่นแล้วต้องทำความสะอาด
เครื่องและให้สะอาด ห้ามดูเศษแก้ว หรือเศษมีด
หรือบุหรี่ทที่กำลังติดไฟเพราะอาจความเสียหาย
ไม่ควร
ใช้กับพื้นที่เป็นรอยง่าย
3.1.5 เครื่องซักผ้า
เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานในการซักทำความสะอาดเสื้อผ้า
การใช้เครื่องซักผ้าอย่างถูกต้องดังนี้
ศึกษาคู่มือ และปฎิบัติตามคำแนะนำในคู่มือ
แซ่ผ้าก่อนซัก เพราะสิ่ง
สกปรกจะออกง่ายขึ้น ลดการซักไม่สิ้นเปลือง ไม่ควรใสเสื้อผ้าเกินกำลังของเครื่องที่รับได้
ตั้งโปรแกรมเมื่อ
จำเป็นเท่านั้น
ตั้งโปรแกรมให้เหมาะสมกับผ้าแต่ละชนิด
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3.2
อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาหาร
อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการประกอบอาหาร
ช่วยประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน และได้
ผลงานที่ดีมีคุณภาพมีหลากหลายชนิด เช่น
เตาแก๊ส เตาไฟฟ้า เตาไม่โครเวฟ เครื่องอบ
เครื่องบดอาหาร
เครื่องปั่นน้ำผลไม้ หม้อหุงข้าว ตู้เย็น เป็นต้น
การเลือกใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการประกอบอาหารมีหลักการดังนี้
1.ต้องปลอดภัยโดยดูจากเครื่องที่ได้รับการตรวจรับรองคุณภาพ
(มอก.) ใบรับรองประกันสินค้า วันเดือนปี
ที่ผลิต
สายไฟและชิ้นส่วนของอุปกรณ์แข็งแรงทนทาน ไม่เสื่อมคุณภาพ
2.
ราคาเหมาะสมกับคุณภาพและฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ชื้อ
3. ใช้ง่าย บำรุงรักษาง่าย
4. ประหยัดพลังงาน
5. ไม่ก่อมลพิลหรือทำลายสิ่งแวดล้อม
6.
ต้องทดลองก่อนใช้เพื่อตรวจสอบสภาพการใช้งาน
3.2.1
เตาแก๊ส
เป็นอุปกรณ์ที่ให้ความร้อนทำให้อาหารสุกได้โดยพลังงานแก๊สหุงต้มที่เราเรียกว่า
แก๊สปิโตรเลียม
เหลวหรือแก๊สแอลพีจี เป็นเชื้อเพลิงสะอาด ติดไฟง่าย
การใช้เตาแก๊สอย่างถูกมีวิธีดังนี้
1. ไม่ควรตั้งเตาหรือเตาไว้ที่มีลมแรง
เพราะไฟอาจไม่สัมผัสภาชนะ
2. ภาชนะในการนำมาปรุงอาหารต้องสะอาด
ไม่มีคราบเคลอะดำ ติดภาชนะ
3. อย่าลืมเมื่อทำอาหารต้องคอยระวัง
ไม่ให้ไหม้อาหาร หรือภาชนะ
4. ควรเลือกซื้อถังแก๊สที่มีคุณภาพ มอก.
5. สายพลาสติกควรอยู่ห่างจากถังแก๊สประมาณ 1-1.5
เมตร
6. เมื่อเลิกใช้งานควรปิดวาล์ว ที่ถัง
แล้วจึงปิดหัวเตา
7. หลังทำอาหารให้ทำความสะอาดหัวเตาด้วย
3.2.2.
เตาไฟฟ้า
เป็นอุปกรณ์อุ่นอาหารให้ร้อนและทำให้อาหารสุก
เหมาะสำหรับใช้กระทะ หรือหม้อก้นแบน
การเลือกใช้มีดังนี้
1. ไม่ควรเปิดเตาไฟฟ้ารอนานเกินไป
2. ภาชนะที่ใช้ควรให้เหมาะสมกับเตา
เช่นรูปแบนๆ
3. ปิดสวิตช์ไฟฟ้าก่อนเสร็จ เมื่อเลิกใช้งาน ถอดปลั๊กออกทันที
เมื่อเลิกใช้งาน
4. ทำความสะอาดหลังการใช้สม่ำเสมอ เพื่อต่ออายุการใช้งาน
เตาแก๊สอินฟราเรดเป็นระบบแผ่ความร้อนขึ้นบนหัวเตาโดยตรงไม่แผ่ออกด้านข้าง
จึงให้ความร้อนสูงและ
และประหยัดแก๊สได้มากกว่าเตาอื่นๆทั่วไป
เตาแม่เหล็กไฟฟ้า
ให้ความร้อนโดยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กส่งผ่านภาชนะที่ทำด้วยโลหะก่อให้เกิด
พลังงานความร้อนอันทรงพลังเป็นผลให้อาหารที่อยู่ในภาชนะสุกได้ง่ายดาย หน้าสัมผัสเตาไม่มีความร้อน
ไม่มีประกายไฟ ไม่มีควัน
ให้อุณหภูมิคงที่ ประหยัดพลังงาน
มีความปลอดภัยสูง ใช้งานง่าย เหมาะ
สำหรับอาหารทุกประเภท
3.2.2.
เตาไมโครเวฟ
เป็นอุปกรณ์ประเภทเตาอบไฟฟ้าที่ให้ความร้อนประเภทพหนึ่ง
สามารถอุ่นและประกอบอาหารได้อย่าง
รวดเร็วมากกว่าเตาไฟฟ้า
การใช้เตาไมโครเวฟอย่างถูกวิธีดังนี้
1. อย่าวางเตาอบไมโครเวฟใกล้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ
2. ทำความสะอาดหลังการใช้อย่างสม่ำเสมอ
3. ควรตั้งเวลาให้สอดคล้องกับอาหาชนิดของอาหาร ปริมาณอาหาร
4. ควรใช้เพื่ออุ่นอาหาร หรือต้มน้ำปริมาณเล็กน้อย ละลายน้ำแข็ง
5.
ควรใช้ภาชะที่เหมาะสมกับเตาอบเท่านั้น เช่น เซรามิก
3.2.2.
หม้อหุงข้าว
หม้อหุงข้าวไฟฟ้ามีหลายแบบหลายชนิด
บางชนิดเป็นหม้อสำหรับหุงต้มอย่างเดียว
แต่บางชนิดมีทั้งหม้อ
สำหรับหุงต้ม และมีชั้นนึ่งอาหาร
การใช้หม้อหุงข้าวอย่างถูกวิธีมีดังนี้
1.
เช็ดทำความสะอาดหม้อใน และหม้อนอก หม้อในสามารถล้างน้ำได้
2.
ไม่ควรให้แผ่นแม่เหล็กที่ทำความร้อนเปียก หรือสกปรก มีแมลงตกลงไป
3. อย่าเปิดฝาหม้อในขณะที่หม้อทำงานอยู่
4.
ทำความสะอาดหลังการใช้งาน
3.2.2.
ตู้เย็น
ตู้เย็นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้การแซ่อาหารไม่ให้เน่าเสียก่อนนำไปใช้
เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์
การใช้ตู้เย็นอย่างถูกวิธีมีดังนี้
1.
เลือกใช้ที่มีขนาดความเหมาะสมกับสมาชิกในครอบครัว
2. ตั้งห่างจากผนังบ้านประมาณ 15 CM. ไม่ควรตั้งใกล้แหล่งความร้อน
เช่นเตาไฟ
3.
ตั้งสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับ
เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองพลังงาน
4. ไม่นำของร้อนเข้าตู้เย็น ไม่เปิดปิดปล่อยเกินไป
5.
ละลายน้ำสม่ำเสมอ
6.หมั่นทำความสะอาดแผงความร้อนที่อยู่ด้านหลัง
7. ตรวจสอบขอบยางประตูตู้เย็นไม่ให้เสื่อม เพราะจะทำให้ความเย็นรั่วไหลได้
ความรู้เพิ่มเติม
การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามีข้อควรพิจารณา
4 ประการ
1.
คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการใช้งาน บางครั้งอาจไม่จำที่ต้องใช้
2. ความปลอดภัยไว้วางใจได้ มีใบรับประกัน
รับรองผ่านการตรวจการใช้งาน
3. ราคา ควรเหมาะสมกับคุณภาพสินค้า
4. ค่าติดตั้งค่าบำรุงรักษา การซ่อมแซมหลังการใช้งาน
...................................................................................................................................
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้จัดและตกแต่งห้องครัว ควรตกแต่งด้วยภาพติดผนังที่เกี่ยวกับอาหารหรือตะกร้าวางผลไม้
หลากสี
การจัดตกแต่งห้องรับแขก
ห้องรับแขกเป็นห้องที่ต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือน ซึ่งจะอยู่ส่วนหน้าของบ้านการจัดและตกแต่งห้อง
รับแขกควรจัดให้สวยงามและดูสะดวกสบาย
2. แบบนั่งเก้าอี้ มีวิธีการจัดหลายวิธี ได้แก่
1. จัดแบบเส้นตรง โดยจัดเก้าอี้วางเรียงเป็นแถวเดียว ให้เก้าอี้ยาวอยู่ตรงกลางเก้าอี้เดี่ยววางไว้ด้าน
ข้างด้านละตัว และวางโต๊ะรับแขกไว้กลางตรงส่วนหน้าเก้าอี้ยาว การจัดแบบนี้เหมาะสำหรับห้องแคบ หรือ
มีพื้นที่จำกัด
2. ตู้โชว์ เลือกขนาดพอเหมาะกับห้อง ไม่ควรสูงมาก จะทำให้ห้องแลดูทึบ ควรวางชิดผนัง
ไม่ควรวางตู้บังแสงสว่างและทิศทางลม
สีที่เหมาะสำหรับจัดตกแต่งห้องรับแขก เช่น ชมพูอ่อน ส้มอ่อน จะทำให้รู้สึกสดชื่น
การจัดและตกแต่งบ้าน
บ้านนอกจากจะปัดกวาดเช็ดถูให้สะอาดแล้ว ยังต้องจัดให้เป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการปฏิบัติ
งานและอยู่อาศัย บ้านเล็กแต่มีผู้อยู่อาศัยมากยิ่งจำเป็นต้องจัดให้ดี จึงจะทำให้ทุกคนอยู่อาศัยอย่างมี
ความสุข การนำสิ่งประดิษฐ์หรือของประดับบ้านมาใช้ประดับตกแต่ง จะเพิ่มความสวยงามและน่าอยู่ยิ่ง
ขึ้น สถานที่ในบ้านที่จำเป็นต้องมี คือ ห้องนอนหรือบริเวณที่จัดเป็นที่นอน ที่ปรุงอาหาร
หรือห้องครัว
และห้องน้ำ ห้องส้วม บางบ้านมีห้องต่างๆ มากพอสำหรับสมาชิกทุกคน บางบ้านมีไม่พอจะมีก็เพียง
แต่ห้องที่จำเป็น เช่น ห้องนอน ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องส้วม ฉะนั้น ในการจัดจึงต้องคำนึงถึงสภาพบ้าน
จำนวนคนที่อยู่อาศัย และประโยชน์ใช้สอยที่ต้องการ
หลักการจัดและตกแต่งห้องต่าง ๆ ภายในบ้าน
การจัดและตกแต่งห้องต่าง
ๆ ควรคำนึงถึงหลักการ ต่อไปนี้
1. มีประโยชน์
การจัดตกแต่งห้องควรคำนึงถึงความสะดวกต่อการใช้งาน
สะดวกต่อการเดิน เข้า –
ออก และ
สามารถปรับเปลี่ยนโยกย้ายได้ง่าย เลือกใช้เครื่องเรือนและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ตกแต่งให้มีขนาดเหมาะสมกับ
ขนาดของห้อง
จัดวางเครื่องเรือนและวัสดุอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ
2. ประหยัด
ประหยัดพลังงานไฟฟ้า
โดยจัดวางเครื่องเรือนและวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งห้องไม่ให้บังทิศทางลม
ทำให้ห้องเย็นสบายแทนการใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ
ใช้มู่ลี่ปรับแสงสว่างจากธรรมชาติให้เหมาะสม
กับการใช้งานภายในห้อง แทนการใช้แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้า ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเลือกใช้เครื่อง
เรือนและวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งห้องที่หาได้ง่าย
ราคาไม่แพง มีประโยชน์ใช้สอยหลายอย่าง และดูแลรักษาได้
ง่าย
3. ปลอดภัย
ปลอดภัยโดยจัดวางเครื่องเรือนและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งให้เป็นระเบียบ
ไม่เกะกะ
ขวางทางเดิน เพื่อป้องกันการสะดุด หกล้ม หรือชนจนได้รับบาดเจ็บ ปลอดภัยโดยเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์
ตกแต่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
เช่นวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีความแหลมคม อุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้
เป็นต้น ปลอดภัยโดยจัดตกแต่งให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น
เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อ
โรค ปลอดภัยโดยจัดตกแต่งห้องให้ทำความสะอาดได้ง่าย
เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งกักเก็บฝุ่นและเป็นที่อยู่ของ
สัตว์และแมลงต่าง ๆ
4. สวยงาม
สวยงามโดยเลือกใช้เครื่องเรือนที่มีสีกลมกลืนกับสีของผนังและพื้นห้องสวยงามโดยจัดวางเครื่อง
เรือนและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ตกแต่งห้อง
ให้สมดุลกันทุกด้านทุกมุมของห้อง
การตกแต่งห้องนอน
ห้องนอน เป็นห้องส่วนตัวที่ให้ความรู้สึกสบายที่สุดของบ้าน
ใช้พักผ่อนคลายความเครียดและใช้ทำ
กิจกรรมส่วนตัวอื่น เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง เป็นต้น
จึงต้องเป็นห้องที่เย็นสบาย อากาศถ่ายเทได้
สะดวก ควรอยู่ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อแสงแดดจะได้ส่องถึงในตอนเช้า และไม่ร้อนระอุ
ในเวลา
กลางคืน เราจำเป็นต้องรักษาความสะอาด จัดให้น่าอยู่
จะทำให้เรามีสุขภาพที่ดีทั้งทางกายและทางใจ
ปัจจัยที่ควรคำนึงในการจัดตกแต่งห้องนอน
มีความเป็นส่วนตัว
ไม่มีเสียงรบกวน ประตูสามารถปิดล็อกด้านในและปิดล็อกด้านนอก
เพื่อความเป็นส่วนตัว
มีแสงสว่างเพียงพอและอากาศถ่ายเทได้สะดวก เช่น มีหน้าต่าง ช่องระบายอากาศ มีพัดลม
หรือเครื่องปรับอากาศ
แต่ไม่ควรจัดวางหัวเตียงให้ชิดหน้าต่าง เพราะถ้าได้รับลมมาก ๆ จะทำให้เป็นหวัด
ได้ง่าย
การใช้สี ห้องนอนเป็นห้องที่สำคัญ การใช้สีที่เหมาะสมจะมีผลดีต่อสุขภาพจิต
และความสุข
ในการพักผ่อน สีของผนังห้องและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดและตกแต่ง ควรใช้สีเย็นเพื่อให้ความรู้สึกเย็น
สบาย เช่นสีฟ้า
สีเขียว ถ้าห้องแคบให้ใช้สีเหลือง สีส้มอ่อน สีครีมหรือสีฟ้าอ่อน ไม่ควรใช้สีฉูดฉาด
การวงรูปแบบ ห้องนอน โดยทั่วไปจัดเป็น
2 แบบ คือ
1. แบบจัดวางเครื่องนอนบนพื้น
จัดวางที่นอนชิดผนังและมุมห้องด้านใดด้านหนึ่ง
2. แบบจัดวางเครื่องนอนบนเตียง
จัดวางเตียงนอนชิดผนังด้านใดด้านหนึ่ง หรืออาจตั้งเตียงให้ส่วนหัว
เตียงอยู่ชิดผนัง
ด้านข้างค่อนไปทางฝาผนัง เว้นช่องทางเดินด้านข้าง และปลายเตียงไว้ เพื่อให้ปิด –
เปิด
ห้อง หรือเดินได้สะดวก
ในห้องนอนควรมีเครื่องใช้ที่จำเป็น ดังนี้
เครื่องนอน ได้แก่
หมอน หมอนข้าง มุ้ง ผ้าห่ม เตียง ที่นอน และเสื่อ
มุ้ง นับว่าจำเป็น
มากสำหรับบ้านในชนบท
ตู้เสื้อผ้า ใช้สำหรับเก็บเสื้อผ้าที่รีดแล้วและใส่ของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น ถ้าไม่มีตู้ก็ควรใส่
กล่องกระดาษเพื่อความเป็นระเบียบและป้องกันฝุ่นละออง
โต๊ะเขียนหนังสือ สำหรับผู้ที่ต้องการอ่านหนังสือ เพื่อการพักผ่อน
ที่วางของ ควรมีไว้เพื่อวางแก้วน้ำ โคมไฟ วิทยุ
ราวพาดผ้า ราวพาดผ้าอาจทำด้วยไม้หรือใช้ลวดขึงกับข้างฝา ใช้สำหรับผึ่งผ้า
ตะกร้าผ้า ใช้สำหรับใส่เสื้อผ้าที่ใช้แล้ว
ไฟในห้องหรือตะเกียง สำหรับให้แสงสว่าง
เครื่องประดับตกแต่งห้อง ควรหาวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาประดิษฐ์ เช่น ภาพผนัง
ที่ใส่ซองจดหมาย ฯลฯ
การตกแต่งห้องครัว
ห้องครัว เป็นที่สำหรับประกอบอาหาร
ดังนั้นควรอยู่ห่างจากห้องนอนหรือส่วนหลังของบ้านเพื่อไม่ให้มีกลิ่น
และเสียงรบกวน มีแสงสว่างเพียงพอ มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อช่วยขจัดกลิ่น
ห้องครัวเป็นห้องที่ต้องทำ
ความสะอาดอยู่เสมอ ดังนั้นพื้นครัวจึงควรเป็นวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดได้ง่าย
และไม่ลื่น
วิธีการจัดตกแต่ง
การวางรูปแบบ ห้องครัวโดยทั่วไปมีการวางรูปแบบต่าง
ๆ ดังนี้
1. การจัดแบบชิดผนังด้านเดียวหรือแบบเส้นตรง นิยมใช้กับบ้านที่มีเนื้อที่จำกัด
2. การจัดวางแบบชิดผนังสองด้าน
หรือแบบตัวแอล ใช้กับห้องครัวลักษะแคบและยาว
3. การจัดแบบชิดผนังสามด้าน หรือแบบตัวยู เหมาะสำหรับห้องครัวที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่า
4. การจัดแบบเส้นขนาน ใช้สำหรับห้องครัวที่ประตูอยู่ตรงข้ามกัน
2 ประตู
การวางเครื่องเรือนในห้องครัว
ควรยึดหลักความสะดวก ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ
และทำความสะอาดง่าย ดังนี้
ครื่องเรือน
|
วิธีการจัดวาง
|
เตาหุงต้ม
|
ควรวางไว้ที่โปร่ง
ไม่ไกลจากที่เตรียมอาหาร
|
โต๊ะเตรียมอาหาร
|
ควรออกแบบให้ติดกับโต๊ะวางภาชนะหุงต้ม
ใต้โต๊ะเป็นตู้สำหรับเก็บเครื่องใช้ในการประกอบอาหาร
|
อ่างล้างจาน
|
ควรวางต่อจากโต๊ะเตรียมอาหาร
|
ตู้ติดฝาสำหรับเก็บจานชาม
|
ควรจัดวางให้ไกลจากอ่างล้างจาน
|
ชั้นหรือที่คว่ำจานชา
แก้วน้ำ
|
ควรติดผนังเหนืออ่างล้างจานหรือวางไว้ข้าง
ๆ อ่างล้างจาน
|
ตู้เย็น
|
ควรตั้งในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกและห่างจากผนังไม่น้อยกว่า
15 เซนติเมตร (ถ้าพื้นที่ในครัวไม่เพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องตั้งไว้ในครัวเสมอไป)
|
สีของห้องครัวและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดและตกแต่ง ควรเป็นสีสดใส สว่าง และเย็นเช่น สีเขียว
อ่อน สีครีม เป็นต้น
อ่อน สีครีม เป็นต้น
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้จัดและตกแต่งห้องครัว ควรตกแต่งด้วยภาพติดผนังที่เกี่ยวกับอาหารหรือตะกร้าวางผลไม้
หลากสี
จัดให้มีที่รองรับขยะหรือเศษอาหาร โต๊ะหรือเคาน์เตอร์สำหรับวางอ่างล้างจานและที่คว่ำจาน ควรเลือกใช้
ชนิดที่ทำจากกระเบื้องหรือสเตนเลส ไม่ควรเลือกใช้ชนิดที่ทำจากไม้ เพราะเมื่อถูกความชื้นระยะหนึ่งอาจ
ขึ้นรา ไม้บวมพอง หรือมีปลวกกัดกิน
ชนิดที่ทำจากกระเบื้องหรือสเตนเลส ไม่ควรเลือกใช้ชนิดที่ทำจากไม้ เพราะเมื่อถูกความชื้นระยะหนึ่งอาจ
ขึ้นรา ไม้บวมพอง หรือมีปลวกกัดกิน
การจัดตกแต่งห้องรับแขก
ห้องรับแขกเป็นห้องที่ต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือน ซึ่งจะอยู่ส่วนหน้าของบ้านการจัดและตกแต่งห้อง
รับแขกควรจัดให้สวยงามและดูสะดวกสบาย
การวางรูปแบบ การจัดห้องรับแขกนิยมจัดเป็น
2 แบบ คือ
1. แบบนั่งพื้น จัดตกแต่งโดยใช้เสื่อหรือพรมปูลาด หรือใช้เบาะรองนั่งหลาย ๆใบอาจมีหมอนอิง หรือ
หมอนสามเหลี่ยมเพื่อให้นั่งสบายขึ้น และมีโต๊ะเตี้ย ๆ วางตรงกลาง ใช้สำหรับวางสิ่ง ของน้ำดื่ม การจัด
แบบนี้ค่อนข้างสะดวก ประหยัด เนื่องจากเครื่องเรือนหาง่าย ราคาไม่แพง
หมอนสามเหลี่ยมเพื่อให้นั่งสบายขึ้น และมีโต๊ะเตี้ย ๆ วางตรงกลาง ใช้สำหรับวางสิ่ง ของน้ำดื่ม การจัด
แบบนี้ค่อนข้างสะดวก ประหยัด เนื่องจากเครื่องเรือนหาง่าย ราคาไม่แพง
2. แบบนั่งเก้าอี้ มีวิธีการจัดหลายวิธี ได้แก่
1. จัดแบบเส้นตรง โดยจัดเก้าอี้วางเรียงเป็นแถวเดียว ให้เก้าอี้ยาวอยู่ตรงกลางเก้าอี้เดี่ยววางไว้ด้าน
ข้างด้านละตัว และวางโต๊ะรับแขกไว้กลางตรงส่วนหน้าเก้าอี้ยาว การจัดแบบนี้เหมาะสำหรับห้องแคบ หรือ
มีพื้นที่จำกัด
2. จัดแบบเข้ามุมห้อง
โดยจัดวางเก้าอี้ยาวไว้ชิดผนังด้านหนึ่ง เก้าอี้เดี่ยวอีก 1
– 2 ตั้งชิดผนังอีก
ด้านให้อยู่ในลักษณะเป็นมุมฉาก วางโต๊ะรับแขกไว้ตรงกลาง การจัดแบบนี้ช่วยประหยัดเนื้อที่ได้มาก
เหมาะสำหรับห้องขนาดเล็ก
ด้านให้อยู่ในลักษณะเป็นมุมฉาก วางโต๊ะรับแขกไว้ตรงกลาง การจัดแบบนี้ช่วยประหยัดเนื้อที่ได้มาก
เหมาะสำหรับห้องขนาดเล็ก
3. จัดลักษณะรูปสี่เหลี่ยม การจัดแบบนี้จะวางเก้าอี้ยาวไว้ชิดผนัง เก้าอี้เดี่ยว
2 ตัว วางไว้ด้านตรง
ข้าม และมีโต๊ะรับแขกวางอยู่ตรงกลาง
ข้าม และมีโต๊ะรับแขกวางอยู่ตรงกลาง
4. จัดแบบตัวยู (U)
หรือเข้ามุม 2 มุม การจัดแบบนี้จะวางเก้าอี้ยาวไว้ชิดผนังด้านหนึ่ง
และวาง
เก้าอี้เดี่ยวไว้ด้านข้าง 2 ด้าน ในลักษณะตรงกันข้าม และวางโต๊ะรับแขกไว้ตรงกลางเหมาะสำหรับห้องที่มี
ลักษณะแคบแต่ยาว
เก้าอี้เดี่ยวไว้ด้านข้าง 2 ด้าน ในลักษณะตรงกันข้าม และวางโต๊ะรับแขกไว้ตรงกลางเหมาะสำหรับห้องที่มี
ลักษณะแคบแต่ยาว
5. จัดแบบวงกลม โดยวางชุดเครื่องเรือนทั้งหมดอยู่ห่างจากผนังจนเกือบกลางห้อง
วางเก้าอี้ยาวไว้
ด้านหนึ่ง โต๊ะรับแขกไว้ตรงกลาง และวางเก้าอี้เดี่ยวโดยรอบ การจัดแบบนี้เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่กว้าง
มาก
ด้านหนึ่ง โต๊ะรับแขกไว้ตรงกลาง และวางเก้าอี้เดี่ยวโดยรอบ การจัดแบบนี้เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่กว้าง
มาก
สิ่งที่ควรนำมาใช้จัดตกแต่งห้องรับแขก
ได้แก่
1. ชุดรับแขก แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ถ้าเป็นแบบนั่งพื้นก็ควรใช้เสื่อหรือพรมปูพื้น
ถ้าเป็น
แบบนั่งเก้าอี้ ควรเลือกชุดรับแขกที่มีขนาดและรูปแบบที่เหมาะกับห้อง ทำจากวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน เช่น
ไม้ หวาย ถ้าบุผ้าควรเลือกสีที่กลมกลืนกับสีห้อง
แบบนั่งเก้าอี้ ควรเลือกชุดรับแขกที่มีขนาดและรูปแบบที่เหมาะกับห้อง ทำจากวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน เช่น
ไม้ หวาย ถ้าบุผ้าควรเลือกสีที่กลมกลืนกับสีห้อง
2. ตู้โชว์ เลือกขนาดพอเหมาะกับห้อง ไม่ควรสูงมาก จะทำให้ห้องแลดูทึบ ควรวางชิดผนัง
ไม่ควรวางตู้บังแสงสว่างและทิศทางลม
3. ผ้าม่าน
เป็นสิ่งตกแต่งที่ช่วยกรองแสงสว่างในห้องให้ลดลง และช่วยให้ห้องรับแขกดู
สวยงามขึ้น การเลือกผ้าม่านมาตกแต่งห้อง ควรเลือกที่มีสีสัน ลวดลายสวยงาม กลมกลืนกับห้อง
สวยงามขึ้น การเลือกผ้าม่านมาตกแต่งห้อง ควรเลือกที่มีสีสัน ลวดลายสวยงาม กลมกลืนกับห้อง
4. ภาพ ควรเลือกสีให้เข้ากับเครื่องเรือนและผนังห้อง
และควรเลือกภาพวิวธรรมชาติที่ดูแล้ว
สดชื่น ภาพบุคคล ภาพเขียน หรือปักผ้าด้วยมือที่มีความสวยงาม มีคุณค่านำมาตกแต่งห้อง
สดชื่น ภาพบุคคล ภาพเขียน หรือปักผ้าด้วยมือที่มีความสวยงาม มีคุณค่านำมาตกแต่งห้อง
5. ต้นไม้ และดอกไม้ เป็นสิ่งที่ช่วยให้ห้องรับแขกมีชีวิตชีวา ไม่แห้งแล้ง
ต้นไม้ที่จำมา
ประดับ ควรเลือกชนิดที่ไม่ต้องการแสงแดดมาก เช่น บอน พลูด่าง ฯลฯ
ประดับ ควรเลือกชนิดที่ไม่ต้องการแสงแดดมาก เช่น บอน พลูด่าง ฯลฯ
6. สิ่งประดับตกแต่งอื่น
ๆ เช่นรูปปั้น เครื่องเซรามิก งานหัตถกรรมพื้นบ้าน ควรเลือกให้มีสี
ขนาด รูปทรง เหมาะสมสัมพันธ์กัน
ขนาด รูปทรง เหมาะสมสัมพันธ์กัน
การใช้สี ควรเลือกใช้สีที่มองดูแล้วสดชื่น
และเลือกใช้สีให้เข้ากับเรื่องเรือนและผนังห้อง
สีที่เหมาะสำหรับจัดตกแต่งห้องรับแขก เช่น ชมพูอ่อน ส้มอ่อน จะทำให้รู้สึกสดชื่น
ห้องน้ำห้องส้วม
ห้องน้ำห้องส้วม ใช้สำหรับอาบน้ำ ชำระร่างกายและการขับถ่าย ควรเป็นห้องที่สะอาดและมี
ประโยชน์ใช้สอยเต็มที่ อาจตั้งอยู่ภายในบ้าน หรือแยกออกไปตั้งอยู่ภายนอกก็ได้ ถ้าอยู่ในบ้าน
ควรอยู่บริเวณทิศตะวันตก เพื่อให้แสงแดดช่วงบ่ายส่องสว่างถึงได้ เป็นการฆ่าเชื้อโรคในห้องด้วย
วิธีการตกแต่ง
การวางรูปแบบ ห้องน้ำ ห้องส้วมโดยทั่วไปมักเป็นจะเป็นห้องแคบ
พื้นที่ประมาณ 2 – 3 เมตร ภายใน
แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเปียก
(ส่วนอาบน้ำ) และส่วนแห้ง (ส่วนส้วม) บางแห่งอาจไม่รวมห้องน้ำ ห้อง
ส้วมไว้ด้วยกันแต่จัดแยกเป็นห้องเดี่ยว
การจัดวางเครื่องใช้และสิ่งตกแต่ง
1. เครื่องสุขภัณฑ์
ตั้งไว้ในตำแหน่งที่ใช้ได้สะดวก เช่น อ่างเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำ อ่างล้างหน้า
วางไว้ในส่วนอาบน้ำ โถส้วมวางแยกไว้ในส่วนส้วม
2. เครื่องใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย
จัดวางในที่ที่หยิบใช้ได้สะดวกสบาย ใกล้มือ เช่น
กล่องสบู่วางไว้ที่ผนังบริเวณอาบน้ำ
ยาสีฟันวางที่ชั้นใกล้อ่างล้างหน้า กระดาษชำระ ถังขยะวางไว้ใกล้โถส้วม
ผ้าเช็ดตัวแขวนที่ราวพาดผ้าในส่วนอาบน้ำ เป็นต้น
3. ม่านพลาสติก คิดตั้งที่ประตู
ป้องกันไม่ให้น้ำกระเซ็นถูก ซึ่งจะทำให้ชำรุดเร็ว หรือใช้กั้นส่วน
อาบน้ำ กับส่วนส้วมให้แยกออกจากกัน
4. สิ่งตกแต่งอื่น
ๆ เช่น รูปภาพ กระถางไม้แขวน นำไปประดับตกแต่งผนังห้องด้านที่ไม่เปียกน้ำ
เพื่อให้เกิดความสดชื่น
.............................................................................................................................
การเตรียมอาหารเป็นการนำอาหารสด อาหารแห้ง และเครื่องปรุงรสมาเตรียมพร้อมไว้เพื่อความ
สะดวกรวดเร็วในการประกอบอาหาร การเตรียมอาหารมีหลายวิธี ดังนี้
1. ล้าง เป็นการใช้น้ำทำให้อาหารสะอาด
โดยใช้มือช่วยถูผิวอาหารเบาๆ เพื่อให้ฝุ่นละอองและสิ่ง
สกปรกหลุดออกไป
2. สง เป็นการใช้มือช้อนอาหารที่เป็นชิ้นหรือเป็นฝอยขึ้นจากน้ำเพื่อให้สะเด็ดน้ำ
3. เด็ด เป็นการใช้มือทำให้ก้านหรือใบผักขาดออกจากกัน
4. ปอก เป็นการใช้มีดหรือมือลอกเปลือกอาหารออกไป
5. หั่น เป็นการใช้มีดทำให้อาหารขาดออกจากกันเป็นชิ้นตามต้องการ
โดยมือหนึ่งจับมีดอีกมือหนึ่ง
จับอาหารวงบนเขียง กดมีดเลื่อนไปข้างหน้าแล้วลากกลับมาอย่างเร็ว
6. สับ เป็นการใช้มีดขนาดใหญ่
ทำให้อาหารขาดออกจากกันเป็นชิ้นๆ หรือละเอียด โดยยกมีดให้สูง
แล้วกดลงให้ถูกอาหารนั้นอย่างแรงและเร็ว
7. ฝาน เป็นการทำให้อาหารเป็นแผ่นหรือชิ้นบางๆ
โดยใช้มือหนึ่งจับมีด และอีกมือหนึ่งจับอาหารไว้
ในฝ่ามือหรือวางบนเขียง แล้วกดมีดลงบนอาหารนั้น
8. ซอย เป็นการทำให้อาหารเป็นชิ้นฝอยๆ
โดยมือหนึ่งจับอาหารวางบนเขียง อีกมือหนึ่งกดมีดไป
ข้างหน้านิดหน่อย ยกขึ้นถี่ๆเร็วๆ
9. บุบ เป็นการทำให้อาหารพอช้ำหรือพอแตก
โดยใช้มีดขนาดใหญ่ ออกแรงกดลงบนอาหาร หรือใช้
ลูกครงกระแทกเบาๆ
10. โขลก เป็นการทำให้อาหารเหนี่ยวและนุ่ม
โดยใส่อาหารลงในครกแล้วใช้ลูกครกกระแทกลงไป
แรงๆ
11. คั้น เป็นการทำอาหารที่อมน้ำให้แห้ง
โดยการแยกน้ำกับอาหารนั้นเป็นคนละส่วน ใช้มือกำอาหาร
นั้นบีบให้แน่น เพื่อให้อาหารนั้นไหลออกมา เช่น คั้นกะทิ
12. ชั่ง เป็นการกำหนดปริมาณเครื่องปรุงของอาหารให้ได้ตามตำรับอาหาร
โดยปรับเข็มตาชั่งให้ตรง
เลขศูนย์ วางอาหารลงบนเครื่องชั่น อ่านน้ำหนัก แล้วหยิบอาหารใส่ลงในถ้วยหรือจานเตรียมไว้
13. ตวง เป็นการกำหนดปริมาณเครื่องปรุงของอาหารให้ได้ตามตำรับอาหาร
โดยตักหรือเทอาหารใส่
ถ้วยตวง หรือช้อนตวง ถ้าเป็นเครื่องปรุงแห้งให้ใช้สั้นมีดปาดอาหารที่ล้นออกมาให้พอดีกับขอบถ้วย
ตวงหรือช้อนตวง แล้วเทใส่ถ้วยหรือจานเตรียมไว้ สำหรับเครื่องปรุงเหลวให้เทใส่ถ้วยตวงตามขีดบอก
จำนวนที่ต้องการ
การประกอบอาหาร
การประกอบอาหาร
เป็นการปรุงอาหารดิบให้สุกด้วยวิธีการต่างๆ ทำให้อาหารมีสี มีรส รสชาติ
และกลิ่นของอาหารที่น่ารับประทาน
โดยคำนึงถึงการสงวนคุณค่าทางอาหารเป็นสำคัญ นอกจากนี้
ในขณะประกอบอาหารผู้ประกอบอาหารต้องฝึกสังเกตการเปลี่ยนของอาหาจากดิบไปสุกเพื่อจะได้
รู้ว่าอาหารที่สุกดีนั้นเป็นอย่างไร
และฝึกชิมอาหารเพื่อจะได้รู้จักปรับเปลี่ยนรสชาติอาหารให้
เหมาะสม
ประโยชน์ของการประกอบอาหาร
1. ทำให้อาหารสุก สะอาด ปราศจากเชื้อโรค
อาหารที่สุกด้วยการปรุงผ่านความร้อนสูง และเป็น
เวลานาพอสมควร เป็นที่แน่ใจว่า เชื้อโรคและพยาธิถูกทำลายไปแล้ว
จึงจะสะอาดเพียงพอ สำหรับ
การรับประทานอาหารที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ
2.สงวนคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร ส่วนมากสารอาหารที่มักจะสูญเสียไปในขั้นตอนการ
ประกอบอาหารก็คือ วิตามิน โดยเฉพาะวิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่
วิตามินบีและวิตามินซี ดังนั้น
ในระหว่างประกอบอาหารจึงต้องใช้เทคนิควิธีต่างๆ เพื่อสงวนคุณค่าของอาหารไว้ให้มากที่สุด
3.ทำให้อาหารย่อยง่ายขึ้น เครื่องปรุงรสที่ใช้ในการประกอบอาหาร และการทำให้อาหารสุกมีผลต่อ
ความนุ่มและย่อยง่ายของอาหาร
4.ทำให้สะอาดมีรสชาติและกลิ่นดีขึ้น การประกอบอาหารด้วยวิธีต่าง
ๆ ทำให้รสชาติและกลิ่นของ
อาหารเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นเมื่ออาหารสุก จึงทำให้รับประทานอาหารมากขึ้น
5.ป้องกันการเน่าเสีย จึงทำให้เก็บอาหารได้นานขึ้นเอนไซม์และแบคทีเรียเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้
อาหารเน่าเสีย ดังนั้น
เมื่อต้องการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์และแบคทีเรีย และทำให้อาหารเก็บ
ได้นานมากขึ้น ก็สามารถทำได้โดยประกอบอาหารให้สุกด้วยความร้อนโดยวิธีการต่าง
ๆ เช่น ต้ม
ทอด กวน เป็นต้น
วิธีการประกอบอาหาร
1.การปิ้ง คล้ายกับการย่างแต่ใช้ไฟอ่อน
และให้ความร้อนเสมอกัน เช่น การปิ้งขนมปัง อาหารบาง
ชนิดที่อาจไหม้ได้ง่ายและเร็ว ควรห่อด้วยใบตองหรือกระดาษฟอยล์ก่อนนำไปปิ้ง
เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง
2.การรวน เป็นวิธีการที่คล้ายกับการคั่ว
แต่ต้องใส่น้ำมัน นิยมใช้ประกอบอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และ
ปรุงรสให้เค็มมากขึ้น เพื่อให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน
เช่น ไก้รวน เป็ดรวน และปลาหมึกรวน
เป็นต้น
3.การผัด เป็นการทำอาหารให้สุกโดยใช้นำมันน้อย
ไฟแรง เพื่อให้สุกในระยะเวลาสั้น ในขณะผัดควร
ใช้ตะหลิวคลุกอาหารไปมา เพื่อให้อาหารสุกอย่างทั่วถึงอาหารที่ประกอบด้วยวิธีการนี้
เช่น ผัด
เปรี้ยวหวาน ผัดผักรวมมิตร และผัดผักคะน้าหมูกรอบ เป็นต้น
ใช้ตะหลิวคลุกอาหารไปมา เพื่อให้อาหารสุกอย่างทั่วถึงอาหารที่ประกอบด้วยวิธีการนี้
เช่น ผัด
เปรี้ยวหวาน ผัดผักรวมมิตร
4.การคั่ว เป็นการประกอบอาหารโดยไม่ใช้น้ำมันนำอาหารใส่ลงในภาชนะที่แห้ง
ใช้ไฟอ่อน แล้วคน
อาหารไปมาตอลดเวลาเพื่อให้สุกอย่างถั่วถึง เมื่ออาหารสุกจะมีกลิ่นหอม
และเหลืองกรอบ เช่น ถั่ง
ลิสงคั่ว
5.การเจียว เป็นการทำอาหารให้สุกในน้ำมันโดยใช้ไฟอ่อน
และใช้น้ำมันน้อยกว่าการทอด อาหารที่
เจียวจะหั่นหรือซอยละเอียด ใส่ลงในน้ำมันที่ยังไม่ร้อนจัด แล้วเจียวให้เหลืองทั่วกัน
เช่น
กระเทียมเจียว และหอมเจียว
6.การทอด เป็นการทำอาหารให้สุกโดยใช้น้ำมัน
มีทั้งการทอดโดยใช้น้ำมันหอย เพื่อไม่ให้อาหารติด
กระทะ เช่น ไข่ดาว หมูทอด และการทอดโดยใช้น้ำมันมากเพื่อให้อาหารเหลืองกรอบ
เช่น ปลาทอด
ปาท่องโก๋ ในการทอกหากเป็นอาหารสดจะต้องใส่อาหารในขณะที่อาหารร้อนจัด
ส่วนอาหารแห้งและ
อาหารที่ชุบแป้งควรใส่ในขณะที่น้ำมันยังร้อนไม่มากนัก มิเช่นนั้นด้านนอกจะไหม้ก่อนด้านในสุก
7.การตุ๋น เป็นการทำให้อาหารสุกด้วยความร้อนจากน้ำเดือด
โดยผ่านภาชนะสองชั้น ภาชนะชั้นนอก
จะใส่น้ำแล้วนำอาหารที่จะตุ๋นใส่ภาชนะชั้นในตั้งลงในน้ำ นำไปวางบนเตา
ตุ๋นจนกว่าอาหารจะสุก ใน
การตุ๋นควรใส่น้ำในภาชนะชั้นนอกให้สูงประมาณครึ่งหนึ่งของภาชนะชั้นในเพื่อไม่ให้น้ำลงไปในอาหาร
เวลาน้ำเดือด อาหารที่ประกอบด้วยวิธีการนี้ เช่น ไข่ตุ๋น เนื้อตุ๋นและเป็ดตุ๋น
เป็นต้น อาหารที่สุกแล้ว
จะมีลักษณะเปื่อย นุ่ม
8.การนึ่ง เป็นการทำอาหารให้สุกด้วยความร้อนจากไอน้ำโดยต้มน้ำให้เดือด
นำอาหารที่จะนึ่งใส่ใน
หม้อนึ่งหรือลังถึง แล้วนำขึ้นตั้งบนหม้อน้ำเดือด นึ่งจนอาหารสุก
ตัวอย่างอาหารที่ประกอบด้วยวิธีการ
นี้ เช่น ห่อหมก ขนมเทียน ปลานึ่ง เป็นต้น วิธีนี้จะช่วยสงวนคุณค่าของอาหารและรักษาสภาพของ
อาหารให้คงอยู่เช่นเดิม
9. การลวก เป็นการทำให้อาหารสุกไม่มากนักโดยการใส่อาหารลงไปในน้ำเดือด
แล้วนำขึ้นภายใน
ระยะเวลาสั้นประมาณ 1-5
นาที แล้วแต่ชนิดของอาหารและความต้องการของผู้รับประทานว่าจะให้
สุกมากหรือสุกน้อย เช่น หอยลวก หรือการลวกผักชนิดต่างๆ
10.การต้ม เป็นการทำอาหารให้สุกด้วยน้ำเดือด
เช่น ต้มพะโล้ ต้มข่าไก่ และแกงส้ม เป็นต้น การ
ประกอบอาหารวิธีนี้จะสูญเสียคุณค่าอาหารได้ง่าย เนื่องจากสารอาหารจะละลายไปกับน้ำ
ดังนั้นจึง
ควรรับประทานน้ำที่ต้มอาหารด้วย
ข้อมูลอ้างองจากhttps://patchanee.wikispaces.com
อาหารจานเดียว
ภาพจาก Google |
อาหารจานเดียว หมายถึง
อาหารปรุงสำเร็จ 1 จาน มีปริมาณเพียงพอที่จะรับประทานได้อิ่ม 1
มื้อ โดยไม่ต้องรับประทานอืนร่วมด้วย ส่วนใหญ่อาหารจานเดียวมักจะเป็นอาหารความ
และนิยม
รับประทานในมื้อกลางวัน
อาหารจานเียวที่พบเห็นกันทั่วไป เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย ข้าว
ข้าวหมูแดง ราดหน้า หอยแมลงภู่ทอด
กวยจั๊บ ขนมจีนซาวน้ำ ข้าวคลุกกะปิ
ข้าวผัดกระเพรา
เป็นต้น
1. มีประโยชน์ คือมีคุณค่าทางอาหารครบทั้ง 5
หมู่ เหมาะสมกับเพศและวัยของผู้รับประทาน
1.
มีประโยชน์ คือมีคุณค่าทางอาหารครบทั้ง
5 หมู่ เหมาะสมกับเพศและวัยของผู้รับประทาน
2.
ประหยัด คือ
เลือกใช้อาหารตามฤดูกาลที่มีมากในท้องถิ่น
เพราะจะมีราคาถูกและเลือกอาหาร
จานเดียวที่มีขั้นตอนการทำง่ายๆ เพื่อประหยัดเวลา
3. ปลอดภัย คือ
เลือกใช้อาหารที่สดใหม่ ล้างอาหารให้สะอาด
ปรุงอาหารให้สุก ปราศจากเชื้อโรค
พยาธิ
4. น่ารับประทาน คือ
ปรุงแต่งรสชาติอหารให้อร่อย จัดและตกแต่งอาหารให้มีสีสันและรูปแบบ
น่ารับประทานความรู้เพิ่มเติม
ขนมไทยแต่ละภาคที่ควรรู้จัก
มีดังนี้
ภาพจากGoogle |
1.
ขนมไทยล้านนา
ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวหนียว และปรุงให้สุกด้วยวิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน
ขนมวง ขนมต้มหัวหงอก
มักทำกันในเทสกาลสำคัญ เช่น เข้าพรรษา สงกรานต์ เป็นต้น
2. ขนมไทยภาคกลาง ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง
นางเล็ด ข้าวหนียวมูน
และมีขนมแพร่หลายจากวังสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ จ่ามงกุฎ ฝอยทอง ทองหยิบ
3.
ขนมไทยภาคอีสาน เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ มักใช้ในงานพิธีบุญ
ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน
โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตองมามัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิทย์
ข้าวยาคู เป็นต้น
4.
ขนมไทยภาคใต้
ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารเดือนสิบ
จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะใน
ท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง
ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้า หรือขนมลูกสะบ้า
ขนมดีซำหรือเมซำ
ขนมเจาะหูหรือเจาะรู
ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น
88888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888888
การทำบุญข้าวประดับดิน เป็นการทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว |
....................................................................................................................................................
การบริการอาหาร
1.
ความหมายของการบริการอาหาร
การบริการอาหาร
หมายถึง การจัดโต๊ะอาหาร อุปกรณ์รับประทานอาหารให้พร้อมสำหรับการรับ
ประทานอาหาร การเสริร์ฟอาหารที่ปรุงสำเร็จและจัดแต่งแล้วให้แก่ผู้รับประทานอาหารบนโต๊ะ
รับประทานอาหาร
รวมทั้งการรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัวและการจัดเลี้ยงในรูปแบบ
ต่างๆ
2.
การบริการอาหารในครอบครัว
การรับประทานอาหาร่วมกันในครอบครัว หากไม่มีผู้บริการ ก็ควรให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วน
ช่วยเหลือกัน
ด้วยการจัดแบ่งหน้าที่หรือทำงานตามความสมัครใจ ซึ่งการบริการอาหารทั่วไป ผู้ที่มี
อาวุโสน้อยกว่าจะบริการผู้ที่มีอาวุโสมากว่า โดยมีแนวปฎิบัติดังนี้
1.
ผู้บริการอาหารต้องแต่งตัวให้สะอาดเรียบร้อย
ตัดเล็บมือให้สั้น
ล้างมือให้สะอาด ถ้าผมยาว
ผู้รับประทานอาหารบนโต๊ะอาหารอย่างเป็นระเบียบ โดยวางจานไว้หน้าผู้รับประทาน วางซ้อน
ไว้ด้านด้านขวาของจาน
วางส้อมไว้ซ้ายของจาน
วางแก้วน้ำไว้ด้านขวามือเยื้องไปทางด้านบนของ
จาน
3. รินน้ำลงในแก้วของผู้รับประทานอาหารแต่ละคนประมาณ
3 ส่วน 4 ของแก้วให้ครบทุกแก้ว
4. จัดวางอาหารบนโต๊ะ ควรคำนึงถึงความสะดวกในการตักอาหารของผู้รับประทานเป็นสำคัญเช่น
วางถ้วยอาหารประต้มหรือแกงไว้กลางโต๊ะ แล้ววางจานอาหารผัด อาหารทอด
น้ำพริกและผักรอบ
ถ้วยต้มหรือแกงถัดออกมาด้านนอก
5.
การบริการอาหารประเภทต้มหรือแกงควรอุ่นให้ร้อนก่อนเสิร์ฟ และต้องมีจานรองเสมอ
6. ขณะบริการอาหารให้ยืนเบี่ยงตัวหรือค้อมตัวเล็กน้อย ต้องไม่ให้มือหรือนิ้วสัมผัสอาหาร
ไม่ไอหรือจามขณะบริการอาหาร เข้าบริการและยกจานอาหารออกให้ถูกทางตามประเภท
ของอุปกรณ์รับประทานอาหาร
7. ตักข้าวลงในจานให้จานครั้งแต่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป เมื่อข้าวหมดและต้องการรับ
ประทานอีก
จึงค่อยตักเติมภายหลัง
8. หมั่นสังเกตอาหารบนโต๊ะอาหาร ถ้าพร่องไปแล้วยกถ้วยหรือจานอาหารตักไปเติม แล้วจึงมาวาง
บนโต๊ะอีกครั้ง
9.ถ้าช้อนหรือส้อมของผู้รับประทานอาหารคนใดตกลงพื้น ให้ผู้บริการอาหารเก็บไป แล้วซ้อนส้อม
คู่ใหม่มาให้แทน
การจัดเลี้ยงแบบโรงแรม
การจัดเลี้ยงแบบสากล |
3.
การบริการอาหารในการจัดเลี้ยงรูปแบบต่างๆ
การบริการอาหารในหารจัดเลี้ยงขึ้นอยู่กับประเภทของการจัดเลี้ยงซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ
ได้ 2 ประเภท คือ การจัดเลี้ยงแบบไทย และจัดเลี้ยงแบบสากล
เป็นการจัดเลี้ยงที่ปฏิบัติสืบต่อมาเป็นเวลายาวนานซึ่งควรอนุรักษ์ไว้ เช่น
การเลี้ยงพระสงฆ์
การจัดเลี้ยงอาหารค่ำแบบขันโตก การจัดเลี้ยงวันเกิด การจัดเลี้ยงวันแต่งงาน การเลี้ยงต้อนรับแขก
บ้านแขกเมือง การจัดเลี้ยงในงานศพ เป็นต้น
การลี้ยงแบบไทยที่พบเห็นกันเห้นกันทั่วไปมี 3
รูปแบบ ดังนี้
การจัดเลี้ยงแบบสากลในรูปแบบต่างๆ |
การนั่งรับประทานอาหารแบบขันโตก พื้นบ้านชาวภาคเหนือ |
3.2
การจัดเลี้ยงแบบตะวันตก ในยุคสมัยปัจจุบันเป็นที่รู้ๆกันอยู่ถึงการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ
เราจึงต้องการ
ความสะดวกสบายรวดเร็ว
การออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านจึงเป็นที่นิยมของหลายๆครอบครัว
เพราะปัจจุบันมีร้านอาหารให้เลือกทานหลากหลายมากขึ้น ทั้งไทยและต่างประเทศ
แต่ในส่วนของ
ไทยแล้ว บางครอบครัวก็ยังนิยมเรื่องของการทำอาหารทานเองที่บ้าน
เนื่องจากมั่นใจในเรื่องของความ
สะอาด อร่อย และวัตถุดิบที่เราได้คัดสรรเองกับมือ แต่ก็นะ คงต้องมีฝีมือการทำอาหารอยู่บ้าง
ไม่งั้น
การกินข้าวที่บ้านคงเป็นเรื่องลำบาก
นอกจากรสชาติอาหารที่จะสร้างความประทับใจแล้ว การจัดโต๊ะอาหารก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้
บียอนเลยอยากแนะนำ เรื่องของการจัดโต๊ะอาหาร ในรูปแบบตะวันตก
ไว้ให้แฟนๆชาวบาริโอ ได้รู้จัก
กับอุปกรณ์ไว้ จะได้เป็นทักษะไว้ใช้เพื่อต้อนรับแขกสำคัญครับ
การจัดโต๊ะอาหารแบบตะวันตกนั้นเราจะแบ่งเป็นสองแบบคือ
- แบบเป็นทางการ (formal)
- แบบไม่เป็นทางการ (Informal)
สำหรับอุปกรณ์ในเซทนี้จะมีไม่มากนัก เริ่มจาก
- วางจานอาหารลงตรงกลางบนที่รองจาน จากนั้นทำผ้าพับให้เป็นสี่เหลี่ยมแล้ววางลงตรงกลาง
- ด้านขวา วางมีดอาหาร, ช้อนอาหาร,ช้อนซุป เรียงจากซ้ายไปขวา ห่างกันพอประมาณ
- ด้านซ้าย วางส้อมอาหาร, ส้อมสลัด เรียงจากขวาไปซ้าย ห่างกันพอประมาณ
- ด้านบนขวามือ ให้วางแก้วไวท์ และแก้วน้ำเฉียงประมาณ 45 องศา
ลักษณะอาหารจะเสิรฟ์ให้กับแขกทานก็จะต้องเรียงตามลำดับอุปกรณ์จากด้านนอก
เข้าด้านใน เช่น
ซุป ----- สลัด
-----อาหารจานหลัก
สามารถดัดแปลงเมนูอาหารได้ตามรูปแบบของเรา
จะถูกปากกว่า อย่างบียอนชอบรสชาติอาหาร
ไทย ก็อาจจะดัดแปลงจานแรกให้เป็นซุปต้มยำแบบไทย ที่อาจจะทำโดยที่รสชาติไม่ต้องจัดมากนัก
เป็นการเรียกน้ำย่อยได้ดีเลยทีเดียว
แบบเป็นทางการ (formal)
สำหรับอุปกรณ์ในเซทนี้จะมีไม่มากนัก เริ่มจาก
- วางจานอาหารลงตรงกลางบนที่รองจาน จากนั้นนำจานสลัดวางซ้อนไปบนจานหลัก
- ด้านขวา วางมีดอาหาร, ช้อนอาหาร ,ช้อนซุป เรียงจากซ้ายไปขวา ห่างกันพอประมาณ
- ด้านซ้าย วางส้อมอาหาร, ส้อมสลัด เรียงจากขวาไปซ้าย ห่างกันพอประมาณ
จากนั้นพับผ้าเช็ด
ปากเปนสี่เหลี่ยมวางไว้ทางด้านซ้ายมือ
- ด้านบนจาน วางช้อนอาหารว่าง หันปลายช้อนไปทางด้านซ้าย และวางช้อนส้อมสำหรับเค้ก
ด้านล่างหันปลายช้อนไปทางขวา
- ด้านบนซ้ายมือ วางจานกับมีดสำหรับขนมปัง
- ด้านบนขวามือ ให้วางแก้วน้ำ ไวน์แดง ไวท์ขาว เรียงตามลำดับเฉียงประมาณ 45 องศา
- ด้านขวามือสุด ให้วางเป็นแก้วชาหรือกาแฟ
- สุดท้าย ให้วางป้ายชื่อ เพื่อกำหนดบุคคลที่จะนั่งในมื้ออาหารนี้
การจัดโต๊ะแบบเป็นทางการนี้
อุปกรณ์บนโต๊ะจะค่อนข้างเยอะสักหน่อย ซึ่งส่วนตัวแล้วบียอนคิด
ว่าค่อนข้างจะยุ่งยาก ถ้าไม่มีความจำเป็นก็คงจะไม่มีใครจัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถึงไม่ได้จัดเอง ก็ทำให้เรา
ได้รู้จักอุปกรณ์ที่ครบขนาดนี้ มันก็เป็นทักษะให้เรารู้ว่าอะไรควรใช้กับอะไร
ไปกินอาหารโรงแรมหรูจะ
ได้ไม่ตื่นตกใจกับอุปกรณ์เหล่านี้ครับ ^^ ส่วนการใช้อุปกรณ์ก็เช่นเคย
เริ่มจากด้านนอกเข้าด้านใน
ครับ
Tip : การตักซุปรับประทาน จะต้องตักออกนอกตัวเสมอ
มารยาทบนโต๊ะอาหารแบบตะวันตก
เราจะแบ่งมารยาทบนโต๊ะอาหารเป็นสองแบบหลักๆ
คือ
- แบบยุโรป ( European Dinning Style )
- แบบอเมริกัน ( American Dining Style )
แบบยุโรป ( European
Dinning Style )
- ใช้ส้อมมือซ้าย และ มีดมือขวา
- หั่นอาหารในเมนู เช่น สเต็ก ที่ละชิ้นแล้วทาน
- ใช้ส้อมจากมือซ้ายจิ้มอาหารโดยที่ส้อมจะคว่ำลงอยู่เสมอ
- ใช้มีดเพื่อดันอาหารให้ส้อมจิ้มได้ดีขึ้น
- ถ้าต้องการพักรับประทานอาหาร ให้วางส้อม และมีดเป็นมุม ฉากที่จานอาหาร โดยมือ
และ
ข้อมือจะต้องอยู่เหนือโต๊ะตลอดเวลา
แบบอเมริกัน ( American
Dining Style )
- ใช้ส้อมมือซ้าย และ มีดมือขวา
- หั่นอาหารให้เป็นชิ้นพอดีคำทั้งหมด แล้วทานทีเดียว
- เมื่อหั่นอาหารเสร็จ จะเปลี่ยนส้อมไปอยู่มือขวา และใช้ส้อมเพื่อรับประทานอาหาร
- ถ้าต้องการพักรับประทานอาหาร ให้วางส้อม และมีดเป็นมุม ฉากที่จานอาหาร จากนั้นเอามือ
วางบนตัก
Tip : การลุกออกไปทำธุระนอกโต๊ะอาหาร ให้วางบนเช็ดปากไว้ที่เก้าอี้นั่ง หรือบนพนักพิง
เพื่อบอกให้บริกรรู้ว่าเราไปทำธุระ
อาหารที่สามารถใช้มือหยิบจับได้
1. ขนมปัง - ใช้มือบิแผ่นขนมปังที่หั่นแล้ว
ขนมปังก้อน หรือมัฟฟินออกเป็นสองส่วน หรือบิเป็น
ชิ้นเล็กๆ แล้วค่อยทาเนย
2. เบคอน - ถ้าเป็นเบคอนติดมันให้รับประทานด้วยมีดและส้อม
แต่ถ้าเป็นเบคอนกรอบ ให้ใช้
ส้อมแบ่งเป็นชิ้นแล้วใช้มือหยิบขึ้นรับประทาน
3. อาหารที่ใช้มือหยิบ
- รอดูให้เจ้าภาพเริ่มลงมือก่อน ถ้าอาหารวางรวมอยู่ในจานใหญ่ ให้นำมา
วางในจานของคุณก่อนจะหยิบขึ้นรับประทาน
4. อาหารที่ต้องรับประทานด้วยมือ
- เช่น ข้าวโพดฝัก ซี่โครงหมู กุ้งล็อบสเตอร์ หอยกาบ และ
หอยนางรมเสิร์ฟพร้อมเปลือก ปีกไก่ และเนื้อติดกระดูก (ในกรณีไม่เป็นทางการ)
แซนด์วิช ผลไม้บาง
ชนิด มะกอก ขึ้นฉ่ายฝรั่ง เค้กและคุ้กกี้แห้งๆ
http://didyouknow.org/
การจัดเลี้ยงแบบช่วยตนเอง
ได้แก่
1. การจัดเลี้ยงแบบบุฟเฟต์
2. การจัดเลี้ยงแบบค็อกเทล
3. การจัดเลี้ยงแบบออกร้าน
การดูแลเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
เสื้อผ้าที่เราสวมใส่เป็นประจำ
ต้องดูแลและทำความสะอาดเพื่อเวลาสวมใส่จะรู้สึกสะอาด และ
และเพื่อความประหยัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องซื้อเสื้อผ้าบ่อยๆ นอกจากนี้ทำให้เราใช้เทคนิคความรู้เรื่อง
ซ่อมแซมเสื้อผ้า เกิดความภาคภูมิใจและมีความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวกับคนที่เรารักอีกด้วย
เครื่องเกาะเกี่ยวที่ใช้ในการตัดเย็บ
เครื่องเกาะเกี่ยว เป็นวัสดุที่ใช้ยึดเสื้อผ้าให้ติดกันโดยสามารถเปิดและปิด
เพื่อการถอดออกหรือสวมใส่
ได้สะดวก มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีวิธีติดและการใช้งานต่างกัน
ได้แก่
1. กระดุม เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวชนิดหนึ่งเพื่อบังคับไม่ให้รอยผ่าหรือรอยเปิดทับซ้อนกันโดยไม่แยก
กระดุมที่ติดผ้าหรือสาบชิ้นล่าง ในขณะที่ผ้าหรือสาบชิ้นบนต้องเจาะช่องเพื่อให้กระดุมลอดผ่านได้
ช่องที่เจาะนี้เรียกว่ารังดุม
2. ตะขอ ใช้สำหรับติดเสื้อ คอเสื้อ ขอบกระโปรง
ขอบกางเกง
3. ซิป เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวที่เปิดปิดได้ ใช้กับของใช้ในบ้านและงานเสื้อผ้า
มีตั้งแต่ขนาด 3 - 24 นึ้ว
แต่ละขนาดใช้งานต่างกัน ควรใช้ให้เหมาะสมกับงานมีขนาดต่างๆกัน
เสื้อผ้าที่สวมส่วนใหญ่จะเป็นชุดนักเรียน โดยกระดุมเสื้อมักจะหลุดบ่อยๆ
ต้องคอยนำด้ายมาเย็บติด
กับเสื้อให้แน่นเพื่อซ่อมแซม
6.
อธิบายการติดกระดุมและติดตะขอมาให้เข้าใจ
ขั้นตอนการติดกระดุม
1. กาเครื่องหมายตรงตำแหน่งที่ต้องการจะติดกระดุม
2. ใช้ด้าย 2 ทบ ร้อยเข็มเพื่อให้กระดุมแน่นหนาไม่หลุดลุ่ยง่าย
ขมวดปลายด้ายทำปม ใช้เข็มแทงขึ้น
ตรงบริเวณที่ทำเครื่องหมายไว้ถึงด้ายให้แน่น
3. วางกระดุมลงตรงกลางแล้วสอดเข็มลอดรูกระดุม
รั้งด้ายให้ตึง แทงขึ้นลงตามรูกระดุม กลับไป
กลับมาหลายครั้งจนกระดุมแน่น
4.สอดด้ายใต้กระดุมซ่อนปมอีกครั้งแล้วตัดด้ายออก
8.
ถ้ากางเกงที่ใส่ขาดที่หัวเข่าจะแก้ไขดัดแปลงอย่างไร ให้ใช้งานได้
วิธีทำ
1.นำเสื้อ กางเกงที่ต้องการซ่อม มาวัดตรงรอยขาด
2.ตัดเศษผ้า เศษกระดาษมาปะ ตรงรอยขาด
3.เย็บติดเข้ากับส่วนที่ขาด
4.ตกแต่งให้สวยงาม ตามชอบ
9. ถ้านักเรียนดัดแปลงเสื้อผ้าที่ไม่ใช้เป็นผ้ากันเปื้อน
นักเรียนจะใช้ลวดลายและตะเข็บอะไรตกแต่ง
และมีวิธีทำอย่างไร
ลวดลายที่ใช้สามารถใช้ลวดลายอะไรก็ได้ในการทำเป็นผ้ากันเปื้อน
และตะเข็บที่ใช้ควรเป็นตะเข็บ
ที่เย็บด้วยมือ ชนิดเนาเท่า จะทำให้งานออกมาเรียบร้อย สวยงาม
และคงทน โดยมีขั้นตอน คือ เนาให้
ฝีเข็มเสมอกันทั้งสองด้าน ทั้งด้านผิดและด้านถูก ในแต่ละฝีเข็มของการเนาจะใช้ความห่างประมาณ
0.7 เซนติเมตร หรือ 1.5 เซนติเมตร ถ้าฝีเข็มห่างกว่านี้เส้นด้ายจะบังคับผ้าไม่ได้ เริ่มการเนาทาง
ขวามือ การเนาเข็มจะอยู่ด้านบนเสมอ
10.
อธิบายขั้นตอนการซักรีดเสื้อผ้า
วิธีการซักเสื้อผ้า มีขั้นตอน ดังนี้
1.นำสิ่งของออกจากกระเป๋าให้หมด
2.ถ้าพบว่าเสื้อผ้าชำรุด ควรซ่อมให้เรียบร้อยก่อนซัก
3.แยกผ้าสีและผ้าขาวออกเป็นพวกๆ
4.ซักด้วยน้ำเปล่าก่อน 1 ครั้ง
5.ใส่ผงซักฟอกลงในอ่างหรือกะละมังประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วจึงใส่น้ำประมาณ 1 ขันใหญ่ต่อเสื้อ 1
ตัว คนให้ผงซักฟอกละลายและกระจายไปทั่ว
แล้วนำเสื้อลงแช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที ขณะเดียวกัน
ควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับตากผ้าไว้ให้เรียบร้อยจะทำงานให้เสร็จเร็วขึ้น
6.ขยี้หรือใช้แปรงๆที่คอเสื้อ แขนเสื้อ กระเป๋าและซักทั้งตัวให้สะอาด
บีบน้ำออก แต่ไม่ควรบิดเพราะ
จะทำให้ผ้าขาดเร็วขึ้น
7.ซักในน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง
ให้หมดคราบผงซักฟอก
8.นำขึ้นตากโดยกลับตะเข็บเสียก่อน แล้วใส่ไม้แขวนเสื้อ
ถ้าเป็นเสื้อสี ให้แขวนไว้ในที่ร่มและลมพัด
ผ่านได้ดี
9. ถ้าซักด้วยเครื่องครั้งหนึ่ง จะใช้น้ำประมาณ
150-250 ลิตร
10.น้ำสุดท้ายของการซักสามารถนำไปเช็ดถูบ้าน หรือรดน้ำต้นไม้ใหญ่ได้
วิธีการรีดเสื้อผ้า
1. ปรับอุณหภูมิให้เหมาะกับผ้าที่จะรีด โดยเริ่มรีดจากผ้าบางที่ต้องการความร้อนน้อยก่อน
2. หลังจากเปิดสวิชต์เตารีดใหม่ๆ อุณหภูมิยังไม่ร้อนมาก
สามารถนำมารีดผ้าบางๆ เช่นผ้าเช็ดหน้า
ก่อนได้
3. การรีดผ้าควรรีดจากด้านใน ทำให้เนื้อผ้าคงทน
สีไม่ซีดเร็ว
4. ถ้าเป็นผ้าขนสัตว์ ผ้าสักหลาด ควรใช้ผ้าขาว
เช่นผ้ามัสลินหรือผ้าสาลูปิดทับ
5. เรียงลำดับการรีด
การรีดเสื้อ ให้เริ่มจาก ปก-ตะเข็บ-ตัวเสื้อด้านหน้า-ด้านหลัง
และ แขนเสื้อ
การรีดกางเกง ควรรีดขอบเอว-กระเป๋า-ขากางเกงและตัวกางเกงด้านหน้า-ด้านหลัง
การรีดกระโปรง เริ่มจากซับใน-ขอบ-ตะเข็บ-ตัวกระโปรงด้านหน้า-ด้านหลัง
ที่มา chaiprakarn.ac.th/student
งานประดิษฐ์
งานประดิษฐ์ (Handicraft) หมายถึง การนำเอาวัสดุต่างๆ มาสร้างสรรค์ตามจินตนาการ โดยอาศัยการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือศึกษาจากตำรา นำมาดัดแปลง ให้เป็นรูปร่าง รูปทรงต่างๆ อย่างปราณีตสวยงามและเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อใช้สอยได้เป็นของประดับตกแต่งและมอบเป็นของขวัญที่ระลึกในโอกาสต่างๆ
ประโยชน์ของงานประดิษฐ์
1.ทำให้เกิดความรู้และทักษะในงานประดิษฐ์ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์
และเป็นช่องทางในการประกอบอาชีพได้
2.ส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์
เช่น
สามารถออกแบบและสร้างผลงานให้มีแบบแปลกใหม่การดัดแปลงวัสดุชนิดเดียวกันให้เป็นผลงานหลายชิ้น
การตกแต่งชิ้นงานให้มีความปราณีตสวยงามมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
3.ปลูกฝังให้ทำงานอย่างเป็นกระบวนการ
ฝึกให้รู้จักการวางแผนการทำงาน มีขั้นตอนการทำงานอย่างมีระบบ
และสามารถแก้ปัญหาในการทำงานได้
4.เสริมสร้างให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านต่างๆ
สร้างวินัยในการทำงาน ทำให้มีนิสัยรักการทำงาน ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
รู้คุณค่าของงาน มีความละเอียดรอบคอบ ช่างสังเกตและมีสมาธิในการทำงาน
5.ช่วยสืบทอดศิลปวัฒธรรมไทย
ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญในท้องถิ่น
โดยการเรียนรู้งานประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไทย
และเผยแพร่ความร็แก่ผู้อื่นต่อไป
ประเภทของงานประดิษฐ์ แบ่งออกเป็น 3
ประเภท
1. งานประดิษฐ์ประเภทของเล่น
ของเล่นงานประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้เกิดความสนุกเพลิดเพลินและพัฒนาทักษะด้านต่างๆ
ของเด็ก ของเล่นบางประเภทช่วยส่งเสริมความรู้ให้แก่เด็ก
ของเล่นในสมัยโบราณจะประดิษฐ์จากที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
และมีวิธีการประดิษฐ์ที่ไม่ซับซ้อน เช่น
ปั้นดินเป็นรูปสัตว์ สิ่งของ สานใบตาลหรือใบลานเป็นตะเพียน
ประดิษฐ์ม้าก้านกล้วย และตุ๊กตาไม้ไผ่ เป็นต้น
ส่วนของเล่นที่พบในปัจจุบันมักจะประดิษฐ์มาจาก
กระดาษ ผ้า พลาสติก หรือโลหะ เช่น ตุ๊กตาผ้า ภาพจิกซอว์ เลโก เป็นต้น
ขอบคุณภาพจาก Google
2.งานประดิษฐ์ประเภทของใช้
สิ่งของประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันมีหลายรูปแบบ
และมีวิธีประดิษฐ์ที่หลากหลาย เช่น การปั้น การจักสาน การทอ การถัก ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไทย
ที่สืบทอดความรู้จากบรรพบุรุษมาสู่ลูกหลาน
หรือเป็นการประยุกต์ดัดแปลงให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและวิถีชีวิตปัจจุบัน
ได้แก่
1 ประดิษฐ์เพื่อใช้ชีวิตประจำวัน
เช่น กระชอนจากไม้ไผ่ กระบวยตักน้ำจากกะลามะพร้าว กระบุง กระจาดจากตอกไม้ไผ่
ตะกร้าสานจากผักตบชวา กระเป๋าจากย่านลิเภา
เสื่อกระจูด กระทงใส่อาหารจากใบตอง ผักผลไม้แกะสลักเป็นภาชนะใส่อาหาร เป็นต้น
2. ประดิษฐ์เพื่อในเทศกาลต่างๆ เช่น ประดิษฐ์กระทงด้วยใบตองเพื่อใช้ในวันลอยกระทง
ตกแต่งเทียนพรรษาด้วยดอกไม้เพื่อใช้ในงานวันเข้าพรรษา เป็นต้น
3. ประดิษฐ์เพื่อใช้ในงานพิธีต่างๆ
เช่น จัดพานพุ่มในงานพิธีไหว้ครู ร้อยพวงมาลัยบูชาพระ จัดพานดอกไม้รับน้ำสังข์ในงานพิธีมงคลสมรส
ประดิษฐ์ในตองทำบายศรีในพิธีอุปสมบท
ประดิษฐ์ ประดิษฐ์ดอกไม้เพื่อจัดไว้บนโต๊ะหมู่บูชา เป็นต้น
4. งานประเภทของตกแต่ง
เป็นงานประดิษฐ์ที่เน้นความสวยงาม นำไปใช้เพื่อประดับตกแต่งบ้าน อาคาร
สิ่งของหรือเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เช่น กรอบรูปประดับฝาผนังบ้าน
เครื่องแขวน ไม้แกะสลัก ดอกไม้ประดิษฐ์ ภาพตกแต่งผนัง เรือนไทยจำลอง
เรือจำลอง
เข็มกลัดติดเสื้อจากปีกแมลงทับ เครื่องประดับจากลูกปัด เป็นต้น
ขอบคุณภาพจาก Google
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานประดิษฐ์
1 กาวลาเทกซ์
วิธีใช้ ใช้ติดกระดาษ ไม้
และผ้า
เมื่อใช้งานทาทิ้งไว้สักครู่ก้าวจะแห้งวัสดุจะติด
2 กาวชิลิโคนชนิดแท่ง วิธีใช้ติดประเภทไม้ พลาสติก
แก้ว หิน เปลือกหอย
3 กระดาษทราย
วิธีใช้ ใช้ขัดไม้ ให้เรียบ ขัดสนิม
ถ้าเบอร์สูงจะเอียดมาก
แต่ถ้าเบอร์ต่ำจะละเอียดน้อย
4 สี
หลากหลายหลายประเภท เช่นสีโปสเตอร์
สีอะคริลิก สีน้ำมัน สีย้อมผ้า
สีอะคริลิกเขียนบนพลาสติกไม่ได้
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการสร้างงานประดิษฐ์
ไม้บรรทัด ยางลบ
ดินสอ กรรไกร คัตเตอร์ มีด
เลื่อยฉลุ ค้อนตะปู คีม สว่าน
เข็ม ด้าย พู่กัน
ฯลฯ
กระบวนการทำงานกลุ่ม
การทำงานกลุ่มเป็นวิธีการทำงานร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่มตามขั้นตอน
เพื่อให้งานเสร็จเร็ว ประหยัดเวลา ประหยัดพลังงาน ประหยัดแรงงาน
และเพื่อให้ได้คุณภาพงาน
โดยมีขั้นตอนด้งนี้
1. การเลือกหัวหน้ากลุ่ม
2.
กำหนดเป้าหมาย
3. การวางแผนการทำงาน
4.
แบ่งงานกันตามความสามารถ
5.
ลงมือปฎิบัติ
6. ประเมินผลงานและปรับปรุงการทำงาน
……………………………………………………………………………
…………………………………
1 นำแป้งข้าวเหนียวและแป้งมันนวดกับกระทิ นวดจนเข้าเนื้อเป็นเหนียวนิ่ม
1 แห้วต้มสุก หั่นเตา
เสร็จเรียบร้อย ตกแต่งได้เลย วาดเขียน ให้สวยงาม
อ่านเพิ่มเติม
การถนอมอาหารโดยตากแห้ง
ก่อนตากแห้งจะต้องล้างให้สะอาด ถ้าเป็นพวกผักมักลวกด้วยน้ำเดือดเสียก่อน ทำให้หยุดยั้งปฏิกิริยาเคมี บางรายนิยมนำเอาผลไม้
ไปรมควันกำมะถันอ่อน ๆ ก่อนที่จะตากแห้ง ซึ่งจะช่วยให้มีสีและรสดีขึ้น ทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดรสเปรี้ยวและช่วยกันไม่ให้แมลงกัด
กินอีกด้วย อาหารที่นิยมถนอมโดยการตากแห้ง มักเป็นประเภทผัก ผลไม้ และเนื้อ เช่น ดีปลี พริก (พริกไทย) เห็ดบางชนิด (เช่น เห็ด
แครงที่ขึ้นตามต้นไม้มะขามที่ล้มตาย เป็นต้น) หมากแห้ง (ฝานก่อนตาม) กล้วยตาก (กล้วยสุกปอกเปลือกแล้วตากแห้ง) ลูกหยี
(ปอกเปลือกแล้วตากแห้ง) ส้มแขก (ผลไม้ชนิดหนึ่ง ผลกลม หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วตากแห้ง ใช้ในการปรุงอาหาร) เนื้อเค็ม ปลาเค็ม เ
เป็นต้น
การตากแห้งอาหารประเภทเนื้อ มักใช้เกลือช่วยเพื่อกันการบูดเน่า และช่วยให้มีรสชาติดีขึ้น เช่น หอยตาก (หอยน้ำจืดชนิดหนึ่งคล้าย
หอยแครงแต่ขนาดเล็กว่า ชอบอยู่ในทะเลสาบ อาจลวกให้สุกด้วยน้ำเกลือที่ร้อนจัด หรือคลุกเกลือแล้วตากแดด โดยมากนิยมใช้วิธี
หลังจึงเรียกหอยชนิดนี้ตามกรรมวิธีที่นิยมนั้นว่าหอยตาก) ปลาริ้ว (ปลาช่อนตัวโต ๆ ที่นำมาผ่าเป็นริ้ว ๆ แล้วตากแห้ง) ปลาแห้ง
(ปลาเกลือ) เนื้อแห้ง (เนื้อเค็ม) เคย (กะปิ) บางชนิดต้มให้สุกเสียก่อนแล้วนำมาตากแห้ง เช่น สารกุ้ง (กุ้งแห้ง) ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าว
เกรียบปลา เป็นต้น
2. การถนอมอาหารโดยการดอง
การถนอมอาหารโดยการดอง โดยใช้จุลินทรีย์บางชนิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยจุลินทร์ทรีย์นั้นจะสร้างสารบางอย่างขึ้นมาใน
อาหาร ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวอื่นๆได้ ดังนั้นผลของการหมักดองจะทำให้อาหารปลอดภัยจากจุลินทร์ทรีย์
ชนิดอื่นๆ และยังทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ๆที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม เป็นการเพิ่มกลิ่น และรสชาติของอาหารให้แปลกออกไ
การถนอมอาหารโดยการดองมีหลายวิธีดังนี้
2.2 การดอง 3 รส คือ รสเปรี้ยว เค็ม หวาน ผักที่นิยมดองแบบนี้คือ ขิงดอง กระเทียมสด ผักกาดเขียน การดองชนิดนี้คือ นำเอาผัก
มาเคล้ากับเกลือแล้วผสมน้ำส้ม น้ำตาล เกลือ ต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมาเทราดลงบนผักปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน ก็นำ
มารับประทานได้
2.3 การดองหวาน ผักและผลไม้ที่นิยมนำมาดอง เช่น มะละกอ หัวผักกาด กะหล่ำปลี เป็นต้น โดยต้มน้ำตาล น้ำส้มสายชู เกลือ ให้
ออกรสหวานนำให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น เทราดลงบนผักผลไม้ ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก็นำมารับประทานได้
2.4 การดองเค็ม อาหารที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นพวกเนื้อสัตว์และผัก เช่น ปูเค็ม ปลาเค็ม กะปิ หัวผักกาดเค็ม ไข่เค็ม เป็นต้น ต้ม
น้ำส้มสายชูและเกลือให้ออกรสเค็มจัดเล็กน้อยให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น กรองใส่ภาชนะที่จะบรรจุอาหารดอง แล้วหมักทิ้งไว้ 4-9 เดือน
จึงนำมารับประทาน
2.5 การหมักดองที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ คือการหมักอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โดยใช้ยีสต์เป็นตัวช่วยให้เกิดแอลกอฮอล์ เช่น ข้าว
หมาก ไวน์ เป็นต้น
3. การถนอมอาหารโดยการเชื่อม
การเชื่อมและการกวนเป็นวิธีถนอมอาหาร โดยอาศัยสารน้ำตาลป้องกันไม่ให้อาหารนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงบูดเน่าเสียหาย
การถนอมอาหารโดยการเชื่อม 3 วิธี ดังนี้
3.1 การเชื่อมแบบธรรมดา อาจเคี่ยวจนน้ำเชื่อมข้นเหนียว น้ำเชื่อมแทรกซึมเข้าในเนื้อของสิ่งที่เชื่อมแล้วใช้น้ำเชื่อมที่เหลือแช่หล่อ
ไว้อีกชั้นหนึ่ง เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ลูกตาลเชื่อม ขนุนเชื่อม เป็นต้น หรืออาจเคี่ยวต่อไปจนน้ำเชื่อมแก่จัด เมื่อเย็นลงจะแห้ง
และแข็งตัว
การเชื่อมแบบธรรมดา
3.2 การถนอมอาหารด้วยการแช่อิ่ม เป็นการถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลปริมาณมาก คือ นำอาหารมาแช่ในน้ำเชื่อม และเปลี่ยน
เพิ่มความเข้มข้นจนถึงจุดอิ่มตัวแล้วนำมาทำแห้ง มักใช้กับผลไม้ที่มีรสขม รสขื่น หรือรสเปรี้ยวจัด ทำให้สิ่งนั้นรสจืดลงเสียก่อนโดย
วิธีต่าง ๆ เช่น แช่น้ำเกลือ แช่น้ำปูน แช่สารส้ม เป็นต้น ผลไม้ที่นิยมนำมาแช่อิ่ม เช่น มะม่วง มะขาม มะกอก มะยม เป็นต้น
3.3 การฉาบ เป็นการนำเอาผักหรือผลไม้ที่ทำสุกแล้ว เช่น เผือกทอด มันทอด กล้วยทอด เป็นต้น วิธีฉาบคือเคี่ยวน้ำตาลให้เป็นน้ำ
เชื่อมแก่จัดจนเป็นเกล็ด แล้วเทลงผสมคลุกเคล้ากับของที่ทอดไว้ ทิ้งไว้ให้เย็นจนน้ำเชื่อมเกาะเป็นเกล็ดติดอยู่บนผิวอาหารที่ฉาบ
การฉาบ
4. การถนอมอาหารด้วยวิธีการกวน คือ การที่นำเนื้อผลไม้ที่สุกแล้วผสมกับน้ำตาล โดยใช้ความร้อน เพื่อกวนผสมให้กลมกลืนกัน
โดยมีรสหวาน และให้เข้มข้นขึ้น
การใส่น้ำตาลในการกวนมี 2 วิธี คือ ใส่น้ำตาลแต่น้อยใช้กวนผลไม้ เพื่อทำแยม เยลลี่ เป็นต้น และการกวนโดยใช้ปริมาณน้ำตาล
มาก เช่น การกวนผลไม้แบบแห้ง เช่น กล้วยกวน สับปะรดกวน ทุเรียนกวน เป็นต้น
5. การทำแยม
การทำแยม เป็นการต้มเนื้อผลไม้ปนกับน้ำตาลด้วยไฟอ่อนในระยะแรก แล้วค่อย ๆ เพิ่มไฟขึ้นทีละน้อย หมั่นคนสม่ำเสมอ จนกระทั่ง
แยมเหนียวตามต้องการ กล่าวคือ เมื่อใช้ช้อนตักขึ้นแล้ว
6. การรมควัน
การรมควันเป็นการถนอมอาหารที่ต่างไปจากการ ตากแห้งธรรมดา นอกจากจะทำให้อาหารแห้งแล้ว ยังช่วยรักษาให้อาหารเก็บได้
นาน มีกลิ่นหอมและรสชาติแปลกซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก การรมควันที่สามารถทำได้ในครอบครัวจะเป็นแบบธรรมชาติิโดยการสุมไฟ
ด้วยไม้กาบมะพร้าว ขี้เลื่อย ซางข้าวโพด ให้แขวนอาหารไว้เหนือกองไฟใช้ไฟอ่อนๆเพื่อให้รมควันอาหารไปพร้อมกับไอร้อนจะช่วย
ทำให้อาหารแห้งเร็ว เช่น รมควันปลา เป็นต้น.
…………………………………
บัวลอยและทับทิบกรอบ
ขนมบัวลอย ที่ทำในวันนี้ นักเรียนพึ่งได้ทำครั้งแรกในชีวิต ทุกคนตื่นเต้น
พอครูสั่งให้หา วัตถุดิบก็รีบจัดแจงหามาทันที ก่อนจะทำครูสอนแล้ว
ให้ดูคลิปวิธีทำแล้วจนกระทั่งนักเรียนเกิดความสนใจและ
อยากที่จะเรียนรู้และพิสูจน์ความสามารถของตนเอง
การกิจกรรมประกอบขนมครั้งนี้แบ่งเป็นกลุ่ม
เพื่อให้นักเรียนเกิดความสามัคคีในการทำงาน วางแผนการทำงาน จัดหน้าที่ทำงาน
และรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง การเรียนรู้การทำงานร่วมกัน
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และความกล้าตัดสินใจ
นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มากมาย
เพื่อให้คุณค่าในตนเองและสร้างคุณค่าให้ตนเอง
มีนักเรียนบางคนบอกว่าจะเอาไปเล่าให้ผู้ปกครองฟังที่ได้ทำขนมในครั้งนี้
และจะทำให้ท่านรับประทาน ครูได้ยินเช่นนี้ ก็ยิ้มอิ่มใจคะ เอาล่ะมาดูว่า
นักเรียนระดับชั้นนี้ทำขนมในเวลาที่จำกัดแบบง่ายๆ
ก่อนอื่นต้องไปดู ส่วนประกอบและวิธีทำคะ
อ่านเพิ่มเติม
ส่วนประกอบขนมบัวลอย
1 แป้งข้าวเหนียว
2 แป้งมัน
3 น้ำตาลมะพร้าว
4 กะทิ
5 เกลือ
6 สีผสมอาหาร ( ใช้สีธรรมชาติจะดีกว่าคะ)
7 นำเปล่า
8 ฟักทองหั่นเตา
9 เผือกหั่นเตา
วิธีทำ
1 นำแป้งข้าวเหนียวและแป้งมันนวดกับกระทิ นวดจนเข้าเนื้อเป็นเหนียวนิ่ม
2 แยกออกเป็น 3 ส่วน เติมสีผสมอาหาร หรือสีธรรมชาติลงไป นวดผสมให้เข้ากัน
3 ปั่นเป็นก้อนกลมเล็กๆ ในถาดที่เตรียมไว้
4 นำหม้อตั้งไฟ เติมน้ำเปล่า ให้เดือด นำบัวลอยที่ปั้นลงต้ม รอบัวลอย ลอยตักขึ้น พักใส่น้้ำเย็นไว้
5 นำฟักทองและเผือกต้มให้สุก ตักใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
6 นำหม้อตั้งไฟอ่อนๆ อีกครั้ง เทน้ำกระทิ ใส่น้ำตาลมะพร้าว ใส่เกลือเล็กน้อย คนให้ละลาย
อย่าให้แตกมัน ปิดไฟ
7 เตรียมภาชนะ ถ้วยใบเล็กตักบัวลอย ตักกระทิใส่
ส่วนประกอบขนมทับทิมกรอบ
1 แห้วต้มสุก หั่นเตา
2 แป้งมัน
3 น้ำตาลทราย
4 สีผสมอาหารสีแดง
5 เกลือ
6 น้ำเปล่า
วิธีทำ
1 หั่นแห้วเป็นลูกเตา นำไปแซ่สีผสมอาหาร 10 นาที
2 ร่อนแป้งให้แตกออกจากกัน นำแห้วขึ้นมาพัก แล้วนำไปคลุกเคล้ากับแป้งมัน ร่อนเอาแป้งออกบ้าง
3 นำหม้อตั้งไฟ ใส่น้ำให้เดือด ใส่แห้วลงไปต้ม จนใส และสุก ตักออกพักน้ำเย็น
4 นำหม้อตั้งไฟอ่อนๆ ใส่กระทิ ใส่เกลือเล็กน้อย คนให้พอน้ำตาลละลาย ปิดไฟ
5 เตรียมถ้วยขนม ตักทับทิมกรอบใส่ ตักน้ำกระทิหวานใส่ และราดด้วยหัวกระทิ
.............................................................................................................................................................
สมุดทำมือ เป็นผลงานประดิษฐ์ที่ใช้วัสดุง่ายๆ
ใกล้ตัว ซึ่งเป็นงานที่ใช้วัสดุเหลือใช้นำมาปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่
หรือทำขึ้นมาใหม่ให้เป็นชิ้นเป็นอัน ใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไป ก็จะได้ผลงานสมุดทำมือที่สวยงามตามความ
ต้องการ อันที่จริงยังมีวิธีการทำเย็บสมุดทำมือหลากหลายรูปแบบมาก ประโยชน์ของการทำสมุดทำมือ เพื่อเสริม
สร้างทักษะของชีวิต ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ ประหยัดใช้วัสดุที่เหลือใช้นำมาใช้ประโยชน์ได้อีก มีความภาคภูมิใจ
ในความสามารถของตนเอง ลดขยะบนโลกลง ฝึกการสังเกตมีความคิดสร้างสรรค์ ในบทความนี้ขอเสนอใช้การ
เย็บแบบง่าย มาให้ดูคะ เรามาดูกันเลยนะคะ ก่อนอื่นต้องมีอุปกรณ์เหล่านี้คะ
อ่านเพิ่มเติม
หรือทำขึ้นมาใหม่ให้เป็นชิ้นเป็นอัน ใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไป ก็จะได้ผลงานสมุดทำมือที่สวยงามตามความ
ต้องการ อันที่จริงยังมีวิธีการทำเย็บสมุดทำมือหลากหลายรูปแบบมาก ประโยชน์ของการทำสมุดทำมือ เพื่อเสริม
สร้างทักษะของชีวิต ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ ประหยัดใช้วัสดุที่เหลือใช้นำมาใช้ประโยชน์ได้อีก มีความภาคภูมิใจ
ในความสามารถของตนเอง ลดขยะบนโลกลง ฝึกการสังเกตมีความคิดสร้างสรรค์ ในบทความนี้ขอเสนอใช้การ
เย็บแบบง่าย มาให้ดูคะ เรามาดูกันเลยนะคะ ก่อนอื่นต้องมีอุปกรณ์เหล่านี้คะ
อ่านเพิ่มเติม
1 กระดาษเหลือใช้งาน หรือกระดาษหน้าเดียวขนาด A4
2 กรรไกร
3 เข็ม
4 ด้าย
5 คัตเตอร์
6 ตัวหนีบกระดาษ
7 ไม้บรรทัด
8 แผ่นรองตัด
9 ดินสอ
10 วัสดุตกแต่ง
เช่นสติ๊กเกอร์
วิธีทำ เมื่อเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว เราจะพับกระดาษครึ่งๆ
ถ้าเรามีกระดาษเศษไม่เท่ากันให้นำมาเทียบกัน
คะแล้ว จัดเรียงพอเย็บได้ก็พอ กระดาษที่ใช้ให้มีความหนาเล็กน้อย ไม่หนามากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เย็บยาก
ลำบาก
ลำบาก
กระดาษ A4
อุปกรณ์การเย็บ ตัด
พับกระดาษเป็นครึ่ง
ใช้หนีบกระดาษกันเคลื่อน
ร้อยด้ายเข้ม เริ่มเย็บ
อย่าให้ด้ายพันกัน
เย็บแบบเส้นประ
เย็บจนเกือบสุด เหลือไว้ 1 เซนติเมตร
เสร็จแล้ว เย็บย้อนกลับไปแทงเข็มลงรูปเดิม
ดึงด้ายให้ตึง
สิ้นสุดแล้วนำด้ายมาผูกกันคะ
ผูกกันให้แน่นๆ
ตัดแต่ง พอดีๆ ระวังการใช้คัตเตอร์นะคะ
...........................................................................................................................................................
อาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่เป็นภาระหน้าที่บุคคลหนึ่งต้องรับผิดชอบในการทำ ให้เกิดเป็นชิ้นเป็นอัน หรือเกี่ยวเนื่องกับผู้อื่นเพื่อเป็นการขับเคลื่อนองค์กรนั้นๆ โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน
อ่านเพิ่มเติม
ความสำคัญและประโยชน์ของอาชีพ
1. สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว
2. ช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
3. ทำให้เกิดประสบการณ์เพิ่มขึ้น
4. ทำให้เกิดการยอมรับในสังคม
5. แสดงความสามรถและเอื้อประโยชน์ต่อผู้อื่น
แนวทางการเลือกอาชีพ
1. วิเคราะห์ตนเอง เช่น จุดเด่น จุดด้อย บุคคลิภาพ ความถนัดและความชอบ และความสามรถพิเศษ เป็นต้น
2. วิเคาระห์งาน เช่น รายได้ ความมั่นคง ความเสี่ยง เวลาทำงาน ประเภทของงาน เป็นต้น
การตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพ
1. ความสำคัญของการสร้างอาชีพ
- ด้านตนเอง เลือกสายที่เรียน เช่นสายอาชีพ สายสามัญ
- ด้านความรู้ ติดตามข่าวสาร ความต้องการทางการตลาด การรองรับสายงานอาชีพ ตลาดแรงงาน
- ทักษะและความสามารถเฉพาะตัว หรือความสามารถพิเศษ
- ด้านเงอนทุน ถ้าเป็นอาชีพอิสระจำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุน หรือ ทรัพย์สินในการทำธุรกิจ
2. คติธรรมในการประกอบอาชีพ
ความรู้สึกที่ดีของบุคคลที่มีต่ออาชีพ เห็นคุณค่าและความสำคัญของอาชีพเป็นผลจากการประสบการณ์การ
เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพ ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนด ให้บุคคลนั้นแสดงพฤติกรรม ตอบสนองต่ออาชีพใน
ทางที่ดี สร้างความภาคภูมิใจ ได้รับการยกย่องทางสังคมเป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ประกอบอาชีพควรมีคุณธรรมจริยธรรม
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังนี้
เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพ ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนด ให้บุคคลนั้นแสดงพฤติกรรม ตอบสนองต่ออาชีพใน
ทางที่ดี สร้างความภาคภูมิใจ ได้รับการยกย่องทางสังคมเป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ประกอบอาชีพควรมีคุณธรรมจริยธรรม
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังนี้
1. ความซื่อสัตย์
2. ความรับผิดชอบ
3. ความอดทน เพียรพยายาม
4. ความเชื่อมั่นในตนเอง
5. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
6. ความรอบรู้ทันสมัย
7. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
หลักธรรม อิทธิบาท 4 ที่เราสามารถนำมาใช้กับการทำงานในชีวิตประจำวัน
1. ฉันทะ ความพอใจในการทำงาน พอใจที่มีความสุขที่ได้ทำ
2. วิริยะ ความเพียรพยายามในการทำงานแม้งานจะยากเพียงใด
3. จิตตะ ความคิดที่ดีต่อการทำงาน ต่อหน้าที่ของตนเอง ทำด้วยความเต็มใจ
4. วิมังสา ความไตร่ตรองการทำงานเพื่อให้งานออกมาดี
คุณสมบัติจำเป็นในการประกอบอาชีพ
1. คุณวุฒิ คือ ระดับการศึกษาที่ได้รับ เช่นระดับ ประกาศณียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เป็นต้น
2. วัยวุฒิ คือ ช่วงอายุที่เหมาะสมแก่เวลาที่รับทำงาน หรือวัยทำงานตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป
3. เพศ คือ เพศชาย เพศหญิง การบงบอกถึงรูปลักษณะของบุคคล
4. บุคคลิกภาพ คือ ลักษณะนิสัย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะบุคคล
4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
4.2 มีความเป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ มีไหวพริบ
4.3 มีความรับผิดชอบ
4.4 มีความขยัน
4.5 มีความซื่อสัตย์
4.6 มีสุขภาพจิตดี
5. มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์
6. มีประสบการณ์ทักษะการทำงาน
ความมั่นคง
1. ความเชื่อถือของสถานประกอบ
2. ลักษณะของการจ้างงาน
3. ขนาดของสถานประกอบการ
.......................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................
การแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร
วิธีการถนอมอาหารมีมาตั้งแต่สมัยโบราณที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย
การถนอมอาหารช่วยให้สามารถเก็บอาหารไว้บริโภคได้เป็นเวลา
นาน โดยที่อาหารนั้นไม่สูญเสียคุณภาพ ซึ่งวิธีการถนอมอาหารมีหลายวิธีสามารถทำได้เองและง่ายมาก ซึ่งเรามาดูวิธีถนอมอาหาร
กันดีกว่าคะ
นาน โดยที่อาหารนั้นไม่สูญเสียคุณภาพ ซึ่งวิธีการถนอมอาหารมีหลายวิธีสามารถทำได้เองและง่ายมาก ซึ่งเรามาดูวิธีถนอมอาหาร
กันดีกว่าคะ
วิธีถนอมอาหารมีดังนี้
1. การถนอมอาหารโดยตากแห้ง
การถนอมอาหารโดยตากแห้งเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมากที่สุด
ใช้ได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ เป็นวิธีที่ทำให้อาหาร
หมดความชื้นหรือมีความชื้นอยู่เพียงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์สามารถเกาะอาศัยและเจริญเติบโตได้ ทำให้อาหารไม่เกิดการบูด
เน่า โดยการนำน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุด เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก เป็นต้น
หมดความชื้นหรือมีความชื้นอยู่เพียงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์สามารถเกาะอาศัยและเจริญเติบโตได้ ทำให้อาหารไม่เกิดการบูด
เน่า โดยการนำน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุด เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก เป็นต้น
การถนอมอาหารโดยตากแห้ง
ก่อนตากแห้งจะต้องล้างให้สะอาด ถ้าเป็นพวกผักมักลวกด้วยน้ำเดือดเสียก่อน ทำให้หยุดยั้งปฏิกิริยาเคมี บางรายนิยมนำเอาผลไม้
ไปรมควันกำมะถันอ่อน ๆ ก่อนที่จะตากแห้ง ซึ่งจะช่วยให้มีสีและรสดีขึ้น ทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดรสเปรี้ยวและช่วยกันไม่ให้แมลงกัด
กินอีกด้วย อาหารที่นิยมถนอมโดยการตากแห้ง มักเป็นประเภทผัก ผลไม้ และเนื้อ เช่น ดีปลี พริก (พริกไทย) เห็ดบางชนิด (เช่น เห็ด
แครงที่ขึ้นตามต้นไม้มะขามที่ล้มตาย เป็นต้น) หมากแห้ง (ฝานก่อนตาม) กล้วยตาก (กล้วยสุกปอกเปลือกแล้วตากแห้ง) ลูกหยี
(ปอกเปลือกแล้วตากแห้ง) ส้มแขก (ผลไม้ชนิดหนึ่ง ผลกลม หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วตากแห้ง ใช้ในการปรุงอาหาร) เนื้อเค็ม ปลาเค็ม เ
เป็นต้น
การตากแห้งอาหารประเภทเนื้อ มักใช้เกลือช่วยเพื่อกันการบูดเน่า และช่วยให้มีรสชาติดีขึ้น เช่น หอยตาก (หอยน้ำจืดชนิดหนึ่งคล้าย
หอยแครงแต่ขนาดเล็กว่า ชอบอยู่ในทะเลสาบ อาจลวกให้สุกด้วยน้ำเกลือที่ร้อนจัด หรือคลุกเกลือแล้วตากแดด โดยมากนิยมใช้วิธี
หลังจึงเรียกหอยชนิดนี้ตามกรรมวิธีที่นิยมนั้นว่าหอยตาก) ปลาริ้ว (ปลาช่อนตัวโต ๆ ที่นำมาผ่าเป็นริ้ว ๆ แล้วตากแห้ง) ปลาแห้ง
(ปลาเกลือ) เนื้อแห้ง (เนื้อเค็ม) เคย (กะปิ) บางชนิดต้มให้สุกเสียก่อนแล้วนำมาตากแห้ง เช่น สารกุ้ง (กุ้งแห้ง) ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าว
เกรียบปลา เป็นต้น
2. การถนอมอาหารโดยการดอง
การถนอมอาหารโดยการดอง โดยใช้จุลินทรีย์บางชนิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยจุลินทร์ทรีย์นั้นจะสร้างสารบางอย่างขึ้นมาใน
อาหาร ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวอื่นๆได้ ดังนั้นผลของการหมักดองจะทำให้อาหารปลอดภัยจากจุลินทร์ทรีย์
ชนิดอื่นๆ และยังทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ๆที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม เป็นการเพิ่มกลิ่น และรสชาติของอาหารให้แปลกออกไ
การถนอมอาหารโดยการดองมีหลายวิธีดังนี้
2.1 การดองเปรี้ยว ผักที่นิยมนำมาดอง เช่น ผักกาดเขียว
กะหล่ำปลี ผักเสี้ยน ถั่วงอก เป็นต้น วิธีทำคือนำเอาผักมาเคล้ากับเกลือ
โดยผสมน้ำเกลือกบน้ำส้มต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทราดลงบนผักที่เรียงไว้ในภาชนะ เทให้ท่วมผักปิดฝาภาชนะไม่ให้ลมเข้า
หมักทิ้งไว้ 4-7 วัน ก็นำมารับประทานได้
โดยผสมน้ำเกลือกบน้ำส้มต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทราดลงบนผักที่เรียงไว้ในภาชนะ เทให้ท่วมผักปิดฝาภาชนะไม่ให้ลมเข้า
หมักทิ้งไว้ 4-7 วัน ก็นำมารับประทานได้
2.2 การดอง 3 รส คือ รสเปรี้ยว เค็ม หวาน ผักที่นิยมดองแบบนี้คือ ขิงดอง กระเทียมสด ผักกาดเขียน การดองชนิดนี้คือ นำเอาผัก
มาเคล้ากับเกลือแล้วผสมน้ำส้ม น้ำตาล เกลือ ต้มให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำมาเทราดลงบนผักปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน ก็นำ
มารับประทานได้
2.3 การดองหวาน ผักและผลไม้ที่นิยมนำมาดอง เช่น มะละกอ หัวผักกาด กะหล่ำปลี เป็นต้น โดยต้มน้ำตาล น้ำส้มสายชู เกลือ ให้
ออกรสหวานนำให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น เทราดลงบนผักผลไม้ ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก็นำมารับประทานได้
2.4 การดองเค็ม อาหารที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นพวกเนื้อสัตว์และผัก เช่น ปูเค็ม ปลาเค็ม กะปิ หัวผักกาดเค็ม ไข่เค็ม เป็นต้น ต้ม
น้ำส้มสายชูและเกลือให้ออกรสเค็มจัดเล็กน้อยให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น กรองใส่ภาชนะที่จะบรรจุอาหารดอง แล้วหมักทิ้งไว้ 4-9 เดือน
จึงนำมารับประทาน
2.5 การหมักดองที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ คือการหมักอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โดยใช้ยีสต์เป็นตัวช่วยให้เกิดแอลกอฮอล์ เช่น ข้าว
หมาก ไวน์ เป็นต้น
3. การถนอมอาหารโดยการเชื่อม
การเชื่อมและการกวนเป็นวิธีถนอมอาหาร โดยอาศัยสารน้ำตาลป้องกันไม่ให้อาหารนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงบูดเน่าเสียหาย
การถนอมอาหารโดยการเชื่อม 3 วิธี ดังนี้
3.1 การเชื่อมแบบธรรมดา อาจเคี่ยวจนน้ำเชื่อมข้นเหนียว น้ำเชื่อมแทรกซึมเข้าในเนื้อของสิ่งที่เชื่อมแล้วใช้น้ำเชื่อมที่เหลือแช่หล่อ
ไว้อีกชั้นหนึ่ง เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ลูกตาลเชื่อม ขนุนเชื่อม เป็นต้น หรืออาจเคี่ยวต่อไปจนน้ำเชื่อมแก่จัด เมื่อเย็นลงจะแห้ง
และแข็งตัว
การเชื่อมแบบธรรมดา
3.2 การถนอมอาหารด้วยการแช่อิ่ม เป็นการถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลปริมาณมาก คือ นำอาหารมาแช่ในน้ำเชื่อม และเปลี่ยน
เพิ่มความเข้มข้นจนถึงจุดอิ่มตัวแล้วนำมาทำแห้ง มักใช้กับผลไม้ที่มีรสขม รสขื่น หรือรสเปรี้ยวจัด ทำให้สิ่งนั้นรสจืดลงเสียก่อนโดย
วิธีต่าง ๆ เช่น แช่น้ำเกลือ แช่น้ำปูน แช่สารส้ม เป็นต้น ผลไม้ที่นิยมนำมาแช่อิ่ม เช่น มะม่วง มะขาม มะกอก มะยม เป็นต้น
3.3 การฉาบ เป็นการนำเอาผักหรือผลไม้ที่ทำสุกแล้ว เช่น เผือกทอด มันทอด กล้วยทอด เป็นต้น วิธีฉาบคือเคี่ยวน้ำตาลให้เป็นน้ำ
เชื่อมแก่จัดจนเป็นเกล็ด แล้วเทลงผสมคลุกเคล้ากับของที่ทอดไว้ ทิ้งไว้ให้เย็นจนน้ำเชื่อมเกาะเป็นเกล็ดติดอยู่บนผิวอาหารที่ฉาบ
การฉาบ
4. การถนอมอาหารด้วยวิธีการกวน คือ การที่นำเนื้อผลไม้ที่สุกแล้วผสมกับน้ำตาล โดยใช้ความร้อน เพื่อกวนผสมให้กลมกลืนกัน
โดยมีรสหวาน และให้เข้มข้นขึ้น
การใส่น้ำตาลในการกวนมี 2 วิธี คือ ใส่น้ำตาลแต่น้อยใช้กวนผลไม้ เพื่อทำแยม เยลลี่ เป็นต้น และการกวนโดยใช้ปริมาณน้ำตาล
มาก เช่น การกวนผลไม้แบบแห้ง เช่น กล้วยกวน สับปะรดกวน ทุเรียนกวน เป็นต้น
5. การทำแยม
การทำแยม เป็นการต้มเนื้อผลไม้ปนกับน้ำตาลด้วยไฟอ่อนในระยะแรก แล้วค่อย ๆ เพิ่มไฟขึ้นทีละน้อย หมั่นคนสม่ำเสมอ จนกระทั่ง
แยมเหนียวตามต้องการ กล่าวคือ เมื่อใช้ช้อนตักขึ้นแล้ว
6. การรมควัน
การรมควันเป็นการถนอมอาหารที่ต่างไปจากการ ตากแห้งธรรมดา นอกจากจะทำให้อาหารแห้งแล้ว ยังช่วยรักษาให้อาหารเก็บได้
นาน มีกลิ่นหอมและรสชาติแปลกซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก การรมควันที่สามารถทำได้ในครอบครัวจะเป็นแบบธรรมชาติิโดยการสุมไฟ
ด้วยไม้กาบมะพร้าว ขี้เลื่อย ซางข้าวโพด ให้แขวนอาหารไว้เหนือกองไฟใช้ไฟอ่อนๆเพื่อให้รมควันอาหารไปพร้อมกับไอร้อนจะช่วย
ทำให้อาหารแห้งเร็ว เช่น รมควันปลา เป็นต้น.
...........................................................................................................................................................................................
อยู่หน้านี้นานมากครับ ....ไม่ใช่อ่านนะปั้นงานถถถถ+
ตอบลบ