รูปแบบขององค์กรธุรกิจ
1.
กิจการเจ้าของคนเดียว คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว
ควบคุมการดำเนินเองทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไร ก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว
ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการประเภทนี้มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก
ได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นธุรกิจที่เก่าแก่ที่สุด การดำเนินงานไม่สลับซับซ้อน มีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจดำเนินงาน
กิจการมีขนาดเล็กกว่า ธุรกิจ ประเภทอื่น ตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น หาบเร่แผงลอย
ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า การทำไร่ การทำนา เป็นต้น
ลักษณะของกิจการเจ้าของคนเดียว
1.
มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย
2.
เจ้าของกิจการมีความรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของได้
ถ้าทรัพย์สินของกิจการ ไม่เพียงพอ ชำระหนี้
3.
เจ้าของกิจการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งผลกำไรและผลขาดทุนเพียงคนเดียว
4.
การควบคุมการดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการคนเดียว
ข้อดีและข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว
ข้อดี
1.
จัดตั้งง่ายใช้เงินทุนน้อย
2.
มีอิสระในการตัดสินใจดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ทำให้เกิดความรวดเร็วคล่องตัวในการดำเนินงาน
3.
ผู้ประกอบการได้รับผลกำไรทั้งหมดเพียงคนเดียว
4.
รักษาความลับของกิจการได้ดี เพราะผู้รู้มีเพียงคนเดียว
5.
มีข้อบังคับทางกฎหมายน้อย
6.
การเลิกกิจการทำได้ง่าย
ข้อเสีย
1.
การขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะเงินทุนมีจำกัด และถ้าต้องการกู้ยืมเงินจากภายนอกจะทำได้ยากเพราะขาดหลักประกัน
2.
การตัดสินใจโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียวอาจมีข้อผิดพลาดได้ง่าย
3.
ถ้ามีผลขาดทุน ผู้ประกอบการรับผลขาดทุน และรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวนเพียงคนเดียว
4.
ระยะเวลาดำเนินงานมักไม่ยืนยาว ขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการ ถ้าเจ้าของกิจการป่วยหรือเสียชีวิตอาจหยุดชะงักหรือเลิกกิจการ
5.
ความสามารถในการคิดและบริหารงานมีจำกัด เพราะเกิดจากเจ้าของเพียงคนเดียว
2.ห้างหุ้นส่วน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1012 บัญญัติว่า "ห้างหุ้นส่วน คือ สัญญา ซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากัน
เพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น"
จากบทบัญญัติดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า กิจการห้างหุ้นส่วน คือ กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่
2 คน ขึ้นไป ร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งผลกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน
ซึ่งธุรกิจประเภทนี้สืบต่อมาจากธุรกิจเจ้าของคนเดียว เมื่อกิจการดำเนินงานก้าวหน้าขึ้น
ต้องการเงินทุนและการจัดการเพิ่มขึ้น จึงต้องหาบุคคลที่ไว้วางใจได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนร่วมดำเนินงาน
ทำให้กิจการ มีขนาดใหญ่ขึ้น การบริหารงานมีประสิทธิภาพมีสูงกว่าเดิม
ลักษณะของกิจการห้างหุ้นส่วน
1.
มีผู้ร่วมเป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงทำสัญญาร่วมกันดำเนินงาน
ซึ่งอาจกระทำด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร
2.
มีการร่วมกันลงทุน โดยนำเงินสด ทรัพย์สินหรือแรงงานมาลงทุนตามข้อตกลง
3.
มีการกระทำกิจการอย่างเดียวกันร่วมกัน
4.
มีความประสงค์แบ่งผลกำไรกันตามข้อตกลง
ประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แบ่งห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
3.ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
คือ ห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
ดังนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงมีสิทธิ ดำเนินกิจการในนามห้างหุ้นส่วนได้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้
จึงแบ่งห้างหุ้นส่วนสามัญได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีสภาพเป็นนิติบุคคล
จะต้องใช้คำว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ประกอบหน้าชื่อห้างเสมอ ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้จะต้องระบุชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ชัดเจน
ซึ่งจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ และหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น ที่มีสิทธิเข้าจัดการงาน
ของห้างหุ้นส่วน และทำนิติกรรมต่าง ๆ ในนามห้างหุ้นส่วนได้
1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาของห้างหุ้นส่วน
กฎหมายให้ถือว่า ผู้เป็นหุ้นส่วน ทุกคน มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วนได้
4.ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
คือ ห้างหุ้นส่วนที่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้ต้องใช้คำว่า
"ห้างหุ้นส่วนจำกัด" ประกอบหน้าชื่อของ ห้างหุ้นส่วนเสมอ ห้างหุ้นส่วนจำกัดประกอบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน
2 ประเภท คือ
2.1 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ เป็นหุ้นส่วนประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนเพียงไม่เกิน
จำนวนเงินที่ตนรับ จะลงทุน ในห้างหุ้นส่วน หุ้นส่วนประเภทนี้ไม่มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วน
มีสิทธิเพียงออกความเห็น รับเป็นที่ปรึกษาและทุนที่นำมาลงทุนต้องเป็นเงิน หรือทรัพย์สินเท่านั้น
จะเป็นแรงงานไม่ได้
2.2 หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ เป็นหุ้นส่วนประเภทที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
กฎหมายระบุว่า ต้องมีหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน ในห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วน
และทุนที่นำมา ลงทุน เป็นเงิน ทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้
5.บริษัทจำกัด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1096 บัญญัติว่า "บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นเท่า
ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ"
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ การประกอบกิจการในรูปแบบ บริษัทจำกัดนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะการประกอบธุรกิจส่วนใหญ่มักต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก
การระดมเงินทุนกิจการในรูปแบบนี้จัดทำได้ง่ายและได้จำนวนมาก นอกจากเงินทุนที่ได้จะได้จากเจ้าของกิจการผู้เริ่มก่อตั้งแล้ว
ยังมีการระดมเงินทุนจากบุคคลทั่วไปด้วย รวมทั้งการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหาร
ที่มีความสามารถร่วมกันดำเนินกิจการ ส่งผลให้เป็นกิจการที่มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือมากประเภทหนึ่ง
ลักษณะของบริษัทจำกัด
ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บรรพ 3 มาตรา 1096 ได้บัญญัติว่า บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น
มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนส่งใช้ให้ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ
ความเป็นเจ้าของ
เนื่องจากลักษณะของบริษัทมีการแบ่งทุนออกเป็นหุ้น ผู้ซื้อหุ้นของบริษัทเรียกว่า
"ผู้ถือหุ้น" จะมีฐานะเป็นเจ้าของหุ้นไม่ใช่ เจ้าของ กิจการ แต่มีสิทธิได้รับประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทคือ
"เงินปันผล" ผู้เป็นเจ้าของกิจการก็คือนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจำกัดนั่นเอง
การก่อตั้ง
บริษัทจำกัดมีขั้นตอนในการก่อตั้งตามกฎหมาย ดังนี้
1.1 มีบุคคลอย่างน้อย 7 คน มารวมกันจัดตั้ง บุคคลกลุ่มนี้เรียกว่า
"คณะผู้ก่อการ"
1.2 ทำหนังสือบริคณห์สนธิ ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัทที่จัดตั้งขึ้น
ได้แก่ ชื่อบริษัท สถานที่ตั้งวัตถุประสงค์ ชื่อผู้ก่อการ อาชีพผู้ก่อการ ชนิดของหุ้นที่ออกจำหน่าย
จำนวนหุ้น มูลค่าหุ้นและนำหนังสือบริคณห์สนธิไปจดทะเบียนที่กรมการค้า กระทรวงพาณิชย์
1.3 คณะผู้ก่การจะต้องทำหนังสือชี้ชวน เพื่อให้มีผู้สนใจมาซื้อหุ้นของบริษัทและจะต้องดำเนินการ
ให้มีผู้มาจองหุ้นของบริษัท จนครบจำนวนหุ้นที่ขอ จดทะเบียน
1.4 เมื่อมีผู้จองหุ้นจนครบทุกหุ้นแล้ว บริษัทเรียกผู้จองหุ้นทุกคนประชุมจัดตั้งบริษัท
โดยในที่ประชุมจะต้องเลือกตั้งกรรมการบริหารบริษัทอย่างน้อย 1 คน และกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรรมการในการกระทำการแทนบริษัท และดำเนินการเรียกเก็บค่าหุ้นครั้งแรกอย่างน้อย
25% ของมูลค่าหุ้น
1.5 หลังจากเรียกเก็บค่าหุ้นครั้งแรกแล้ว จึงไปขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเพื่อให้มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
โดยนำสำเนาการประชุม หนังสือบริคณห์สนธิระเบียบข้อบังคับไปขอจดทะเบียน
1.6 ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทจำกัด
1.7 ต้องมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ภายในราชอาณาจักร
จำนวนเงินทุนที่ต้องใช้
ทุนของบริษัทจำกัดจะได้มาเนื่องจากการนำใบหุ้นออกจำหน่าย กฎหมายระบุว่ามูลค่าหุ้นจะต้องมีมูลค่าหุ้นละเท่า
ๆ กัน เงินทุนของบริษัท แบ่งได้ดังนี้
3.1 ทุนจดทะเบียน (Authorized Capital) คือ จำนวนทุนทั้งสิ้นที่ได้ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
3.2 ทุนชำระแล้ว (Paid - up Capital) คือ จำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นได้ชำระค่าหุ้นให้แก่บริษัทตามที่บริษัทได้เรียกร้องให้ชำระแล้วหุ้นของบริษัทจำกัด
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.
หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หุ้นที่มีผู้ลงจองหุ้นด้วยเงิน
เมื่อเริ่มตั้งแต่มีการให้จองหุ้น ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมทุกเรื่อง
มีสิทธิได้เงินปันผล และได้รับคืนทุนเมื่อบริษัทเลิกดำเนินกิจการ
2.
หุ้นบริมสิทธิ (Preferred Stock) คือ หุ้นที่มีสิทธิพิเศษเหนือหุ้นสามัญโดยมีสิทธิได้เงินปันผลและคืนทุนก่อนหุ้นสามัญ
แต่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
ความรับผิดชอบและการบริหารงาน
ในที่ประชุมจัดตั้งบริษัท ที่ประชุมใหญ่จะต้องออกเสียงเลือกตั้งคณะกรรมการของบริษัทซึ่งจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า
3 คน โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นผู้มีสิทธิแต่งตั้งและถอดถอนคณะกรรมการได้
โดยแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการ
หน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการตามกฎหมาย
มีดังนี้
1.
ดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท
2.
ควบคุมการชำระเงินค่าห้นของผู้จองหุ้น
3.
จัดทำบัญชีและจัดเก็บรักษาบัญชีและเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด
4.
จ่ายเงินปันผลและดอกเบี้ย
5.
ปฏิบัติตามมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
6.
กรรมการของบริษัทจะทำการค้าแข่งขันกับบริษัทของตนเองไม่ได้
7.
มีอำนาจหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้ระบุไว้ในข้อบังคับของบริษัท สำหรับผู้ถือหุ้นมีสิทธิเป็นเจ้าของหุ้นตามที่ตกลงซื้อไว้
แต่ไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของสินทรัพย์ของ บริษัท
ผลตอบแทนจากการลงทุน
ผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับคือส่วนแบ่งจากกำไร เรียกว่า เงินปันผล หรือผลประโยชน์อื่นใดตามที่ระบุไว้ใน
หนังสือ บริคณห์สนธิ โดยปกติผลกำไรของบริษัทจะไม่นำมาแบ่งเป็นเงินปันผลทั้งหมด ส่วนหนึ่งจะกันสะสมไว้เพื่อบริษัทนำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์
เช่น เพื่อไว้ขยายโรงงาน เพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ เพื่อผลขาดทุนในภายหน้า กำไรส่วนที่กันสะสมไว้นั้นเรียกว่า
เงินสำรอง (Reserves)
การควบคุมการบริหารงาน
การบริหารงานของบริษัทจะอยู่ในรูปของคณะกรรมการซึ่งจะมีการบริหารงานที่กระจายงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบ
เป็นระบบและมีขั้นตอนที่ถูกต้อง โดยกฎหมายกำหนดให้จะต้องมีการตรวจสอบบัญชีของบริษัทปีละครั้ง
โดยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับรองงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุน ยื่นต่อนายทะเบียนบริษัท
การประเมินผลการดำเนินงาน
บริษัทจะทำการประเมินผลการดำเนินงานโดยดูจากงบการเงิน คือ งบกำไรขาดทุน และงบดุลของบริษัท
การขยายกิจการ
บริษัทสามารถขยายกิจการได้ด้วยการขอจดทะเบียนเพิ่มทุนหรือกู้ยืมจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น
การเลิกกิจการ
บริษัทจำเป็นต้องเลิกกิจการเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1.
ถ้าในการจัดตั้งบริษัทระบุเพื่อทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อเสร็จสิ้นกิจการนั้นแล้ว
บริษัทก็ต้องเลิกกิจการ
2.
ถ้าในการจัดตั้งบริษัทกำหนดระยะเวลาของการดำเนินงานไว้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุ
บริษัทก็ต้องเลิกกิจการ
3.
ถ้าในข้อบังคับของบริษัทระบุเหตุที่บริษัทต้องเลิกไว้ เมื่อเกิดเหตุนั้นบริษัทก็ต้องเลิกกิจการ
4.
เมื่อมีมติพิเศษจากผู้ถือหุ้นให้เลิกบริษัท
5.
เมื่อบริษัทจดทะเบียนตั้งบริษัทมาแล้ว 1 ปีเต็ม
โดยบริษัทไม่ได้เริ่มดำเนินกิจการ หรือหยุดดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 1 ปีเต็ม
6.
เมื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทลดลงจนเหลือไม่ถึง 7 คน
7.
เมื่อบริษัทล้มละลาย
ข้อดีของบริษัทจำกัด
1.
สามารถจัดหาเงินทุนได้จำนวนมากตามที่ต้องการ โดยการออกหุ้นจำหน่ายเพิ่ม
หรือจัดหาโดยกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งจะได้รับความเชื่อถือมากกว่า กิจการประเภทอื่น
2.
การดำเนินกิจการบริษัทไม่จำกัดระยะเวลาตามอายุของผู้ถือหุ้น ดังนั้นระยะเวลาในการดำเนินกิจการจึงยาวกว่าการดำเนินกิจการประเภทอื่น
3.
ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบเฉพาะมูลค่าหุ้นส่วนที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบเท่านั้น
โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินใด ๆ ของบริษัท
4.
การบริหารงานสามารถหาผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์จัดการแทนได้
เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบริหารงาน
5.
ผู้ถือหุ้นของบริษัทสามารถโอนหรือขายหุ้นให้ผู้ใดก็ได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากบริษัทก่อน
ข้อจำกัดของบริษัทจำกัด
1.
การจัดตั้งบริษัทมีขั้นตอนตามกฎหมายที่ยุ่งยาก
2.
กิจการบริษัทเนื่องจากต้องเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอกทราบจึงไม่อาจรักษาความลับได้
3.
เนื่องจากในการดำเนินการของบริษัทจำกัด มีผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ บริษัทและพนักงาน
ดังนั้นในการปฏิบัติงานอาจจะมีบางส่วน ที่ขาดความตั้งใจใน การทำงานเพราะไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการเอง
4.
การเสียภาษีของกิจการประเภทบริษัทจะเสียภาษีค่อนข้างสูงและซ้ำซ้อนคือบริษัทจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของกิจการ
ดังนั้น จะต้องเสียภาษีนิติบุคคลเมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น ในฐานะผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาอีกด้วย
6.บริษัทมหาชนจำกัด
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด
พ.ศ. 2511 บริษัทมหาชนจำกัดมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทจำกัด คือ มีผู้ลงทุนเรียกว่า
ผู้ถือหุ้น รับผิดชอบจำกัด ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังไม่ชำระมีคณะกรรมการเป็นผู้บริหาร
แต่มีลักษณะบางประการที่แตกต่างจากบริษัทจำกัด คือ
มีกลุ่มผู้ก่อการเป็นบุคคลธรรมดาตั้งแต่
15 คนขึ้นไป และมีกรรมการตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่
100 คนขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นคนหนึ่งถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 0.6 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายทั้งหมดรวมกัน และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด ส่วนหุ้นจำนวนที่เหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะถือไว้ได้รายละไม่เกินร้อยละ10
ต้องมีทุนที่ชำระด้วยตัวเงินไม่น้อยกว่า
5 ล้านบาท โดยมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กันและจะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 20 บาท และไม่เกินหุ้นละ 100บาท
7.สหกรณ์
พระราชบัญญัติสหกรณ์
พ.ศ.2511 ได้ให้ความหมายของสหกรณ์ไว้ดังนี้ "สหกรณ์ หมายความว่าคณะบุคคล ซึ่งรวมกันดำเนินกิจการเพื่อช่วยเหลือ
ซึ่งกัน และกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้" จากความหมายของสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์
จะเห็นได้ว่า สหกรณ์ คือธุรกิจรูปแบบหนึ่ง ที่จัดตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่มีความประสงค์อย่างเดียวกันร่วมกันจัดตั้งลงทุน
ดำเนินการและเป็นเจ้าของร่วมกันด้วยความสมัครใจ ทำหน้าที่ใน ธุรกิจเพื่อช่วยเหลือสมาชิก
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขจัดปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่สมาชิก รวมทั้งรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์
ของสมาชิกให้ดีขึ้น
ลักษณะของกิจการสหกรณ์
เป็นการร่วมทุนของบุคคลตั้งแต่
10 คนขึ้นไป โดยไม่จำกัดจำนวน
เป็นการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของบุคคลที่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยไม่คำนึงถึงสินทรัพย์
ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ
ไม่ใช่การบังคับ เพราะสหกรณ์ดำเนินงานในรูป "โดยสมาชิกเพื่อสมาชิก"
สมาชิกทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการดำเนินงานสหกรณ์
เพราะการดำเนินงานเป็นไปในรูปแบบประชาธิปไตยสมาชิกแต่ละคนมีสิทธิออกเสียงได้
มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือตนเอง
และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมชิก โดยไม่คำนึงถึงผลกำไร
การจัดตั้งมีการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการสหกรณ์
ไม่ได้อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประเภทของสหกรณ์
กิจการสหกรณ์มีหลายประเภท
แต่ละประเภทมีลักษณะการก่อตั้งและการดำเนินงานแตกต่างกัน โดยในประเทศไทยได้แบ่งประเภทของสหกรณ์
ตามประกาศของนายทะเบียนสหกรณ์เกี่ยวกับ เรื่องการจัดประเภทสหกรณ์ตามกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2516 กำหนดประเภทสหกรณ์ที่รับจดทะเบียนรวมมี
6 ประเภท ดังนี้
สหกรณ์การเกษตร เป็นสหกรณ์ที่มีสมาชิกประกอบด้วยเกษตรกร
มีหน้าที่ในการจัดหาและให้บริการแก่สมาชิกในด้านการผลิตการเกษตร เช่น การจัดหาเงินทุน
การจัดหาวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ มาจำหน่ายให้สมาชิกในราคาถูก การรวบรวมผลิตผลออกจำหน่าย
และการแปรรูปผลิตผล ออกจำหน่ายให้ได้ราคาดี
สหกรณ์การประมง จัดตั้งขึ้นในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมง
ซึ่งส่วนใหญ่อยู้ในจังหวัดชายทะเลทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม และประกอบอาชีพ ด้านการประมง
รวมถึงการจัดหาเงินทุนแลอุปกรณ์เกี่ยวกับการประมงจำหน่ายให้แก่สมาชิกในราคาถูก และการจัดการด้านการตลาด
เพื่อให้สามารถจำหน่าย ผลิตผลให้ได้ราคาดี จัดตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ 2492 ที่อำเภอพรหมพราม จังหวัดพิษณุโลก มีชื่อว่า "สหกรณ์ประมงพิษณุโลก จำกัด"
เป็นสหกรณ์ประมง น้ำจืด เดิมสหกรณ์ประมงได้รวมอยู่กับสหกรณ์การเกษตร ปัจจุบันได้แยกสหกรณ์ประมงออกจากสหกรณ์การเกษตร
เพราะว่าเป็นอาชีพที่แตกต่างกัน นับว่า เป็นการให้ความสำคัญแก่อาชีพประมงเป็นอย่างมาก
สหกรณ์นิคม เป็นสหกรณ์ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาหรือจัดสรรที่ดินให้แก่สมาชิกในการประกอบอาชีพ
รวมถึงการจัดหาและอำนวยความสะดวก ในการประกอบอาชีพให้แก่สมาชิก เช่น การจัดหาเงินทุนอุปกรณ์การผลิตและเครื่องมือการผลิตมาจำหน่าย
ตลอดจนการจัดหาน้ำ และการจัดการด้าน การตลาดให้อีกด้วย
สหกรณ์ร้านค้า เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้านการจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคจำหน่ายให้แก่สมาชิกในราคายุติธรรม
ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ใน เขตชุมชน ที่มีประชาชนหนาแน่น ในสถาบันศึกษา และหน่วยงานอื่น
ๆ
สหกรณ์บริการ เป็นสหกรณ์ที่ให้บริการแก่สมาชิกในด้านสาธารณูปโภคต่าง
ๆ เช่น สหกรณ์ไฟฟ้า สหกรณ์แท็กซี่ รถรับจ้าง สหกรณ์การเคหสถาน เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาบริการอย่างใดอย่างหนึ่งที่สมาชิกต้องการ
และจะเรียกเก็บค่าบริการที่สหกรณ์จัดนั้น จากสมาชิกตามส่วนที่แต่ละคนใช้ประโยชน์ เมื่อสมาชิกหมดความจำเป็นที่จะใช้บริการอาจเลิกได้
เช่น สหกรณ์การไฟฟ้า เมื่อใดท้องที่นั้มีไฟฟ้าใช้ สมาชิกก็หมดความจำเป็นที่จะใช้บริการของสหกรณ์
สหกรณ์ก็จะเลิกได้
สหกรณ์ออมทรัพย์หรือสหกรณ์ธนกิจ เป็นสหกรณ์ที่สมาชิกร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมเงินในหมู่สมาชิก
เพื่อให้สมาชิกได้กู้ยืมเงินในยามจำเป็น ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนให้บริการทางการเงินแก่สมาชิก
โดยมีเงินปันผลคืนตามส่วนให้อีก้วย สหกรณ์ประเภทนี้ได้รับความนิยม และจัดตั้งขึ้นใน
หมู่ผู้มีรายได้ประจำเช่น ข้าราชการ ครู ตำรวจ รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ
8.รัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจ
หมายถึง องค์การของรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐบาล มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50 มีการบริหารงานอยู่ระหว่างระบบราชการและระบบธุรกิจ สาเหตุที่รัฐบาลเข้าดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ
เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
กิจการบางประเภทเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญต่อส่วนรวม ถ้าเอกชนดำเนินการ อาจทำให้ประชาชนไม่ได้รับ
การบริการที่ดีและเป็นธรรม
เพื่อป้องกันการผูกขาด
การให้เอกชนดำเนินการโดยให้มีการแข่งขันเสรี ผู้ผลิตรายย่อยอาจสู้ผู้ผลิตรายใหญ่ไม่ได้
ทำให้เกิดการผูกขาด ทำให้ประชาชน ถูกเอาเปรียบได้
กิจการบางประเภทต้องอาศัยการลงทุนที่สูงมาก
เช่น การผลิตไฟฟ้าต้องลงทุนสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำเครื่องมือเครื่องจักร และกำลังคนจำนวนมาก
ซึ่งเอกชนไม่สามารถดำเนินการได้
เพื่อหารายได้เข้ารัฐ
รัฐบาลจำเป็นต้องหารายได้เข้ารัฐนอกจากการเก็บภาษีอากรเพื่อนำไปใช้จ่ายในการทำนุบำรุง
และพัฒนาประเทศชาติ
เพื่อความมั่นคงของประเทศ
ในยามสงครามสินค้าบางชนิดมีความจำเป็นต่อส่วนรวม เพื่อเป็นการป้องกันการขาดแคลนในยามฉุกเฉิน
รัฐจำเป็นต้อง เข้ามาดำเนินการเอง ได้แก่ กิจการเกี่ยวกับการผลิตเชื้อเพลิง ยารักษาโรค
เป็นต้น
เพื่อเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์
วัฒนธรรมและเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศชาติ เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การจัดตั้ง
การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจทำได้
4 ลักษณะ คือ
จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ โดยมีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐ
เช่น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทย ฯลฯ
จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกา โดยมีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐ
เช่น องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ องค์การสวนยาง องค์การสวนสัตว์ ฯลฯ
จัดตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยรัฐบาลเป็นเจ้าของทั้งสิ้น
หรือถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 เช่น บริษัทการบินไทย บริษัทไม้อัดไทย
บริษัทขนส่ง จำกัด ฯลฯ
จัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี เช่น
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โรงงานยาสูบ สถานธนานุเคราะห์ ฯลฯ
9.บริษัทข้ามชาติ
ปัจจุบันโลกเจริญก้าวหน้าอย่างมาก
การติดต่อดำเนินงานธุรกิจกระทำกันได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก เช่น บริษัทมิตซูบิชิ จำกัด
ที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีสาขาการผลิตและจำหน่ายกระจายอยู่ทุกประเทศทั่วโลก
ซึ่งแต่ละแห่งอาจทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เป็นต้น
บริษัทข้ามชาติ หมายถึง
องค์กรการผลิตอย่างหนึ่งที่มีทุนจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดทั้งผลดี
และผลเสียต่อประเทศที่ได้รับการลงทุนจา กการจัดตั้งบริษัทดังกล่าว จำแนกผลดังกล่าวออกได้ดังนี้
ผลดีของบริษัทข้ามชาติ ทำให้ประเทศที่ได้รับการลงทุนมีเงินลงทุนเข้าประเทศมากขึ้น
มีการจ้างแรงงานของประชาชน ในประเทศเพิ่มขึ้น และได้รับ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัยนำมาใช้พัฒนาประเทศเพิ่มขึ้น
ผลเสียของบริษัทข้ามชาติ ทรัพยากรของประเทศที่ได้รับการลงทุนลดลง
เสียดุลการชำระเงินในระยะเวลายาว เนื่องจากประเทศที่ลงทุนจะนำเงินออกจาก ประเทศผู้รับลงทุน
เมื่อการดำเนินงานมีผลกำไร
10.กิจการแฟรนไชส์ (Franchise)
ตามรูปศัพท์
แฟรนไชส์ หมายถึง สัมปทาน ดังนั้น กิจการแฟรนไชส์ อาจเรียกอีกอย่างว่า ธุรกิจสัมปทาน
คือธุรกิจที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล 2 กลุ่มขึ้นไปหรือมากกว่า
ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบต่างกัน แต่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันในระบบธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์จะกระจายสินค้า
หรือบริการไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ
ในปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์เป็นที่นิยมมาก
มีกิจการหลายกิจการที่กำเนิดจากธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะการดำเนินงานในธุรกิจประเภทนี้
จะมีบริษัทแม่คอยแนะนำ ให้ความช่วยเหลือเป็นผู้เตรียมใบอนุญาตเทคนิคการผลิต การบริหารงาน
ขายให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือผู้ซื้อสัมปทาน เพื่อซื้อสทธิในการเป็นเจ้าของ และดำเนินงานในลักษณะเดียวกับที่บริษัทแม่ได้วางรูปแบบไว้
ซึ่งธุรกิจที่เป็นบริษัทแม่ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จ มีแนวทางในการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ
จึงเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปที่มีความต้องการจะเป็นเจ้าของธุรกิจดังกล่าว ดังนั้น
จากลักษณะของธุรกิจแฟรนไชส์จึงมีผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ 2 ฝ่าย คือ
1.
แฟรนไชซอร์ (Franchisors) หรือเจ้าของธุรกิจ คือผู้ให้สัมปทาน
2.
แฟรนไชซี (Franchisees) คือ ผู้ขอรับสัมปทาน
ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย
มีทั้งส่วนที่เป็นสาขาจากต่างประเทศ เช่น กิจการจำหน่ายสินค้าประเภทจานด่วน (Fast Food) ได้แก่ เคเอฟซี แมคโดนัลด์ พิซซ่าฮัท ฯลฯ กิจการจำหน่ายสินค้าสะดวกซื้อ ได้แก่
เซเว่น-อีเลฟเว่น ไทเกอร์มาร์ต สตาร์ชอร์ป ฯลฯ และธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำเนิด โดยคนไทยเอง
เช่น เลมอนฟาร์ม ลูกชิ้นแชมป์ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ข้าวมันไก่เจมส์ ฯลฯ
ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์หรือธุรกิจแบบสัมปทานมี 2 ประเภท คือ
ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้สินค้าและชื่อการค้า
เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย หรือผู้ให้สัมปทาน หรือแฟรนไชซอร์ให้สิทธิแก่
ผู้รับสัมปทาน หรือตัวแทนจำหน่ายหรือแฟรนไชซีในการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งของผู้ให้สัมปทาน
โดยผู้รับสัมปทานจะได้รับชื่อสินค้า เครื่องหมายการค้า หรือสินค้าจากผู้ให้สัมปทาน
โดยถือเสมือนว่าเป็นผู้จำหน่ายในสายผลิตภัณฑ์เดียวกับผู้ให้สัมปทาน เช่น ตัวแทนจำหน่ายน้ำอัดลมโคคา-โคลา
สถานีบริการน้ำมันเซลล์ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฟอร์ด เป็นต้น
ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้รูปแบบทางธุรกิจ
เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ให้สัมปทานให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานในการขายสินค้า หรือบริการโดยใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ให้สัมปทาน
ถือว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ มักจะเป็นระบบการดำเนินธุรกิจของผู้ให้สัมปทานที่ประสบความสำเร็จสูง
เช่น พิซซ่าฮัท เคเอฟซี เซเว่น-อีเลฟเว่น โดยการดำเนินธุรกิจประเภทนี้จะถูกกำหนดลักษณะการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวคิดเดียวกันระหว่างผู้ให้สัมปทานกับผู้รับสัมปทาน
ทั้งด้านกลยุทธ์ แผนการตลาด มาตรฐานการปฏิบัติงานและการควบคุมคุณภาพ เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง
-
อรทัย วานิชดี. ธุรกิจทั่วไป. กรุงเทพฯ : ประสานมิตร, 2545.
-
สุดาทิพย์ ตันตินิกุลชัย และศักดา หงส์ทอง. ธุรกิจทั่วไป. กรุงเทพฯ
: บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด, 2547.
พาณิชยกรรมออนไลน์ หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ
ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่
การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต
แม้กระทั่งซื้อขายออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่าย
และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง
เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย
พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา
ในการทำธุรกรรมลงได้
ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2544 ให้ความหมาย
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าเป็น
ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
ตัวอย่างเช่น นายสมชายเปิดร้านขายสินค้าโอท็อป ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ทำให้ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเข้ามาดูตัวอย่างสินค้า และติดต่อซื้อขายกันได้
โดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีสารสนเทศที่รุดหน้า ทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต
ทำให้การสื่อสารกันเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้หลายระดับ
อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้ทันที ทำให้สามารถเสนอธุรกรรมที่หลากหลาย เช่น
การชื้อขาย การบริการหลังการขาย การโอนเงินชำระค่าบริการสินค้า การขนส่ง เป็นต้น
โดยมีกฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาคุ้มครองเรื่องความปลอดภัย
และยังมีกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามาให้ความคุ้มครองด้วยในเรื่องของการเงิน
...............................................................................................................................................................................ความรับผิดชอบตามกฎหมายในการประกอบธุรกิจ
1.การเสียภาษีอากร
ภาษีอากร
คือ รายจ่ายที่บุคคลมีหน้าที่ต้องจ่ายให้รัฐ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ
ประเภทของภาษีอากรที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความรู้ ได้แก่
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปหรือจากหน่วยภาษีที่
มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด
โดยจัดเก็บภาษี รายปี ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา
ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
กองมรดกยังไม่ได้แบ่ง
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือภาษีอากรที่จัดเก็บเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนและนิติบุคคลอื่นที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามมัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด กิจการซึ่งดำเนินการค้าหากำไร โดยรัฐบาลหรือองค์กรต่างประเทศ มูลนิหรือสมาคมที่ที่มีรายได้ และไม่ได้ประกาศให้เป็นสถานสาธารณกุศลฐานภาษีในการคำนวณภาษีเงินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากรายได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในหารคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยทั่วไป ได้แก่ กำไรสุทธิที่คำนวณตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรม จึงมีการบัญญัติเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษีที่แตกต่างกัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือภาษีอากรที่จัดเก็บเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนและนิติบุคคลอื่นที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามมัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด กิจการซึ่งดำเนินการค้าหากำไร โดยรัฐบาลหรือองค์กรต่างประเทศ มูลนิหรือสมาคมที่ที่มีรายได้ และไม่ได้ประกาศให้เป็นสถานสาธารณกุศลฐานภาษีในการคำนวณภาษีเงินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากรายได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในหารคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยทั่วไป ได้แก่ กำไรสุทธิที่คำนวณตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรม จึงมีการบัญญัติเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษีที่แตกต่างกัน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ขายสินค้าและให้บริการในประเทศและผู้นำเข้าสินค้า
สำหรับสถานประกอบการที่จดทะเบียนบุคคลธรรมดา (ทะเบียนพาณิชย์/ทะเบียนการค้า)
และรายได้ต่อปีไม่ถึง 1,800,000 บาท ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม
แต่ถ้ามีรายได้เกินหรือจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 01) เพื่อจะสามารถคำนวนภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขาย หักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือน
สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อมีการขายสินค้าหรือการรับเงินและการ รับเงินและการส่งมอบสินค้า
จะต้องออกบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อทุกครั้ง โดยแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการนั้น ๆ
และระบุจำนวนภาษีมุลค่าเพิ่มที่จัดเก้บจากผู้ซื้อ (ร้อยละ7 ของมูลค่าและบริการ) โดยต้องมอบบกำกับภาษีต้นฉบับให้กับผู้ซื้อและแก็บสำเนาไว้เป็นหลักฐาน
รูปแบบใบกำกับภาษี 2 แบบ คือ ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ และใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ใบกำกับภาษีแบบเต็ม |
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ |
.................................................................................................................................
กฎหมายแรงงาน
กฏหมายแรงงานที่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs)
ควรรู้ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ. ศ. 2541 และกฎหมายประกันสังคม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.
ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างโดยมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงาน
การจ่ายค่าตอบแทน และการทำงาน ซึ่งผู้ประกอบการควรมีความรู้ในเรื่อง ดังนี้
สัญญาจ้างแรงงาน การจ้างลูกจ้างมาทำงานในลักษณะงานประจำมีการจ่ายค่าจ้างเป็นระยะเวลาที่ชัดเจน
และนายจ้างมีอำนาจบัญชา ซึ่งเป็นการจ้างแรงงานที่ไม่จำเป็นต้องทำสัญญา
เพียงแต่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันก็เกิดสัญญาแล้ว
บทบาทและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
นายจ้าง หมายถึง
ผู้รับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง
ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง กรณีนิติบุคคล คือ ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนาจให้กระทำการแทนนิติบุคคล เจ้าของกิจการ กรณีการจ้างเหมาค่าแรง
หน้าที่ของนายจ้าง จ่ายค่าตอบแทนให้กับลูกจ้างตามที่ได้ตกลงกันไว้ ออกหนังสือรับรองผลงาน
และระยะเวลาที่ทำงานให้ลูกจ้าง หากมีการจ่ายค่าเดินทางให้ลูกจ้างมาทำงานกันนายกับลูกจ้างด้วย ยกเว้นลูกจ้างทำผิดต่อนายจ้าง
ลูกจ้าง
หมายถึง
ผู้ที่ทำงานให้นายจ้างโดยได้รับผลตอบแทน ค่าจ้าง
หน้าที่ของลูกจ้าง ต้องด้วยตนเอง
ให้คนอื่นทำงแทนไม่ได้หากไม่ได้รับอนุญาตจากนายจ้าง
ต้องทำงานตามที่ตนเองรับรองไว้กับนายจ้างได้
ต้องเชื่อฟังและปฎิบัติตามคำสั่งของนายจ้าง หากเป็นเรื่องชอบโดยกฎหมาย และต้องมีความซื่อสัตย์
เก็บรักษาความลับของนายจ้างได้
ค่าจ้าง จ่ายเป็นเงินไทย ตามที่ตกลงไว้ จ่ายไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง จ่ายไม่น้อยกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่กระทรวงแรงงานกำหนด
กฎหมายประกันสังคม ผู้ประกอบการไม่ว่าเป็นในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องไปขึ้นทะเบียนประกันสังคมนายจ้าง
ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่จังหวัดที่กิจการตั้งอยู่ และมีหน้าที่ในการนำส่งเงินสบทบกองทุนประกันสังคม ทุกเดือน โดยแบ่งเป็นส่วนของลูกจ้างทุกคน
และส่วนที่นายจ้างต้องจ่ายสบทบเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนรวมของเงินสมทบในส่วยของลูกจ้าง
อ้างอิง หนังสือการงานอาชีพและเทคโนโลยี ม4-6
.............................................................................................................................................................................................
SWOT (Analysis)
การวิเคราะห์ SWOT
เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์ในการทำความเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรคุณ
เพื่อการระบุโอกาสที่เปิดให้คุณและอุปสรรคที่องค์กรของคุณต้องประสบ
การนำ SWOT
มาใช้ในเชิงธุรกิจเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานะขององค์กรคุณเพื่อหาจุดเด่นที่สามารถยั่งยืนในตลาดได้
หรือใช้ในบริบทของส่วนบุคคลจะช่วยให้คุณพัฒนาความสามารถในอาชีพของคุณด้วยการวิเคราะห์โอกาสที่ดีที่สุดของการใช้ประโยชน์จากความสามารถของคุณที่มีอยู่
การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส
และอุปสรรค (SWOT ANALYSIS)
ความหมายของ SWOT ประกอบด้วยส่วนของภายใน คือ จุดแข็ง (Strengths) และ จุดอ่อน (Weaknesses)
และสภาพแวดล้อมภายนอก คือ โอกาส (Opportunities) และ อุปสรรค (Threats) ที่องค์กรจะต้องเผชิญ
ดังนั้น การวิเคราะห์ SWOT เป็นการใช้เทคนิคอย่างกว้าง ๆ
สร้างภาพรวมของสถานการณ์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร โดยมีการอ้างอิงข้อมูลต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและมีการนำไปใช้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับองค์กร
ประกอบด้วย
1.
โอกาส (O : Opportunities) เป็นสถานการณ์ที่น่ายินดีอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมขององค์กรที่มากระทบกับองค์กรแล้วทำให้องค์กรได้ประโยชน์
เช่น นโยบายของรัฐ กฎหมาย และอื่นๆ
2.อุปสรรค (Threats) เป็นสถานการณ์ที่ไม่น่ายินดีในสภาพแวดล้อมขององค์กร
คือสิ่งกีดขวางที่สำคัญ
ที่มากระทบกับองค์กรแล้วทำให้องค์กรเสียประโยชน์หรือเสียหาย เช่น ภัยธรรมชาติ นโยบายของรัฐบาล
ภาวะเศรษฐกิจ และอื่นๆ
3.จุดแข็ง (Strengths) คือ
ทรัพยากรหรือศักยภาพที่ได้เปรียบที่องค์กรมีอยู่
เป็นความสามารถที่โดดเด่นขององค์กร
4.จุดอ่อน (Weaknesses) คือข้อจำกัดหรือความขาดแคลนในทรัพยากรที่ขัดขวางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพขององค์กร
การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT
ANALYSIS) ให้มีประสิทธิภาพ
ก็คือ การวิเคราะห์ภายในอย่างถูกต้อง นั้นคือ
การนำประเด็นลักษณะของจุดแข็งและจุดอ่อนเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งสามารถนำไปสร้างเป็นกลยุทธ์ขององค์กรได้ โดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์จะต้องพิจารณาองค์ประกอบจาก
แหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในการเคราะห์ SWOT เช่น ข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ
และข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ
การวิเคราะห์ SWOT
Analysis ของ ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven (เซเว่นอีเลฟเว่น)
SWOT Analysis การวิเคราะห์ภายในองค์กร
ในการวิเคราะห์ SWOT ของ 7-Eleven
ในครั้งนี้ดัวย 5’Ms โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ
1. Man (คน)
จุดแข็ง (Strengths)
บริษัทประกอบด้วยพนักงานและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เนื่องจาก 7-Eleven ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนมาอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการขยายสาขา และรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ 7-Eleven ประสบความสำเร็จได้ สามารถมีสาขาร้านค้ามากมาย
จุดอ่อน (Weakness)
การที่พนักงานและบุคลากร ของ 7-Eleven มีความรู้ความสามารถ อาจเป็นช่องทางให้บริษัทคู่แข่งธุรกิจเดียวกันเข้ามาซื้อตัวพนักงาน โดยอาจเสนออัตราเงินเดือน และผลตอบแทนที่สูงกว่าเพื่อดึงดูดพนักงานของ 7-Eleven ได้ เพราะปัจจุบันนี้การแข่งขันที่สูง หากมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมาร่วมแรงร่วมใจพัฒนาองค์กร จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว
บริษัทประกอบด้วยพนักงานและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เนื่องจาก 7-Eleven ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนมาอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการขยายสาขา และรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ 7-Eleven ประสบความสำเร็จได้ สามารถมีสาขาร้านค้ามากมาย
จุดอ่อน (Weakness)
การที่พนักงานและบุคลากร ของ 7-Eleven มีความรู้ความสามารถ อาจเป็นช่องทางให้บริษัทคู่แข่งธุรกิจเดียวกันเข้ามาซื้อตัวพนักงาน โดยอาจเสนออัตราเงินเดือน และผลตอบแทนที่สูงกว่าเพื่อดึงดูดพนักงานของ 7-Eleven ได้ เพราะปัจจุบันนี้การแข่งขันที่สูง หากมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมาร่วมแรงร่วมใจพัฒนาองค์กร จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว
โอกาส (Opportunity)
ผู้บริหารของบริษัทให้ความสำคัญต่อการสรรหาพนักงานมากพอ ๆ กับการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน โดยให้ความสำคัญต่อการคัดเลือกคนดีมากกว่าคนเก่ง ซึ่งผู้บริหารเชื่อว่าพนักงานที่รับเข้ามาใหม่ยังไม่มีความรู้ ความสามารถในระดับที่เรียกว่า “คนเก่ง” ก็สามารถพัฒนาภายหลังได้ แต่การสร้างคนให้เป็นคนดีต้องใช้เวลานาน วิธีการสรรหาของบริษัท ใช้วิธีการหลายรูปแบบด้วยกัน เช่นการประกาศรับสมัครทางสื่อต่าง ๆ การคัดเลือกนักศึกษาที่จบใหม่จากมหาวิทยาลัย การเข้าร่วมงานนัดพบแรงงาน และการรับสมัครใน Internet เป็นต้น ซึ่งทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีโอกาสที่จะคัดเลือกพนักงานได้มาก
ผู้บริหารของบริษัทให้ความสำคัญต่อการสรรหาพนักงานมากพอ ๆ กับการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน โดยให้ความสำคัญต่อการคัดเลือกคนดีมากกว่าคนเก่ง ซึ่งผู้บริหารเชื่อว่าพนักงานที่รับเข้ามาใหม่ยังไม่มีความรู้ ความสามารถในระดับที่เรียกว่า “คนเก่ง” ก็สามารถพัฒนาภายหลังได้ แต่การสร้างคนให้เป็นคนดีต้องใช้เวลานาน วิธีการสรรหาของบริษัท ใช้วิธีการหลายรูปแบบด้วยกัน เช่นการประกาศรับสมัครทางสื่อต่าง ๆ การคัดเลือกนักศึกษาที่จบใหม่จากมหาวิทยาลัย การเข้าร่วมงานนัดพบแรงงาน และการรับสมัครใน Internet เป็นต้น ซึ่งทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีโอกาสที่จะคัดเลือกพนักงานได้มาก
อุปสรรค (Threat)
เนื่องจาก 7-Eleven มีคณะกรรมการที่มีอำนาจในการตัดสินใจ เรื่องนโยบายต่าง ๆ หลายท่าน ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้มาจากการแต่งตั้งโดยใช้เสียงข้างมาก จากการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งสามารถถอดถอนได้โดยใช้มติที่ประชุม ซึ่งหากมีการเปลี่ยนคณะกรรมการบ่อย จะทำให้การตัดสินใจล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์ได้
เนื่องจาก 7-Eleven มีคณะกรรมการที่มีอำนาจในการตัดสินใจ เรื่องนโยบายต่าง ๆ หลายท่าน ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้มาจากการแต่งตั้งโดยใช้เสียงข้างมาก จากการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งสามารถถอดถอนได้โดยใช้มติที่ประชุม ซึ่งหากมีการเปลี่ยนคณะกรรมการบ่อย จะทำให้การตัดสินใจล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์ได้
2. Money (เงิน)
จุดแข็ง (Strengths)
ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 104,873 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 คิดเป็น ร้อยละ 6 ซึ่งเป็นรายได้ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ สัดส่วนร้อยละ 64 รายได้จากธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในประเทศจีน สัดส่วนร้อยละ 30 และรายได้จากธุรกิจอื่น ๆ ในประเทศ สัดส่วนร้อยละ 6
กลุ่มธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อมียอดขายสุทธิรวม 65,055 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 14,975 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 29 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของยอดขายสุทธิมีสาเหตุมาจากการขยายสาขา และยอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวันเพิ่มขึ้น
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า 7-eleven มีความแข็งแกร่งเรื่องเงินทุนและมีศักยภาพในการขยายสาขา และเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น เป็นอย่างมาก
จุดอ่อน (Weakness)
บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนประมาณร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิจากการดำเนินงานหลังภาษีเงินได้ ซึ่งนโยบายนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการขยายสาขาเพิ่มขึ้นนั้นมีส่วนทำให้กำไรสุทธิลดลง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการชายและบริหารที่เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้อาจทำให้การจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นเปลี่ยนไป อาจสร้างความไม่พึงพอใจให้กับผู้ถือหุ้นได้
ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 104,873 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 คิดเป็น ร้อยละ 6 ซึ่งเป็นรายได้ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ สัดส่วนร้อยละ 64 รายได้จากธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในประเทศจีน สัดส่วนร้อยละ 30 และรายได้จากธุรกิจอื่น ๆ ในประเทศ สัดส่วนร้อยละ 6
กลุ่มธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อมียอดขายสุทธิรวม 65,055 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 14,975 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 29 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของยอดขายสุทธิมีสาเหตุมาจากการขยายสาขา และยอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวันเพิ่มขึ้น
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า 7-eleven มีความแข็งแกร่งเรื่องเงินทุนและมีศักยภาพในการขยายสาขา และเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้น เป็นอย่างมาก
จุดอ่อน (Weakness)
บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนประมาณร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิจากการดำเนินงานหลังภาษีเงินได้ ซึ่งนโยบายนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการขยายสาขาเพิ่มขึ้นนั้นมีส่วนทำให้กำไรสุทธิลดลง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการชายและบริหารที่เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้อาจทำให้การจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นเปลี่ยนไป อาจสร้างความไม่พึงพอใจให้กับผู้ถือหุ้นได้
โอกาส (Opportunity)
7-Eleven เป็นร้านค้าสะดวกซื้อที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป หากมีความจำเป็นในการระดมทุนเพิ่ม ก็มีความสามารถในการระดมทุนได้ง่าย อีกทั้งการขยายเพิ่มของแฟรนไชส์ จะช่วยให้บริษัทไม่ต้องลงทุนในการเพิ่มสาขามากนัก แต่สามารถมีสาขาเพิ่มขึ้นได้
อุปสรรค (Threat)
ปัจจุบันค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้อัตราค่าเช่าร้านสูงขึ้นมาก อีกทั้งแหล่งทำเลที่ตั้งร้านตามชุมชนต่าง ๆ มีราคาแพง ซึ่งจะส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายของร้านโดยรวมสูงขึ้น และจะส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทลดน้อยลง
3. Materials (วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ)
จุดแข็ง (Strengths)
บริษัทมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยยึดถือความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก มีกระบวนการคัดสรรและตรวจสอบคุณภาพของสินค้า ให้ได้คุณภาพสม่ำเสมอ และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค อีกทั้งบริษัทได้จัดกระบวนการพัฒนาสินค้า ร่วมกับผู้ผลิต โดยมีการตรวจสอบสินค้าตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การจัดส่ง การเก็บรักษา เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าที่มีคุณภาพ
จุดอ่อน (Weakness)
เนื่องจากบริษัท 7-Eleven มีสาขากระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศ การติดต่อสื่อสารมักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสำคัญ หากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีปัญหา ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบริหารงาน
โอกาส (Opportunity)
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาสินค้า การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ และพัฒนาสินที่ที่มีคุณภาพ อีกทั้งมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานเพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า และตรงความต้องการของลูกค้า อีกทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการผลิต ควบคุม และการวางแผน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนไปของพฤติกรรมผู้บริโภค
อุปสรรค (Threat)
พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการวางแผนด้านต่าง ๆ ต้องกระทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ และสภาวะ การณ์ที่เปลี่ยนไป
7-Eleven เป็นร้านค้าสะดวกซื้อที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป หากมีความจำเป็นในการระดมทุนเพิ่ม ก็มีความสามารถในการระดมทุนได้ง่าย อีกทั้งการขยายเพิ่มของแฟรนไชส์ จะช่วยให้บริษัทไม่ต้องลงทุนในการเพิ่มสาขามากนัก แต่สามารถมีสาขาเพิ่มขึ้นได้
อุปสรรค (Threat)
ปัจจุบันค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้อัตราค่าเช่าร้านสูงขึ้นมาก อีกทั้งแหล่งทำเลที่ตั้งร้านตามชุมชนต่าง ๆ มีราคาแพง ซึ่งจะส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายของร้านโดยรวมสูงขึ้น และจะส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทลดน้อยลง
3. Materials (วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ)
จุดแข็ง (Strengths)
บริษัทมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยยึดถือความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก มีกระบวนการคัดสรรและตรวจสอบคุณภาพของสินค้า ให้ได้คุณภาพสม่ำเสมอ และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค อีกทั้งบริษัทได้จัดกระบวนการพัฒนาสินค้า ร่วมกับผู้ผลิต โดยมีการตรวจสอบสินค้าตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การจัดส่ง การเก็บรักษา เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าที่มีคุณภาพ
จุดอ่อน (Weakness)
เนื่องจากบริษัท 7-Eleven มีสาขากระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศ การติดต่อสื่อสารมักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสำคัญ หากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีปัญหา ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบริหารงาน
โอกาส (Opportunity)
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาสินค้า การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ และพัฒนาสินที่ที่มีคุณภาพ อีกทั้งมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานเพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า และตรงความต้องการของลูกค้า อีกทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการผลิต ควบคุม และการวางแผน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนไปของพฤติกรรมผู้บริโภค
อุปสรรค (Threat)
พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการวางแผนด้านต่าง ๆ ต้องกระทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ และสภาวะ การณ์ที่เปลี่ยนไป
4. Management (การจัดการ)
จุดแข็ง (Strengths)
โครงสร้างการจัดการของบริษัทประกอบด้วย คณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการตรวจสอบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ผู้บริหาร
มีการแบ่งขอบเขตอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน
ซึ่งคณะกรรมการบริษัทประกอบไปด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ
และประสบการณ์ในการทำงานจากหลากหลายสาขาที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ
และมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเป็นอย่างดี
และมีวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทคือการทำงานเป็นทีม โดยมีค่านิยม 7
Values เป็นค่านิยมพื้นฐานสำหรับพนักงานทุกคนในองค์กร และ 11
Leadership เป็นค่านิยมสำหรับผู้บริหารทุกคนยึดถือและนำไปปฏิบัติในการดูแลเอา
ใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรม
จุดอ่อน (Weakness)
การที่บริษัทมีคณะกรรมการบริษัท มากถึง 13
คน อาจส่งผลให้การตัดสินใจในบางเรื่องล่าช้ากว่าที่ควร
อำนาจการตัดสินใจมีน้อย ต้องอาศัยเสียงส่วนใหญ่ของผู้ถือหุ้น
ซึ่งในการดำเนินงานปัจจุบันต้องมีการตัดสินใจที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
โอกาส (Opportunity)
ตามโครงสร้างของคณะกรรมการ ล้วนเป็นบุคคลที่มีความสามารถ มีประสบการณ์ในการทำงานที่หลากหลาย และเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ย่อมสามารถนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันรายใหญ่ ๆ ได้
อุปสรรค (Threat)
โอกาส (Opportunity)
ตามโครงสร้างของคณะกรรมการ ล้วนเป็นบุคคลที่มีความสามารถ มีประสบการณ์ในการทำงานที่หลากหลาย และเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ย่อมสามารถนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันรายใหญ่ ๆ ได้
อุปสรรค (Threat)
ในภาวะตลาดปัจจุบันมีการแข่งขันค่อนข้างสูง
ไม่ว่าจะเป็นตลาดในประเทศ หรือในตลาดต่างประเทศ
ล้วนเป็นแรงผลักดันให้บริษัทต้องแสดงความสามารถในการบริหารจัดการ
สร้างความแข่งแกร่ง และมีความพร้อมสำหรับการฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ได้
5.Marketing (การตลาด)
จุดแข็ง (Strengths)
บริษัทมีทำเลที่ตั้งที่ค่อนข้างได้เปรียบเนื่องจากได้เลือกทำเลที่ตั้งในแหล่งชุมชนมีผู้คนสัญจรผ่านไปมาตลอด
จึงสามารถเข้าถึงผู้บริโภค ได้ง่าย อีกทั้ง มีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
และมีมาตรฐานคุณภาพสินค้าไว้อย่างชัดเจน
และมีการสุ่มตรวจคุณภาพสินค้าอย่างสม่ำเสมอ
และมีการสรรหาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายแตกต่างจากคู่แข่งขันอยู่เสมอ
โดยมีเป้าหมายหลักคือการตอบสนองตรงต่อความต้องการของลูกค้า
จุดอ่อน (Weakness)
ปัจจุบันร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่มีการแข่งขันทางการตลาดสูงมาก
ต่างนำกลยุทธ์ต่าง ๆ มาใช้เช่น การขายสินค้าราคาพิเศษ การมีของสมนาคุณพิเศษ
การแจกคูปองเงินสดเพื่อใช้เป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า
ซึ่งการแข่งขันเช่นนี้สามารถดึงดูดผู้ซื้อได้มาก เนื่องจากปัจจุบันนี้ผู้ซื้อมักมองถึงความคุ้มค่า
ประหยัด ซึ่งทางบริษัทเองต้องหาวิธีการจัดรายการโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดใจผู้
แต่ในขณะเดียวกันต้องไม่มีผลกระทบต่อบริษัทในระยะยาว
โอกาส (Opportunity)
โอกาส (Opportunity)
7-Eleven มีโอกาสที่เข้าถึงชุมชนได้มากกว่าร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่
เนื่องจากการมีสาขาที่ครอบคลุมทั่วประเทศไทย
อีกทั้งเป็นร้านสะดวกซื้อที่อยู่ในชุมชน
และไม่ถูกต่อต้านจากชุมชนเนื่องจากว่าเป็นร้านค้าของคนไทยไม่ใช่ต่างชาติ
ซึ่งจากข้อได้เปรียบนี้ทำให้ 7-Eleven สามารถขยายสาขาครอบคลุมได้มากขึ้น
อุปสรรค (Threat)
อุปสรรค (Threat)
ในปัจจุบันการแข่งขันทางการค้าค่อนข้างสูง
การที่ร้านค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ได้ขยายสาขาไปตามเมืองใหญ่
และพยายามหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยการขยายสาขาที่มีขนาดเล็กลง และเริ่มเข้าไปในชุมชน
ซึ่งล้วนเป็นคู่แข่งทางการค้าของ 7-Eleven ได้
อ้างอิง http://bisnescafe.com/forum/view.php?id=69
........................................................................................................................................................
ธุรกิจ
ความหมายและความสำคัญของธุรกิจ
ความหมายของธุรกิจ
"ธุรกิจ"หมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
การจัดจำหน่าย และการบริการ โดยภายในหน่วยงานหรือ
ธุรกิจนั้น ๆ
มีการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาผสมผสานกันอย่างมีระบบ มีระเบียบตามกฏเกณฑ์ เพื่อตอบสนองความ
ต้องการของประชาชนหรือผู้บริโภค
ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดผลประโยชน์หรือบรรลุตามเป้าหมายของธุรกิจ
และ
องค์ประกอบของกิจกรรมทางธุรกิจ
จากความหมายของธุรกิจจะเห็นได้ว่าธุรกิจจะดำเนินได้นั้นต้องมีการนำกิจกรรมหลาย
ๆ อย่างมาประสานกัน ซึ่งกิจกรรมนั้น ๆ ก็คือ
การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบภายในธุรกิจนั้นเอง
หน้าที่ทางธุรกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ที่จะผสมผสานทรัพยากรที่มีอยู่ภายในธุรกิจหรือหน่วยงานเข้าด้วยกันอย่างมีระเบียบกฎเกณฑ์
และสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมเพื่อนให้สินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้นตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
ทรัพยากร (Resource) ที่หน่วยงานมีอยู่ คือ วัสดุ
อุปกรณ์ หรือสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่หน่วยงานใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4
ประเภทหรือเรียกสั้น ๆ ว่า 4 M's อันประกอบด้วย
1.
คน (Man) เป็นทรัพยากรแรกที่ก่อให้เกิดการดำเนินงานภายในธุรกิจ
ซึ่งนับรวมทั้ง ฝ่ายบริหาร
และฝ่ายปฎิบัติการ
2.
เงินทุน (Money or Capital) คือสินทรัพย์ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ
อาจจะอยู่ในรูปของ
เงินสดหรือสินทรัพย์อื่น
ๆ ก็ได้
3.
วัตถุดิบหรืออุปกรณ์ (Material) คืออาจจะเป็นรูปของวัตถุดิบถ้าธุรกิจนั้นเป็นธุรกิจการผลิต
เช่น
เครื่องจักรกล วัสดุ อะไหล่ต่าง ๆ หรืออาจใช้ในการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จได้
4.
การบริหารงานหรือการจัดการ (Management) คือกระบวนการหรือขั้นตอนในการนำคน
เงิน
ทุน
และวัตถุดิบหรือวัสดุอุปกรณ์ มาดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การดำเนินของหน้าที่ภายในธุรกิจ
เพื่อให้ทรัพยากรประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องแบ่งหน้าที่ต่าง ๆ ออกเป็น 5
หน้าที่ ดังนี้
1.
หน้าที่เกี่ยวกับการผลิต (Production Function)
2.
หน้าที่เกี่ยวกับการตลาด (Marketing Functon)
3.
หน้าที่เกี่ยวกับการเงิน (Financial Functon)
4.
หน้าที่เกี่ยวกับการบัญชี ( Accounting Functon)
5.
หน้าที่เกี่ยวกับบุคคลากร (Personal Functon)
การสร้างความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางธุรกิจ
หน้าที่ของธุรกิจทุกหน้าที่จะต้องมีการทำกิจกรรมที่ประสานกัน
เพื่อให้การปฎิบัติงานภายในธูรกิจมีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ซึ่งหน้าที่ต่าง ๆ
เหล่านั้นจะประสานกันได้ต้องมีการจัดโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน
พร้อมทั้งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหล้งนั้น ๆ
การจัดโครงสร้างขององค์กร (Organization Structure)
หมายถึง
รูปแบบของแผนงานภายในองค์กรที่มีการกำหนดขึ้นเป็นตำแหน่งต่าง ๆ
พร้อมระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งนั้น ๆ
ทำให้บุคคลผู้ที่ดำรงตำแหน่งสามารถปฎิบัติงานได้ทั้งในหน้าที่ของตนและในหน้าที่ที่ต้องประสานกับฝ่ายอื่น
ๆ เพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันภายในองค์กร
โดยแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์เดียวกันเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ
โครงสร้างขององค์กรโดยทั่วไปประกอบด้วย
1.
มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนเพื่อมอบหมายให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลปฎิบัติงาน
2.
มอบหมายงานที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 อาจจะเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
3.
กำหนดความรับผิดชอบของแต่ละหน้าที่
เพื่อให้ผู้ปฎิบัติรู้ขอบเขตของหน่วยงานที่ต้องปฎิบัติ
4.
จัดให้มีเอกภาพในการบังคับบัญชา
โดยการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กับกลุ่มผู้ปฎิบัติงานช่วยกัน
ดูแล
ปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
โครงสร้างขององค์กรโดยทั่วไปมีอยู่
2 ลักษณะคือ
1. โครงสร้างที่เป็นทางการ (Formal Organization
Structure) มีการกำหนดรูปแบบการจัด
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ชัดเจน มีผู็รับผิดชอบในแต่ละกลุ่ม
มีการปฎิบัติงานร่วมกันอย่างมีระเบียบ
แบบแผนและในองค์กรมักจะมีแผนภูมิโครงสร้างแสดงไว้ให้เห็น
2. โครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ (Lnformal Organization
Structure) เป็นโครงสร้างที่ไม่มีรูป
แบบที่ชัดเจน ไม่มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
ไม่มีการกำหนดกฎระเบียบใด ๆ แต่ละ
บุคคลในองค์กรจะปฎิบัติงานโดยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
โครงสร้างลักษณะนี้มักเกิดขึ้นใน
ธุรกิจขนาดเล็กหรือธูรกิจภานในครอบครัว
ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวในการช่วยกันทำงาน แต่
ในธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะมีโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ เช่น
พนักงานที่เรียนจบมาจากสถาบัน
เดียวกันทำงานอยู่ในบริษัทเดียวกัน
ทำให้เกิดการรวมกลุ่มทำให้เกิดความสนิทสนมรักใคร่กัน
เมื่องานมีปัญหาก็จะช่วยกันแก้ไข
ร่วมกันสร้างสรรค์งานให้ไปสู่เป้าหมายได้
ประโยชน์ของการจัดโครงสร้างภายในองค์กร
1. ช่วยให้ผู็ปฎิบัติงานรู้จักขอบข่ายของหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องปฎิบัติ
2.
เป็นเครื่องมือในการสั่งการและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับบุคคลในองค์กร
3. ก่อให้เกิดวิธีการที่จะปฎิบัติงานร่วมกัน
4. เสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฎิบัติมีความกระตือรือร้นในการปฎิบัติงานไปสู่เป้าหมาย
ความสัมพันธ์ภายในองค์กร
(Organization
Relationship)
ในองค์กรแต่ละองค์กรมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนหรือจะไม่มีการแบ่งหน้าที่ก็ตามแต่ทุกคนที่อยู่ในองค์กรต่างก็มีวัตถุประสงค์ในการปฎิบัติงานเหมือนกันคือความสำเร็จขององค์กร
ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้นั้นทุกคน
ทุกตำแหน่งหน้าที่จะต้องมีความสัมพันธ์กันเพื่อร่วมมือกันปฎิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
จากการกำหนดโครงสร้างขององค์กรพอจะแบ่งความสัมพันธ์ออกได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ
(Formal Relationship) ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยตำแหน่งหน้าที่
เช่น
พนักงานขายกับผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ในที่นี้พนักงานขายมีความสัมพันธ์ในบทบาท
ของผู้ใต้บังคับบัญชา
2. ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ
(Informal Relationship) ความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่เกี่ยวกับ
ตำแหน่งงาน
แต่ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ก็จะมีผลต่อการปฎิบัติงาน เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายการ
ตลาดกับพนักงานขายเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ
แต่ในขณะเดียวกันบุคคลทั้งสองอาจจบ
การศึกษามาจากสถาบัญเดียวกัน
นับถือเป็น รุ่นพี่รุ่นน้องกัน นับเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เป็น
ทางการ
ดังนั้น ธุรกิจต่าง ๆ
จึงมีความสัมพันธ์ทั้งสองลักษณะควบคู่กัน ก่อให้เกิดความร่วมมือกัน
มีผลทำให้งานในธุรกิจนั้นมีความก้าวหน้า
เจริญเติบโตและมีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความสำคัญของธุรกิจ
่่ ธุรกิจเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานในการสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือประชาชนโดยนำทรัพยากรต่าง
ๆ มาเข้ากระบวนการที่เรียกว่า "การดำเนินธุรกิจ"
ซึ่งธุรกิจเหล่านั้นมีผลต่อการพัฒนาประเทศและสังคม พอจะสรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินงานของธุรกิจก่อให้เกิดการนำทรัพยากรของประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. ช่วยให้ผู้บริโภคหรือประชาชนได้ใช้สินค้าหรือบริการ
เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น
3. ธุรกิจต่าง ๆ ช่วยขจัดปัญหาการว่างงาน
และช่วยกระจายรายได้ไปสู่ประชาชน
4. ช่วยเพิ่มพูนรยได้ให้กับประเทศในรูปแบบของภาษีอากร
5. ประชาชนหรือผู้บริโภคมีโอกาสได้เลือกสินค้าหรือบริการที่สนองความพึงพอใจสูงสุดได้ง่าย
เพราะธุรกิจต่าง ๆ
มีการแข่งขันกัน เพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการ
6. ประเทศสามารถนำภาษีอากรที่จัดเก็บไปพัฒนาประเทศได้
ความสำคัญของธุรกิจ
ธุรกิจเป็นหัวใจสำคัญของสังคม
สังคมจะเจริญก้าวหน้า มีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นที่ยอมรับของชาวต่างประเทศ
ก็ต้องอาศัยความเจริญของธุรกิจ ซึ่งอาจสรุปความสำคัญของธุรกิจดังนี้
1. ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศมีความก้าวหน้าและมั่นคง
เนื่องจากมีการลงทุนประกอบธุรกิจ ทำให้มีการหมุนเวียน มีการกระจายรายได้
ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น
2. ช่วยให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น
จากการที่ประชาชนมีรายได้ จำเป็นต้องเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมต่างๆ
ให้รัฐเพื่อที่จะนำรายได้เหล่านี้ไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
3. ช่วยให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
การทำธุรกิจย่อมต้องมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยอยูเสมอ
เพื่อเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และทันคู่แข่งขัน
4. ช่วยให้ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น
ทั้งนี้เพราะธุรกิจทให้มีการจ้างงาน ประชาชนมีรายได้
5. ช่วยลดปัญหาทางด้านสังคม
คือปัญหาเรื่อง การว่างงาน ถ้าประชาชนมีการว่างงานจำนวนมาก จะไม่มีรายได้
ปัญหาเกิดขึ้นตามมา เช่น การเกิดอาชญากรรม
ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับบุคคล
ในการประกอบธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
ธุรกิจต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องกับบุคคลหรือกลุ่มต่างๆดังนี้
1. เจ้าของกิจการ เป็นบุคคลที่ลงทุนทำธุรกิจในการผลิตสินค้า หรือ
บริการ
2. ลูกจ้างหรือพนักงาน คือ
กลุ่มบุคคลที่เป็นผู้มีหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการ
หรือทำหน้าที่อื่นๆเกี่ยวข้องในกิจการนั้น
3 ผู้ขาย ในที่นี้ได้แก่ ผู้ที่ทำหน้าที่จัดหาสินค้าสำเร็จรูปเพื่อการจำหน่ายต่อไปยังผู้บริโภค
4. ผู้ซื้อหรือผู้บริโภค
ได้แก่บุคคลที่ซื้อสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง
5. เจ้าหนี้ ได้แก่ แหล่งเงินทุนที่ผู้ประกอบการไปติดต่อ
เพื่อขอยืมเงินทุนในการประกอบธุรกิจ
6. คู่แข่งขัน คือ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจซึ่งผลิตสินค้า
และบริการประเภทเดียวกัน
7. รัฐบาล การประกอบธุรกิจต่างๆต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาล
ต้องปฎิบัติตามตามกฎระเบียบที่รัฐกำหนดขึ้น
หน้าที่ของการประกอบธุรกิจ
การประกอบธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป้นรูปแบบใดๆก็ตาม จะต้องมีหน้าที่หรือกิจกรรมที่คล้ายคลึงกันมีขั้นตอนและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอยู่ตลอด
กิจกรรมเหล่านี้ได้แก
1.
การผลิต
เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์โดยการแปรรูปวัตถุดิบหรือทรัพยากรเพีอให้เป็นสินค้าหรือบริการเพื่อให้เกิดความพึงพอใจในการบริโภค
2.
การจัดหาเงินในการประกอบธุรกิจ เงินทุน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากอย่างหนึ่ง
ในการประกอบธุรกิจ การจัดหาเงินทุนเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ สามารถหาได้จาก 2 แหล่ง คือ
ก. แหล่งเงินทุนภายใน
เป็นเงินที่ได้มาจกส่วนของเจ้าของกิจการ
ข. แหล่งเงินทุนภายนอก
เป็นเงินที่ได้มาจากภายนอกกิจการ เช่น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนาคาร
3. การจัดหาทรัพยากรทางด้านกำลังคน
ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีความสำคัญมากที่สุด
4. การบริหารทางการตลาด
คือการดำเนินงานต่างๆที่จะทำให้สินค้าและบริการถึงมือผู้บริโภค โดยที่ผู้บริโภค
จะได้รับความพึงพอใจมากที่สุด
ธุรกิจแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมที่กระทำได้ 7 ประเภทคือ
1. ธุรกิจเกษตร(Agriculture) ธุรกิจการเกษตรเป็นธุรกิจพื้นฐานของคนไทยที่ยึดถือเป็นอาชีพมาช้านาน
ได้แก่ การทำนา ทำสวน ทำไร่ การประมง การเลี้ยงสัตว์ และการทำป่าไม
2. ธุรกิจเหมืองแร่(Mineral) ธุรกิจเหมืองแร่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการขุดเจาะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติต่าง
ๆ มาใช้ เช่น ถ่านหิน ดีบุก น้ำมัน ปูนซีเมนต์ ฯล
3 ธุรกิจอุตสาหกรรม(Manufacturing) ธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นธุรกิจการผลิตและบริการทั่วไปทั้งอุตสาหกรรม
ขนาดย่อมและขนาดใหญ่ ซึ่งแบ่งได้ดังนี
3.1 อุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือุตสาหกรรมขนาดย่อม ธุรกิจประเภทนี้เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กใช้แรงงานจากสมาชิกในครอบครัว
โดยใช้เวลาว่างจากการประกอบอาชีพหลักให้เกิดประโยชน์ วัสดุต่างๆ หาได้ในท้องถิ่น
ผลิตภัณฑ์เป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่น สืบทอดจากบรรพบุรุษ เช่น
อุตสาหกรรมจักสานอุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา
อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป ฯลฯ
3.2 อุตสาหกรรมโรงงาน อุตสาหกรรมโรงงานเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มี่มีการผลิตสินค้าจากโรงงานถาวร
มีเครื่องจักรที่ทันสมัย และเกิดการจ้างแรงงานจากบุคคลภายนอก
และใช้เงินลงทุนจำนวนมาก มีกระบวนการผลิตที่ดี ผลผลิตที่ได้จึงมีคุณภาพดีและปริมาณจำนวนมาก
เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหาร รถยนต์ ฯลฯ
4 . ธุรกิจก่อสร้าง(Cnostruction) ธุรกิจก่อสร้างเป็นอุตสาหกรรมที่ทำต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมต่างๆ
ที่กล่าวข้างต้น โดยนำเอาผลผลิตของอุตสาหกรรมมาใช้ เช่น การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย
ถนน สะพาน เขื่อน ทางระบายน้ำ เป็นต้น
5. ธุรกิจการพาณิชย์(Commercial) ธุรกิจการพาณิชย์เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการตลาด
มีการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภค ทำให้ซื้อหาสินค้าต่างๆ
ได้สะดวกสบายตามความต้องการ ซึ่งต้องอาศัยคนกลางดำเนินธุรกิจ ได้แก่ พ่อค้าส่ง
พ่อค้าปลีก นายหน้าและตัวแทนจำหน่าย
6 . ธุรกิจการเงิน(Financial) ธุรกิจการเงินเป็นธุรกิจที่ส่งเสริมให้ธุรกิจต่างๆ
มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นเพราะเป็นองค์กรทีให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการเงิน
และการลงทุน เช่น การซื้อที่ดิน การสร้างโรงงาน การซื้อเครื่องจักร วัตถุดิบ
ค่าจ้างแรงงาน นอกจากนี้การจัดจำหน่ายก็ต้องใช้เงินลงทุนซื้อสินค้าเพื่อขายต่อ
การเก็บรักษาสินค้า ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าโฆษณา
ผู้ประกอบการสามารถพึ่งพาธุรกิจการเงินได้ด้วยการกู้ยืมเพื่อนำไปลงทุนดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
ธุรกิจการเงิน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพ่อการส่งออกและนำเข้า
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
กองทุนหมู่บ้าน และบริษัทประกันภัย เป็นต้น
7 ธุรกิจบริการ(Services) ธุรกิจบริการเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ผลิตการบริการ
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในการอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค เช่น
บริการขนส่ง การสื่อสาร ธุรกิจโรงแรม การท่องเที่ยว โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์
ภัตตาคาร สถานบันเทิงต่างๆ ร้านซักรีด ร้านถ่ายรูป สถานเสริมความงาม ฯลฯ 8 ธุรกิจอื่น ๆ ธุรกิจลักษณะอื่นๆ
เป็นธุรกิจที่นอกเหนือไปจากธุรกิจดังกล่าวข้างต้น ได้แก่
ผู้ประกอบการอาชีพอิสระต่างๆ เช่น แพทย์ ครู เภสัชกร วิศวกร สถาปนิก จิตรกร
ประติมากร เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมี ธุรกิจที่เกิดขึ้นในยุคเทคโนโลยีการสื่อสารอย่าง ธุรกิจ
พาณิชยกรรมออนไลน์ หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ
ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่
การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต
แม้กระทั่งซื้อขายออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่าย
และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง
เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย
พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา
ในการทำธุรกรรมลงได้
ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2544 ให้ความหมาย
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าเป็น
ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
ตัวอย่างเช่น
นายสมชายเปิดร้านขายสินค้าโอท็อป ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ทำให้ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเข้ามาดูตัวอย่างสินค้า และติดต่อซื้อขายกันได้
โดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีสารสนเทศที่รุดหน้า
ทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต
ทำให้การสื่อสารกันเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้หลายระดับ
อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้ทันที ทำให้สามารถเสนอธุรกรรมที่หลากหลาย เช่น
การชื้อขาย การบริการหลังการขาย การโอนเงินชำระค่าบริการสินค้า การขนส่ง เป็นต้น
โดยมีกฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาคุ้มครองเรื่องความปลอดภัย
และยังมีกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามาให้ความคุ้มครองด้วยในเรื่องของการเงิน
อ้างอิงมาจาก http://krusuranart.com/index.php/2011-11-24-13-35-31/2011-12-01-17-20-00สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ หมายถึง
ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค หรือเป็นแรงกดดันที่มีอิทธิพลส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
แบ่งออกได้เป็น 2
ประเภท คือ
1. ปัจจัยที่ควบคุมได้
(Controllable Factors)
1.1 ผลิตภัณฑ์ (Product)
1.2 ราคา (Price)
1.3 ช่องทางการขาย (Place)
1.4 การส่งเสริมการขาย
(Promotion)
2. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
(Uncontrollable Factors)
2.1 สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
(Economics Environment)
2.2 สภาวะแวดล้อมทางด้านกฎหมายและการเมือง
(Legal and Political Environment)
2.3 สภาวะแวดล้อมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
(Social and Cultural Environment)
2.4 สภาวะแวดล้อมทางการแข่งขัน
(Competitor Environment)
2.5 สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางวิชาการ
(Technology Environment)
2.6 พฤติกรรมของผู้บริโภค
(Consumer Behavior)
แหล่งข้อมูลทางธุรกิจ
ข้อมูลทางธุรกิจมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจทั้งในด้านการผลิต
การจำหน่าย การเงิน และการจัดการ การมีข้อมูลทางธุรกิจที่เพียงพอ
จะช่วยในการตัดสินใจ การวางแผน
และการกำหนดยุทธวิธีในการประกอบการให้เป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ
เหนือกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งแบ่งออก เป็น 2 ประเภทได้แก่
1. แหล่งข้อมูลภายในกิจการ
(Internal Sources) เช่นเอกสารต่าง ๆ ประวัติการซื้อขาย
เอกสารทางการบัญชี เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาประกอบการวางแผน บอกแนวโน้ม
และกำหนดวิธีการดำเนินงานของธุรกิจในอนาคตได้
2. แหล่งข้อมูลภายนอกกิจการ
(External Sources) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า
ซึ่งสามารถหาได้จากหนังสือ นิตยสาร หรือข่าวสารต่าง ๆ
ทั้งในหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะผลงานวิจัย งานวิชาการ
ล้วนเป็นสิ่งที่ช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
https://sites.google.com/site/chamnam2554/home/naew-kar-sxn1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น