ม.2

ภาคเรียนที่ 1
ขอบคุณภาพจาก Google
เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
ผ้า คือ สิ่งที่ได้จากการนำวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่สังเคราะห์ขึ้นมาสานหรือทอจนเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ฝ้าย ใยไหม ไนลอน เป็นต้น ประโยชน์ของผ้าคือการนำมาตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ประเภทผ้าต่างๆ และในด้านอื่นๆ เช่น การตกแต่งสถานที่ เป็นต้น วัสดุที่หลักใช้ในการผลิตผ้า ได้แก่ วัสดุจากสัตว์ วัสดุจากพืช แร่ธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์เคมี
ผ้านั้นมีมานานแล้วตั้งแต่ก่อนคริสต์ศักราช โดยจากการสำรวจพบผ้าลินินในถ้ำที่จอร์เจียเมื่อกว่า 34,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งนับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นนึงเกี่ยวกับผ้าที่สำคัญ[1][2]
สำหรับปัจจุบันนั้นคุณภาพ และขนาดของผ้าจะถูกกำหนดโดยโรงงาน แต่เทคนิคการถักทอ และลวดลายบนผ้านั้นได้รับการสืบสานจากวัฒนธรรมโบราณ และการออกแบบสมัยใหม่จนกลายเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัย

ประเภทการใช้งาน
ผ้านั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน แต่ที่พบมากที่สุดคือ การนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าและภาชนะใส่ของ เช่น กระเป๋า และกระเช้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านด้วย เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู เป็นต้น รวมถึงในวงการวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมได้นำคุณสมบัติของผ้าไปใช้ในการกรองต่างๆ อีกด้วย
โดยเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมมีการผลิตชุดสำหรับงานเฉพาะด้านอีกด้วย เช่น ชุดสำหรับช่างซ่อมรถยนต์ที่มีความหนาเป็นพิเศษ ชุดสำหรับนักดับเพลิงที่มีความไวไฟต่ำ และชุดสำหรับแพทย์ในห้องผ่าตัดที่มีการเคลือบสารพิเศษสำหรับฆ่าเชื้อโรคโดยเฉพาะ เป็นต้น


วัสดุที่ใช้ในการผลิตผ้า
วัสดุที่ใช้ในการผลิตผ้านั้นมีหลายประเภท ดังนี้
สัตว์ วัสดุที่ได้จากจะนำมาจากผม ขน ผิวหนัง และเส้นใย (ดักแด้) ที่ได้จากสัตว์ เช่น ขนแกะ ขนแพะ เป็นต้น ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ เสื้อขนแกะ และผ้าไหม
พืช วัสดุที่ได้จะนำมาจากเส้นใยของพืช เช่น ใยสัปปะรด ใยฝ้าย เป็นต้น ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ เสื้อใยสัปปะรด เสื้อที่ทำจากฝ้ายสำหรับเด็กอ่อน
แร่ธรรมชาติ วัสดุที่ได้จะนำมาจากเส้นใยของแร่ธรรมชาติ เช่น ใยหิน และใยบะซอลต์ ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ ผ้าคลุมด้านล่างของประตูที่มีความทนทานมากๆ (นิยมในต่างประเทศ) สำหรับป้องกันรอยขีดข่วนจากสัตว์โดยเฉพาะ เช่น สุนัข แมว เป็นต้น
สังเคราะห์เคมี วัสดุที่ได้มาจากการสังเคราะห์ขึ้นด้วยกระบวนการทางเคมี เช่น ไนลอน เส้นใยทนไฟ เป็นต้น ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ ถุงน่องของผู้หญิง เสื้อคลุมที่ติดไฟยากสำหรับนักดับเพลิง นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผ้าทางการแพทย์อีกด้วย เช่น ชุดสำหรับแพทย์ในห้องผ่าตัดที่มีการเคลือบสารพิเศษสำหรับฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น

การจัดระเบียบตู้เสื้อผ้า
มีแบบตู้เสื้อผ้าดีไซน์เก๋ๆ มาฝากด้วยคะเรามาเริ่มจัดระเบียนตู้เสื้อผ้ากันดีมั๊ยคะสาวๆ ^_^ ตู้เสื้อผ้าใครที่กำลังรก มีวิธีจัดตู้เสื้อผ้าให้เป็นระเบียบมาฝาก….
  จัดเสื้อผ้าแยกกลุ่ม แยกประเภท เช่น กางเกงขายาว, กางเกงขาสั้น, เสื้อแขนยาว, เสื้อแขนสั้น, กระโปร่ง
 จัดเก็บโดยแขวนตามเฉดสี แยกสีพื้นและลวดลาย ไล่น้ำหนักจากอ่อนไปเข้ม
 เสื้อยืด ชุดนอน ควรพับเก็บ จะประหยัดเนื้อที่แขวน
 เสื้อผ้าน้ำหนักมากแขวนราวล่าง เสื้อน้ำหนักเบาแขวนราวบน

 เสื้อผ้ามีน้ำหนัก เช่น สูท ให้จัดเก็บกับไม้แขวนแบบหนา เพื่อรักษารูปทรง
  ของใช้ชิ้นเล็ก เช่น เนคไท ผ้าพันคอ ถุงเท้า หรือเข็มขัด ให้เก็บไว้ในกล่องหรือตะกร้า ถ้าเป็นกล่องที่แบ่งช่องเล็กๆ เก็บเป็นชิ้นๆ ก็จะหยิบใช้งานง่าย
 ช่องเปิดด้านบนสุดของตู้ ให้เก็บของชิ้นใหญ่ ที่หยิบง่าย ไม่ใช้บ่อย เช่น ผ้าปู ปลอกหมอน หมอน หรือกระเป๋า ส่วนล่างสุดเก็บรองเท้าที่ทำความสะอาดดีแล้ว
  ตะกร้าในตู้ ให้เก็บชุดชั้นใน หรือเสื้อผ้าใช้แล้วที่รอการซัก

 ติดดวงไฟในตู้เพื่อสำรวจหาเสื้อผ้าได้สะดวก กรณีเป็นไฟแบบเปิดปิดพร้อมการเปิดตู้ก็จะช่วย ประหยัดไฟ แต่ต้องมั่นใจว่าปิดหน้าตู้สนิท และไฟดับแล้ว เพราะไฟที่เปิดตลอดเวลาอาจร้อนจนลุกไหม้
  พยายามหมั่นสำรวจตู้เสื้อผ้าทุกหกเดือน รื้อสิ่งของที่ไม่ได้ใช้ไปบริจาค และจัดเก็บแต่ละส่วนให้เป็นระเบียบอยู่เสมอ
 ปิดตู้ทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อกันฝุ่นและแสงแดดทำลายผ้า และควรดูดฝุ่นในตู้และบนชั้น เดือนละ 1-2 ครั้ง

 ใส่อุปกรณ์ดักจับความชื้นในตู้ และเพิ่มเครื่องหอมเช่น การบูร บุหงารำไป แก้ปัญหากลิ่นอับและเพิ่มความหอมให้เสื้อผ้า








...........................................................................................................

เสื้อผ้าของเราที่สวมใส่นั้นนอกจากจะถูกออกแบบตัดเย็บมาอย่างสวยงามแล้ว
เรายังสามารถตกแต่งให้สวยงามนอกเหนือจากการออกแบบตัดเย็บมาได้
ซึ่งเราจะใช้ทักษะความสามารถด้านศิลปะ การสังเกต ความชอบ ความพึงพอใจ
ในการที่จะทำ เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้  เพื่อความประหยัด เพื่อความ
ภาคภูมิใจในตนเองแสดงถึงคุณค่าในตนเอง  และแสดงถึงความเป็นตัวของตน
เอง  ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การตกแต่งเครื่องแต่งกายสามารถใช้วัสถุดิบต่างๆ ที่
หาได้ง่าย ใกล้ตัว  นำมาสร้างสรร ให้สวยงาม การตกแต่งเสื้อผ้าทำได้ต่างๆ ดัง
นี้ เช่น  การปักผ้าด้วยมือการปัก ด้วยเครื่องไฟฟ้า  การปักผ้า การเพนท์ผ้า การมัด
ย้อม การติดลูกไม้ การถักริมชายเสื้อ การเขียนผ้าบาติก เป็นต้น เพื่อเป็นการปกปิด
ส่วนที่พกพร่องบนผ้าที่เรายังสวมใส่ได้อยู่ และเพื่อยืดอายุการใช้งานออกไป
ได้อีกด้วย
ความรู้เพิ่มเติม
ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ  เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีโดยการใช้เทียนปิดส่วน
ที่ไม่ต้องการให้สีติด และใช้วิธีการแต้ม ระบายหรือย้อมในส่วนต้องการให้ติดสี

การปักผ้าด้วยมือ
การปักผ้าด้วยมือ เป็นงานศิลปะแขนงหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณค่าและความสวยงามให้
แก่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และสิ่งเครื่องใช้ที่ทำจากผ้า ซึ่งปักผ้าจะได้ฝึกความ
ละเอียดรอบคอบและความทนทานในการทำงานมากกว่าการใช้เครื่องไฟฟ้าปักผ้า

ขอบคุณภาพจาก  Google

ประเภทของการปักผ้า
1. การปักหน้าเดียว  นิยมปักลายแคบๆบนหน้าหมอน
2.  การปักสองหน้า  นิยมปักลายแคบๆ บนผ้าเช็ดหน้า ผ้าห่ม ผ้าม่าน
3. การปักแรเงา นิยมใช้ปักลายดอกไม้ ใบไม้
วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการปักผ้าด้วยมือ
วัสดุ  อุปกรณ์
รายละเอียด
ผ้า
 
ขอบคุณภาพจาก Google

ผ้าสีพื้นไม่มีลวดลาย  เนื้อหนาปานกลาง
เช่น ผ้าฝ้าย  ผ้าลินิน ผ้าพอลิเอสเทอร์
เป็นต้น
ด้าย

ด้ายหรือไหมปักที่สีไม่ตก  ซึ่งมีให้เลือกหลายชนิดหลายขนาด เช่น ด้วยเบอร์ 5
เหมาะสำหรับปักลายปักลายละเอียด  ด้ายโลหะใช้ได้กับการปักผ้าด้วยมือ  และปักด้วยจักรด้วยมือและปักด้วยจักรไฟฟ้า
เข็ม


เข็มปักที่นิยมใช้ ได้แก่ เข็มเบอร์ 11  หรือ
เบอร์12   เพราะเป็นเข็มเรียวเล็ก จึงปักลวดลายได้ละเอียดสวยงาม

กรรไกร

 กรรไกรที่ใช้งานปักมี2  ลักษณะ  ได้แก่
กรรไกรปลายโค้งใช้ตัดเล็มเส้นไหมที่ติดกับเส้นไหมจากไจไหมหรือหลอด

สดึง

 เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผ้าตึง ขณะที่ปักผ้า 

งานตัวอย่าง

ขอบคุณภาพจาก Google




เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ในการถนอมชุดสวย
             เวลาถอดเสื้อผ้าควรทำอย่างระมัด ระวัง อย่ากระชากหรือดึงอย่างรุนแรง ถ้าซิปติดต้องใจเย็นค่อย ๆ รูด ใช้ขี้ผึ้งหรือเทียนไขทาจนทำให้ซิปรูดคล่อง
เสื้อชุด หรือเสื้อโค้ทถอดออกจากตัวแล้วไม่ควรพาดวางไว้บนเก้าอี้นานหลายชั่วโมง  ควรใส่ไม้แขวนไว้เพื่อรักษารูปทรงอยู่เสมอ
ควรนำเสื้อผ้าออกจากตู้มาผึ่งแดดบ้าง แล้วจึงเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้าดังเดิม วิธีนี้จะทำให้เสื้อผ้าไม่มีกลิ่นอับ
ผ้าแพร หรือผ้าไหม  ซักแล้วไม่ควรบิด แต่ใช้มือบีบหรือใช้วิธีห่อด้วยผ้าขนหนู ช่วยซับน้ำ ไม่ควรใช้เตารีดไอน้ำ  ให้ใช้ผ้าแห้งสะอาดคลุมผ้าเวลารีด แต่ต้องพรมน้ำให้ชื้นทั่วทั้งผืนก่อนรีด
ชุดว่าย น้ำ  ไม่ว่าจะว่ายน้ำทะเลหรือสระว่ายน้ำ  ควรได้รับการซักตากทันที  เพราะคราบเกลือ  ทราย  หรือคลอรีนอาจเกาะติดอยู่บนชุดอาบน้ำทำให้สีตก ง่ายและเสียเร็ว
ผ้าลินิน  ควรรีดด้านใน  เพื่อไม่ให้ผ้าเป็นมัน
ละลายผง ซักฟอกในน้ำอุ่น จะละลายได้เร็วกว่า และสิ้นเปลืองน้อยกว่าละลายในน้ำเย็น
ผ้าขาว ที่ออกเหลืองเพราะใช้มานาน  เช่น  ถุงเท้า ให้ใช้เปลือกไข่ป่นละเอียดใส่ลง ไปในอ่างแช่ผ้าหรือแช่น้ำส้มสายชูทิ้งไว้สักครู่  จะทำให้ผ้าขาวขึ้น
เสื้อผ้าที่ เลอะคราบครีม เนย น้ำมัน ขจัดคราบโดยนำแป้งที่ใช้สำหรับทาตัวมา โรย ใช้กระดาษทิชชู หรือกระดาษบางอื่นๆ วางทับ นำเตารีดที่มีความร้อนพอสมควร ทับบนกระดาษ จนแป้งดูดคราบออกจนหมด แล้วจึงนำไปซัก
เสื้อผ้า ที่เปื้อนคราบเลือด ขจัดคราบโดยนำนมข้นทาทันที ทิ้งไว้สักครู่แล้วนำไปขยี้น้ำออก
เสื้อผ้า ที่เปื้อนคราบเลือดจางๆ ขจัดคราบโดยใช้เบคกิ้งโซดาผสมน้ำสักเล็ก น้อย จนแป้งข้นๆ ถูเบาๆ เมื่อแห้งจึงปัดฝุ่นออก
เสื้อผ้า ที่เปื้อนคราบเลือดฝังแน่น ขจัดคราบโดยใช้ฟองน้ำจุ่มน้ำเย็น ที่ผสมเกลือจนชุ่ม ถูเบาๆ จนรอยค่อยๆ จางลง แล้วใช้น้ำเปล่าถูอีกครั้ง สุดท้ายใช้ทิชชูซับน้ำให้แห้ง
เสื้อผ้า ที่เปื้อนคราบกาแฟ ขจัดคราบโดยใช้แป้งข้าวเจ้าถู แล้วซักได้ตามปกติ
เสื้อผ้า ที่เลอะคราบน้ำตาเทียน ขจัดคราบโดยใช้ก้อนน้ำแข็งขูดเกล็ดเทียน ออกให้มากที่สุด จากนั้นจึงใช้กระดาษประกบบริเวณที่เปื้อนทั้ง 2 ด้าน แล้วใช้เตารีดอุ่นๆ รีดทับจนน้ำตาเทียนซึมออกมาติดกับกระดาษ
เสื้อผ้าที่ เลอะโคลน ขจัดคราบโดยปล่อยให้โคลนแห้ง ใช้แปรงปัดออก ซักด้วยน้ำเย็นหลายๆ ครั้ง จนไม่มีน้ำโคลนออกมา จึงซักด้วยผงซักฟอก
เสื้อผ้า ที่ขึ้นราเล็กน้อย ขจัดคราบโดยรีบนำผ้าที่ขึ้นราใหม่ๆ ซักในน้ำสบู่ร้อนๆ ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ / ให้บีบมะนาวลงไป แล้วแช่ผ้าไว้ในผงซักฟอกสักครู่ จึงซักผ้าตามปกติ
เสื้อผ้า ที่เปื้อนรอยสนิม ขจัดคราบโดยนำผ้ามาชุบน้ำให้เปียกก่อน บีบน้ำมะนาวลงไปบนรอยเปื้อน ทิ้งไว้สักครู่ แล้วจึงนำไปซักตามปกติ
เสื้อที่ เลอะคราบน้ำมันรถ (น้ำมันเครื่อง) ขจัดคราบโดยใช้มะนาวถูบริเวณ ที่เปื้อน จนรอยเปื้อนจางลง แล้วจึงนำไปซัก
เสื้อผ้าที่ เลอะคราบน้ำหมาก น้ำหมึก ขจัดคราบโดยก่อนซักให้นำเกลือป่นโรยตรง รอยเปื้อน แล้วบีบน้ำมะนาว ลงไปให้ชุ่ม ผึ่งแดดไว้ครึ่งวัน จึงค่อยนำไปซัก
ผ้าเปื้อนหมึก ผ้าเปื้อนหมึกปากกาลูกลื่น ถ้าหมึกยังไม่แห้งให้ใช้เกลือโรยตรงรอยหมึก แล้วถูด้วยมะนาวก่อนซัก ถ้าหมึกแห้งแล้วให้จุ่มรอยเปื้อนในนมสด แล้วค่อยนำไปซัก ถ้าผ้าเปื้อนหมึกอินเดียนอิงค์ ให้ใช้มะนาวบีบลงตรงรอยเปื้อนทิ้งไว้สักครู่ก่อนนำไปซัก
หรือสามารถลบออกได้โดยใช้ฟองน้ำชุบแอลกอฮอล์เช็ดตรงรอยเปื้อนรอยเปื้อนหมึก ซักออกได้โดยการใช้ข้าวสุกถูบริเวณที่เปื้อนแล้วนำไปแช่น้ำหรือนำเอลมอน (เห่งยิ้ง) หรือแป๊ะก๊วยไปทุบละเอียด แช่น้ำ ใช้น้ำของมันถูรอยเปื้อน แล้วนำไปล้างออกก็ได้
เสื้อผ้า ที่เลอะกาว ขจัดคราบได้โดย ใช้น้ำส้มสายชูเช็ดที่รอยเปื้อน นำมาแช่ในน้ำเย็น แล้วซักตามปกติ
เสื้อผ้าที่ เลอะยางกล้วย ขจัดคราบโดยใช้มะนาวที่ฝานเป็นชิ้นบางๆ ถูตรงรอยเปื้อน ที่เป็นคราบดำ แล้วรีบนำมาซักทันที
เสื้อผ้าที่ เลอะยาทาเล็บ ขจัดคราบโดยซับที่รอยเปื้อนด้วยน้ำยาล้างเล็บ และเช็ดด้วยผ้าที่สะอาด จนกระทั่งรอยเปื้อนจางลง (ควรลองหยดน้ำยาล้าง เล็บลงผ้าก่อน)
เสื้อผ้าที่ เลอะยาแดง ขจัดคราบโดยเช็ดรอยเปื้อนด้วยแอมโมเนีย หรือซักด้วยน้ำส้มสายชูผสมน้ำ
เสื้อผ้าที่ เลอะคราบเหงื่อ มี 3 วิธี
1.ขจัดได้โดยซักด้วยน้ำที่ผสมน้ำส้ม สายชูเล็กน้อย หรือน้ำมะนาว
2.แช่ผ้าไว้ในน้ำยาซักผ้าที่ทำให้เจือจางใน น้ำจากนั้นซักได้ตามปกติ
3.ละลายแอสไพริน 2 เม็ดลงในน้ำ แล้วแช่ผ้าไว้สักครู่ จึงซักตามปกติ
เสื้อผ้าที่เลอะสี ปากกาเมจิก ให้ถูด้วยน้ำมันสน แล้วนำไปซัก
เสื้อผ้าที่ เลอะคราบปากกาลูกลื่น ขจัดคราบโดยใช้ฟองน้ำชุบแอลกอฮอล์เช็ดจนรอย เลอะจางลง แล้วจึงนำไปซัก
เสื้อผ้าที่ เลอะคราบดินสอ ใช้ยาสีฟันป้ายลงบนรอยดินสอ แล้วขยี้
เสื้อผ้าที่ เลอะลิปสติก เอามันเปลวหมูทาตรงรอยเปื้อน หรือใช้น้ำมันหมูทา แล้วจึงซักในน้ำสบู่ร้อนๆ หรือใช้ผงซักฟอกขาว โรยตรงรอยเปื้อนแล้วขยี้ แล้วจึงซักตามปกติ / ใช้วาสลินถูตรงรอยเปื้อนแล้วนำมาซักตามปกติ / นำมาแช้ไว้ในน้ำผสมเกลือทิ้งไว้ 1 คืน จะทำให้รอยลิปสติกหาย
เสื้อผ้าที่ เลอะยางหญ้า ยางดอกไม้ ขจัดคราบโดยนำมาซักในน้ำสบู่ที่ข้นและ ร้อน ถ้ายังไม่ออกให้ใช้สารฟอกขาวช่วย
ผ้า เปื้อนหมากฝรั่ง อย่างที่รู้กันว่าเสื้อผ้าติดหมากฝรั่งนั้นซักยาก เคล็ดลับแสนง่าย คือ การใช้ผ้าห่อน้ำแข็งมาประคบบริเวณรอยคราบ 5 นาที หมากฝรั่งจะเริ่มจับตัวเป็นก้อนแข็งจึงค่อย ๆ แกะออก หมากฝรั่งจะหลุดล่อนออกมาอย่างง่ายดายโดยไม่ทิ้งใยเหนียว ๆ ไว้เลย


ข้อมูลอ้างอิง http://www.phahomhom.com/
                     https://th.wikipedia.org

............................................................................................................................................................















ขอบคุณภาพจาก Google



เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
                  เครื่องดื่มเป็นอาหารประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นของเหลว มีส่วนผสม
ของเนื้ออาหาร กากใยของอาหาร น้ำ  เนื้อธัญพืช ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่าง
กาย อย่างที่ร่างกายต้องการ เพื่อช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่ขาดในร่างกาย  เช่น
วิตามินต่างๆ ที่ร่างกายควรได้รับเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนมากขึ้น
แค่รับประทานอาหารอย่างคงไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
       ดังนั้นเครื่องดื่มที่มีประโยช์ที่ทำมาจาก ธัญพืช เมล็ดพืช และผลไม้ จึง
เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาในกลุ่มผู้รักสุขภาพ และดื่มเวลาหิว
เพราะไม่ด้องยุ่งยาก ซับซ้อน และสะดวกสบายในการพกพา ดื่มกินได้ทุกที่

ความหมายของเครื่องดื่ม
       เครื่องดื่ม หมายถึง อาหารประเภทน้ำซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษต่อร่างกาย
ขึ้นอยู่กับส่วนผสมในเครื่องดื่มนั้นๆ เครื่องดื่มแบ่งได้เป็น 2  ประเภท คือ
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

ประเภทของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ดี คือ
       1 เครื่องดื่มประเภทนม ผลิตจากนมโค และนมแพะ เช่นผง นมปรุงแต่ง
นมเปรี้ยว นมสดสเตอริไลซ์  โยเกิร์ต นมผง  ฯลฯ

2. เครื่องดื่มประเภทผักและผลไม้  จากผักและผลไม้ชนิดเดียว หรือหลายชนิดผสม
กันรวมถึงผลิตจากสมุนไพรต่างๆ เช่น สะระแหน่ ตะไตร้ ขิง
3. เครื่องดี่มประเภทธัญพืช


น้ำลูกเดือย

ความสำคัญและประโยชน์ของเครื่องดื่ม
    เครื่องดื่มเป็นอาหารเหลวที่นำเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ไม่ต้องเคี้ยว เหมาะสำหรับคน
ที่ร่างกายปกติและผู้ป่วย  เมื่อดื่มเข้าไปแล้วร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชนืได้ทัน
ที และช่วยให้ร่างกายสดชื่น  นอกจากนี้ เครื่องดื่มแต่ละประเภท ยังให้ประโยชน์
แตกต่างกัน เช่น นมให้โปรตีนและแคลเซียมน้ำผลไม้ให้วิตามินและใยอาหาร  น้ำขิง
ช่วยขับลม เป็นต้น

หลักการเตรียม ประกอบ จัด ตกแต่ง และบริการเครื่องดื่ม

           การเตรียมเครื่องดื่ม
-          เลือกใช้ส่วนผสมและวัตถุดิบที่มีคุณภาพและมีมากในท้องถิ่น

-          ล้างผักหรือผลไม้ที่จะใช้ทำเครื่องดื่มให้สะอาด

-          ชั่ง ตวงส่วนไว้ให้พร้อม

การประกอบเครื่องดื่ม

-          ใช้อุปกรณ์หรื่อเครื่องมือในการทำที่สะอาด ปราสจากกลิ่น

-          ใช้เครื่องปั่นแทนการสับผักและผลไม้

-          ใช้น้ำเชื่อมแทนน้ำตาลทรายกับน้ำ เพื่อประหยัดเวลาในการผสมเครื่องดื่ม

-          ถ้าต้องการเก็บไว้นาน  ควรต้มให้เดือด

การจัดเครื่องดื่ม

-          จัดให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ดื่ม สภาพอากาศ และโอกาส

-           จัดลงในภาขนะที่เหมาะสม เช่น เครื่องดื่มเย็นใส่แก้ว เครื่องดื่มร้อนใส่แก้ว

กระเบื้องมีหูและจานรอง

 การตกแต่งเครื่องดื่ม

-          ตกแต่งด้วยวัสดุโรรมชาติที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ดื่ม เช่น ผักหรือผลไม้ชนิดเดียวกับ
เครื่องดื่มนั้น ๆ ดอกไม้ที่ล้างสะอาดแล้วเป็นต้น

-          ตกแต่งด้วยช้อนคนและหลอด

การบริการเครื่องดื่ม

-          บริการร้อนหรือเย็นตามลักษณะของเครื่องดื่ม

-          บริการและเก็บแก้วหรือถ้วยเครื่องดื่มทางขวามือ

-          เครื่องต้องเพียงพอกับจำนวนผู้ดื่ม

-           ผู้บริการต้องมีสุขอนามัยที่ดี


วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียม ประกอบ จัด ตกแต่ง และบริการเครื่องดื่ม

เครื่องชั่ง

ถ้วยตวงของเหลว

หม้อต้ม

ถ้วยกระเบื้องมีหู

เหยือกแก้ว

เครื่องปั่นไฟฟ้า

ถ้วยตวง

ผ้าขาวบาง

กระซอน

ซ้อนตวง



ขั้นตอนการเตรียม ประกอบ จัด ตกแต่ง และการบริการเครื่องดื่ม
เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงงาน และได้
ผลงานที่มีคุณภาพ มีขั้นตอนดังนี้
3. ขั้นประเมิน เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ผลงานว่ามีข้อบกพร่องหรือไม่อย่างไร
เพื่อใช้เป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขผลงานให้ดีขึ้นในครั้งดังนี้
2. ขั้นปฎิบัติ เป็นขั้นตอนการลงมือเตรียม ประกอบ จัด ตกแต่ง และบริการเครื่อง
ดื่มตามที่วางแผนไว้
1. ขั้นวางแผน เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ตำรับเครื่องดื่ม และวางแผนเกี่ยวกับ
การเตรียม ประกอบ จัด ตกแต่ง และบริการเครื่องดื่ม

ขอบคุณภาพจาก Google


น้ำนมถั่วเหลือง
ขอบคุณภาพจาก Google

ส่วนผสม
       ถั่วเหลือง,น้ำเซื่อม,เกลือ,น้ำเปล่า,ใบเตยหอมหั่นฝอย
อุปกรณ์
       หม้อต้ม,  ผ้าขาวบาง,  เครื่องปั่น,  ถ้วยกระเบื้องมีหู
วิธีทำ
       1. แช่ถั่วเหลืองทิ้งไว้ 1  คืน เพื่อให้พองตัว
       2. ตักเอากากถั่วออก ล้างให้สะอาด ทิ้งให้สะเด็ดน้ำ นำไปปั่นกับเครื่องปั่น
           ให้ละเอียดใส่น้ำเปล่าลงไปให้ปั่นได้ ใส่ใบเตยหอมลงไปปั่นด้วยกัน
       3. นำมากรองเอากากออกด้วยผ้าขาวบาง บีบให้น้ำนมถั่วเหลืองออกมา
       4. นำไปต้มให้เดือด คนเป็นระยะๆ ปิดไฟทันที
      
การตกแต่งและการบริการ
       1. ตักใส่ถ้วยหรือแก้วที่มีหู เติมน้ำเซื่อม ตามความชอบความหวานของผู้ดื่ม
       2. สามารถเติมอย่างอื่นๆ เสริม เช่น ถั่วแดงต้ม ลูกเดือยต้ม เม็ดแมงลัก ฯลฯ

=============================================================






..........................................................................................................................................................
ภาคเรียนที่ 2


ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร

การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต  มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา  การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์  การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก   การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร  การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น   การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง   ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ  สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน 



อ่านเพิ่มเติม               
ความหมายของการสื่อสาร 
            คำว่า  การสื่อสาร (communications)  มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า  communis หมายถึง  ความเหมือนกันหรือร่วมกัน   การสื่อสาร (communication)    หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
ความสำคัญของการสื่อสาร 
การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้ 
1.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ  ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร   ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน  การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา   พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร 

2.  การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม    ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม   ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี  สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง  วิถีชีวิตของผู้คน  ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 

3.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ  
องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร มี 4 ประการ ดังนี้
1.  ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด ได้แก่ ภาษาและอากัปกิริยาต่าง ๆ เพื่อสื่อสารความคิด  ความรู้สึก ข่าวสาร ความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใด ๆ หรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตาม   จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม    เช่น  ผู้พูด  ผู้เขียน  กวี  ศิลปิน นักจัดรายการวิทยุ  โฆษกรัฐบาล  องค์การ  สถาบัน  สถานีวิทยุกระจายเสียง  สถานีวิทยุโทรทัศน์   กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์  หน่วยงานของรัฐ  บริษัท  สถาบันสื่อมวลชน  เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ส่งสาร

1.  เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ

2.  เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี     

3.  เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ  ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร

4.  เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร

5.  เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร 

2.  สาร (message) หมายถึง  เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ   ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ  ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้  เช่น  ข้อความที่พูด   ข้อความที่เขียน   บทเพลงที่ร้อง  รูปที่วาด  เรื่องราวที่อ่าน  ท่าทางที่สื่อความหมาย  เป็นต้น

2.1  รหัสสาร (message code)ได้แก่ ภาษา สัญลักษณ์ หรือสัญญาณที่มนุษย์ใช้เพื่อแสดงออกแทนความรู้ ความคิด อารมณ์ หรือความรู้สึกต่าง ๆ

2.2  เนื้อหาของสาร  (message content) หมายถึง บรรดาความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะถ่ายทอดเพื่อการรับรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกันหรือโต้ตอบกัน
 
2.3  การจัดสาร (message treatment) หมายถึง การรวบรวมเนื้อหาของสาร แล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นไปอย่างมีระบบ   เพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหา ที่ต้องการด้วยการเลือก ใช้รหัสสารที่เหมาะสม

3.  สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร  หมายถึง  สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร  ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร   ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร
การแบ่งประเภทของสื่อมีหลากหลายต่างกันออกไป  ดังนี้
(สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2542: 6 )
เกณฑ์การแบ่ง
ประเภทของสื่อ
ตัวอย่าง
1.  แบ่งตามวิธีการเข้า  และถอดรหัส
สื่อวัจนะ (verbal)
สื่ออวัจนะ (nonverbal)
คำพูด ตัวเลข
สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง
หนังสือพิมพ์ รูปภาพ
2.  แบ่งตามประสาทการรับรู้
สื่อที่รับรู้ด้วยการเห็น
สื่อที่รับรู้ด้วยการฟัง
สื่อที่รู้ด้วยการเห็นและการฟัง
นิตยสาร
เทป วิทยุ
โทรทัศน์ ภาพยนตร์
วีดิทัศน์
3.  แบ่งตามระดับการสื่อสาร หรือจำนวนผู้รับสาร
สื่อระหว่างบุคคล
สื่อในกลุ่ม
สื่อสารมวลชน
โทรศัพท์ จดหมาย
ไมโครโฟน
โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์
4.  แบ่งตามยุคสมัย
สื่อดั้งเดิม
สื่อร่วมสมัย
สื่ออนาคต
เสียงกลอง ควันไฟ
โทรศัพท์ โทรทัศน์ เคเบิล
วีดิโอเทกซ์
5.  แบ่งตามลักษณะของสื่อ
สื่อธรรมชาติ
สื่อมนุษย์หรือสื่อบุคคล
สื่อสิ่งพิมพ์
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
สื่อระคน
อากาศ แสง เสียง
คนส่งของ ไปรษณีย์ โฆษก
หนังสือ นิตยสาร ใบปลิว
วิทยุ วีดิทัศน์
ศิลาจารึก สื่อพื้นบ้าน
หนังสือ ใบข่อย 
6.  แบ่งตามการใช้งาน
สื่อสำหรับงานทั่วไป
สื่อเฉพาะกิจ
จดหมายเวียน โทรศัพท์
วารสาร จุดสาร วีดิทัศน์
7.  แบ่งตามการมีส่วนร่วม
ของผู้รับสาร
สื่อร้อน
สื่อเย็น
การพูด
การอ่าน

4.  ผู้รับสาร (receiver)  หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร
จากผู้ส่งสาร   และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร  หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร   เช่น   ผู้เข้าร่วมประชุม   ผู้ฟังรายการวิทยุ   กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย  ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์  เป็นต้น
การสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตามจุดประสงค์หรือไม่ผู้ส่งสารควรคำนึงถึงหลักการสื่อสาร ดังนี้  (ภาควิชาภาษาไทย สถาบันราชภัฏเทพสตรี ลพบรี, 2542: 13-14)

1.  ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการสื่อสาร 

2.  ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อสาร 

3.  คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง  การอ้างอิงคล้ายกัน   ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น

4.  การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง  ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน 

5.  ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์ ที่จุดใดจุดหนึ่ง 

6.  คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการ 
สื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร 

7.  คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2551: 17)  กล่าวถึง วัตถุประสงค์ของการสื่อสารไว้ดังนี้

     1.  เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform)  ในการทำการสื่อสาร  ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร  เรื่องราว  เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ
               
     2.  เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education)  ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้  หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ  เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
     
    3.  เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain)  ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ  หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร  โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป  ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน  หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ

    4.  เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ  หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร  และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม  หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
    
     5.  เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร  การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร  ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้  เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำการสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
   
      6.  เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide)  ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ  การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ  หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ  ทางเลือกในการ ตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น

 1 อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร   อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
 1.1  ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ 
                 1.2  ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม 
                 1.3  ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม 
                 1.4  ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร 
                 1.5  ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร 
                 1.6  ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
         

          2 อุปสรรที่เกิดจากสาร
                  2.1  สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป 
                  2.2  สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน 
                  2.3  สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ 
                  2.4  สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน 
          3 อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือ ช่องทาง
                3.1  การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ 
                 3.2  การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี 
                 3.3  การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร 
          4 อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
                 4.1  ขาดความรู้ในสารที่จะรับ 
                 4.2  ขาดความพร้อมที่จะรับสาร 
                 4.3  ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร 
                 4.4  ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร 
                 4.5  ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป


อ้างอิงจาก http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter1-1.html



บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเทอร์เน็ต
    จากปัญหาการล่อลวงที่เกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นับวันยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตรการป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากคนที่ขาดจิตสำนึกที่ดีของสังคม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและสังคมเพื่อหลีกเลี่ยงและรับมือจากความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้ควรยึดถือไว้เป็นแม่บทของการปฏิบัติ ดังนี้

1.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2.  ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.  ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.  ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.  ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.  ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.  ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน

10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท

...................................................................................................................................................................

การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
            เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับทุกบ้านทุกครอบครัว  การใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า จึงควรใช้อย่างทนุถนอมให้ความสำคัญ และหมั่นดูแลรักษาให้ใช้งานได้ดี เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าของคุณให้นานขึ้น วันนี้เราจึงมีข้อมูลดี ๆ ในการดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มาฝากกัน ลองทำตามคำแนะนำเหล่านี้ดู เครื่องใช้ไฟฟ้าของคุณจะได้ใช้ได้อีกนาน ๆ นะคะ

อ่านเพิ่มเติม
http://www.megahome.co.th/th/product/product_detail/47

1. พัดลม   เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่วยอำนวยความสะดวก  ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกๆบ้าน  บางครั้งเครื่องปรับอากาศเสียก็ต้องใช้พัดลมช่วย   เพราะประเทศไทยอยู่ในแถบอากาศร้อน มีพัดลมมีหลายประเภท เช่นประเภท ตั้งพื้น  แขวนติดผนัง  ห้อยเพดาน  เป็นต้น
การดูแลรักษาทำได้ดังนี้
                                1. เปิดความเร็วลมพอควร
                                2. เปิดเฉพาะเวลาใช้งาน
                                
3. ควรเปิดหน้าต่างใช้ลมธรรมชาติแทนถ้าทำได้
                                4. ไม่ควรให้เด็กพัดลม
                                
5. มั่นเช็ดล้าง ทำความสะอาด เดือนละครั้ง

2.เตารีด
          เตารีดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน ซึ่งในการรีดแต่ละครั้งจะกินไฟมาก ดังนั้นจึงควรรู้จัดวิธีใช้อย่างประหยัดและปลอดภัย ดังนี้
                การดูแลรักษาทำได้ดังนี้
                
1. ก่อนอื่นควรตรวจสอบดูว่าเตารีดอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานหรือไม่ เช่น สาย ตัวเครื่อง เป็นต้น
                
2.  ตั้งปุ่มปรับความร้อนให้เหมาะสมกับชนิดของผ้า
                3. อย่าพรมน้ำจนเปียกแฉะ
                
4. ดึงเต้าเสียบออกก่อนจะรีดเสร็จประมาณ 2-3 นาที แล้วรีดต่อไปจนเสร็จ

3.ตู้เย็น เครื่องแช่อาหาร
                 เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในบ้านอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งต้องรักษาดูแลเพื่อให้ยังคงใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และอยู่กับเราไปนานที่สุด ส่วนประกอบของตู้เย็นมี ส่วนคือ
                1. Evaporator   คือ ตัวกลางของการถ่ายความร้อน
                2. Condenser  คือ  เครื่องควบแน่น
                3. Pressure  reducer คือ ตัวลดความดัน
                4. Compressor คือ  เครื่องอัดสารทำความเย็น
การดูแลตู้เย็น เราคววรทำได้ดังนี้
                1ตั้งอุณหภูมิให้พอเหมาะกับอาหารแต่ละประเภท เช่น เนื้อสัตว์ควรใส่ไว้ในช่องแช่แข็งอุณหภูมิ -5 องศา
                2. ไม่นำของร้อนใส่ตู้เย็น ควรทิ้งไว้ให้อาหารเย็นก่อน

            
3. ปิดประตูตู้เย็นให้สนิท

            
   4. หากยางขอบประตูรั่วให้รีบแก้ไข  ซ่อมแซมทันที

               5
เลือกตู้เย็นหรือตู้แช่ชนิดมีประสิทธิภาพสูง

               6. ควรใช้ตู้เย็นขนาดเหมาะกับครอบครัว

               
7.ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากแหล่งความร้อน ให้หลังตู้ห่างจากฝาเกิน 15 เซ็นติเมตร เพื่อระบายความร้อนได้สะดวก ไม่เปลืองไฟฟ้า

              8. ควรหมั่นทำความสะอาดแผงระบายความร้อน

              
9.ควรเก็บเฉพาะอาหารเท่าที่จำเป็น

การเลือกซื้อตู้เย็นและตู้แช่ มีคำแนะนำให้ท่านพิจารณาก่อนซื้อ ดังนี้

           
1. เลือกขนาดให้พอเหมาะกับความต้องการของครอบครัว

           2. ตู้เย็นแบบประตูเดียวกินไฟน้อยกว่าแบบ ประตู

            
3. ควรวางตู้เย็นให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

            
4. ตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะกับจำนวนของที่ใส่

            
5อย่าเปิดตู้เย็นทิ้งไว้นาน ๆ และอย่านำของร้อนมาแช่

            6. ต้องละลายน้ำแข็งเมื่อเห็นว่าน้ำแข็งเกาะหนามากเกินไป

5. หม้อหุงข้าว  เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอีกชนิดหนึ่ง หากรู้จักใช้อย่างถูกต้อง จะสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มาก โดยมีข้อแนะนำดังนี้

   
                
1. ไม่ควรให้ก้นหม้อตัวในเกิดรอยบุบ จะทำให้ข้าวสุกช้า

                
2.หมั่นตรวจบริเวณแท่นความร้อนในหม้อ อย่าให้เม็ดข้าวเกาะติด จะทำให้ข่าวสุกช้าและเปลืองไฟ

            
    3. ใช้ขนาดหม้อหุงข้าวที่เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว

                 
4. ควรดึงปลั๊กออกเมื่อข้าวสุกพอแล้ว ปัจจุบันหม้อหุงข้าวไฟฟ้ามีใช้กันมาก หม้อต้มน้ำ หม้อต้มกาแฟ

                 5. ควรปิดฝาให้สนิทขณะต้ม

                  6. ขณะที่หุงข้าวไม่ควรเปิดฝาหม้อหุงข้าว

                  7. ถอนปลั๊กออกเมื่อไม่ใช้งาน

                  8มั่นตรวจดูแผ่นความร้อนที่รองหม้อในให้ดี เพราะอาจมีแมลงติดอยู่  เช่นจิ้งจก 

                  9. ไม่ควรให้เด็กเล่นหม้อหุงข้า
 

6.เครื่องซักผ้า
                เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากในปัจจุบัน ช่วยทุนแรง และสร้างความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตเป็นอย่างมา ประหยัดเวลา เพราะเราสามารถทำอย่างอื่นได้ในขณะนั้น   วิธีการดูแลรักษามีดังนี้

           
1. ควรใส่ผ้าแต่พอเหมาะ ไม่น้อยเกินไป และไม่มากจนเกินกำลังเครื่อง

           
2. ควรใช้น้ำเย็นซักผ้า ส่วนน้ำร้อนให้ใช้เฉพาะกรณีรอยเปื้อนไขมันมาก

           
3ควรใส่ผ้าที่จะซักตามคำแนะนำของแต่ละเครื่อง

           4.  หากมีผ้าต้องซัก 1-2 ชิ้น ควรซักด้วยมือ

           
5. หากมีแสงแดดไม่ควรใช้เครื่องอบแห้ง ควรจะนำเสื้อผ้าที่ซักเสร็จมาตากแดด

7.เตาอบไมโครเวฟ
          เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ ใช้ความร้อนมาทำให้อาหารสุก หากให้ความร้อนสูญเสียไปโดยการใช้ไม่ถูกวิธี ทำให้อาหารสุกช้าลง กินกระแสไฟเพิ่มขึ้นจึงมีข้อแนะนำการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้อย่างประหยัดคือ

           1. ควรเตรียมเครื่องปรุงในการประกอบอาหารให้พร้อมก่อนใช้เตา

            
2. ควรใช้ภาชนะก้นแบนและเป็นโลหะจะทำให้รับความร้อน จากเตาได้ดี

           3. ในการหุ่งต้มอาหารควรใส่น้ำให้พอดีกับจำนวนอาหาร

            
4. ในขณะอบ หรือ อุ่นอาหาร ไม่ควรเปิด

            
5. ถอดปลั๊ก เก็บสายหลังการใช้งาน

              6. ทำความสะอาดหลังการใช้งานเสมอ
            
8.เครื่องทำน้ำอุ่น   เครื่องทำน้ำอุ่นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องน้ำ ร่วมกับน้ำ ถ้าหากเกิดกระแสไฟรั่ว อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เราควรดูแลเมื่อใช้อย่างปลอดภัย วิธีการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นให้ประหยัดและปลอดภัย


            
1. ปิดวาล์วทันทีเมื่อไม่ใช้งาน

            
2. หากมีรอยรั่วควรรีบทำการแก้ไขทันที

           3. ต่อสายลงดินในจุดที่จัดไว้ให้ของเครื่องทำน้ำอุ่น

            4. ปิดสวิชต์ไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำอุ่นเมื่อไม่ใช้

            
5. ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่อง

            
6ใช้เครื่องขนาดพอสมควร

            
7ปรับปรุงความร้อนไม่ให้ร้อนเกินความจำเป็น

            
8. ปิดก๊อกทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน

            
9. ในฤดูร้อนไม่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน หรือน้ำอุ่น

9.เครื่องปรับอากาศ     ประเทศไทยส่วนมากมีอากาศร้อน ดังนั้นเครื่องปรับอากาศจึงมีความจำเป็นอย่างมาก การดูแลเบื้องต้นของผู้ใช้ ช่วยในการประหยัดไปด้วย  ควรมีช่างมาดูแลด้วยอีกที  การดูแลเครื่องปรับอากาศควรปฎิบัติดังนี้

            
1.ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งเมื่อไม่อยู่  

           2. ปิดประตูหน้าต่างและผ้าม่านกันความร้อนจากภายนอก

            
3. ตั้งอุณหภูมิไม่ควรต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส

            
4.ควรใช้เครื่องขนาดเหมาะสมกับขนาดห้อง

            
5. ควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง

            
6. ควรติดตั้งเครื่องระดับสูงพอเหมาะ และให้อากาศร้อนระบายออกด้านหลังเครื่องได้สะดวก

           7. ควรบุผนังห้อง และหลังคาด้วยฉนวนกันความร้อน

           8. ควรบำรุงรักษาเครื่องให้มีสภาพดีตลอดเวลา

            
9. ควรหมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ และแผงระบายความร้อน

            
10. ในฤดูหนาวขณะที่อากาศไม่ร้อนมากเกินไป ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ

            
11. ปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิดไม่ให้ความเย็นรั่วไหล

       การใช้เครื่องปรับอากาศให้มีความเย็นที่สบายต่อร่างกาย จะประหยัดค่าไฟฟ้าอย่างได้ผล ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้

            
1ควรเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสมกับขนาดของห้อง

            
2. ควรใช้ผ้าม่านกั้นประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอก

            
3. ตั้งปุ่มปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อร่างกาย (ประมาณ 26 องศาเซลเซียส)

            
4หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ

            
5ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่องปรับอากาศ


                เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทุกชนิดล้วนประดิษฐ์มาจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ซึ่งเป็นจำเป็นและมีความสะดวกสบายมากขึ้น ช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ดังเราควรใช้มันอย่างประหยัด และดูแลรักษาให้ยังคงใช้งานกับเราให้ได้ยาวนานที่สุด เพื่อความประหยัด ปลอดและถูกต้องในการใช้งาน
......................................................................................................................................................................................

อาชีพ  หมายถึง  กิจกรรมที่เป็นภาระหน้าที่บุคคลหนึ่งต้องรับผิดชอบในการทำ ให้เกิดเป็นชิ้นเป็นอัน หรือเกี่ยวเนื่องกับผู้อื่นเพื่อเป็นการขับเคลื่อนองค์กรนั้นๆ  โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน

อ่านเพิ่มเติม
ความสำคัญและประโยชน์ของอาชีพ
1. สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว
2. ช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
3. ทำให้เกิดประสบการณ์เพิ่มขึ้น
4. ทำให้เกิดการยอมรับในสังคม
5. แสดงความสามรถและเอื้อประโยชน์ต่อผู้อื่น
แนวทางการเลือกอาชีพ
1.  วิเคราะห์ตนเอง  เช่น จุดเด่น จุดด้อย บุคคลิภาพ ความถนัดและความชอบ และความสามรถพิเศษ   เป็นต้น
2. วิเคาระห์งาน  เช่น  รายได้ ความมั่นคง ความเสี่ยง เวลาทำงาน ประเภทของงาน  เป็นต้น
 การตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพ
1. ความสำคัญของการสร้างอาชีพ
-         ด้านตนเอง  เลือกสายที่เรียน เช่นสายอาชีพ  สายสามัญ
-         ด้านความรู้ ติดตามข่าวสาร ความต้องการทางการตลาด การรองรับสายงานอาชีพ ตลาดแรงงาน
-         ทักษะและความสามารถเฉพาะตัว หรือความสามารถพิเศษ
-         ด้านเงอนทุน ถ้าเป็นอาชีพอิสระจำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุน หรือ ทรัพย์สินในการทำธุรกิจ
2.  คติธรรมในการประกอบอาชีพ
              ความรู้สึกที่ดีของบุคคลที่มีต่ออาชีพ เห็นคุณค่าและความสำคัญของอาชีพเป็นผลจากการประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพ  ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนด ให้บุคคลนั้นแสดงพฤติกรรม ตอบสนองต่ออาชีพในทางที่ดี  สร้างความภาคภูมิใจ ได้รับการยกย่องทางสังคมเป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ประกอบอาชีพควรมีคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังนี้
1. ความซื่อสัตย์
2.  ความรับผิดชอบ
3. ความอดทน เพียรพยายาม
4. ความเชื่อมั่นในตนเอง
5.  มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
6. ความรอบรู้ทันสมัย
7. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
หลักธรรม  อิทธิบาท  ที่เราสามารถนำมาใช้กับการทำงานในชีวิตประจำวัน
1. ฉันทะ  ความพอใจในการทำงาน พอใจที่มีความสุขที่ได้ทำ
2.  วิริยะ  ความเพียรพยายามในการทำงานแม้งานจะยากเพียงใด
3. จิตตะ  ความคิดที่ดีต่อการทำงาน ต่อหน้าที่ของตนเอง ทำด้วยความเต็มใจ
4. วิมังสา  ความไตร่ตรองการทำงานเพื่อให้งานออกมาดี
คุณสมบัติจำเป็นในการประกอบอาชีพ
1. คุณวุฒิ คือ ระดับการศึกษาที่ได้รับ เช่นระดับ ประกาศณียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก   เป็นต้น
2. วัยวุฒิ  คือ ช่วงอายุที่เหมาะสมแก่เวลาที่รับทำงาน หรือวัยทำงานตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป
3. เพศ  คือ  เพศชาย เพศหญิง การบงบอกถึงรูปลักษณะของบุคคล
4. บุคคลิกภาพ คือ ลักษณะนิสัย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะบุคคล
              4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
              4.2 มีความเป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ มีไหวพริบ
              4.3 มีความรับผิดชอบ
              4.4 มีความขยัน
              4.5 มีความขยัน
              4.6 มีความซื่อสัตย์
              4.7 มีสุขภาพจิตดี
5. มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์
6. มีประสบการณ์ทักษะการทำงาน
ความมั่นคง 
1. ความเชื่อถือของสถานประกอบ
2. ลักษณะของการจ้างงาน
3. ขนาดของสถานประกอบการ
....................................................................................................................................................................................
ทักษะกระบวนการทำงาน
การทำงานเป็นสิ่งมนุษย์ทำ ด้วยหน้าที่ได้รับมอบหมายในองค์กร เพื่อให้การทำงานมีคุณภาพอันแสดงผลงานของตนเองออกมา ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการทำงานตามวิธีการที่มีขั้นตอนดังต่อไปนี้เพื่อให้ได้รับความสำเร็จ
1.ทักษะกระบวนการทำงาน  
หมายถึงการลงมือทำงานต่างๆด้วยตนเองโดยมุ่งเน้นการฝึกฝนวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอโดยมีขั้นตอนต่างๆดังนี้
1.      การวิเคราะห์งาน    เป็นการมองภาพรวมของงานเมื่อได้รับเป้าหมายว่าเป้าหมายของงานคืออะไรและทำอย่างไรจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
2.      การวางแผนในการทำงาน  เป็นการกำหนดเป้าหมายของงานระยะเวลาในการดำเนินงานกำลังคนที่ใช้ในการทำงานค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ   เป็นต้น
 3.      การลงมือทำงาน   เป็นการลงมือทำงานตามแผนที่วางไว้ด้วยความมุ่งมั่นอดทนและรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ
4.      การประเมินผลการทำงาน   เป็นการตรวจสอบ  ทดสอบหรือทดลองใช้ตั้งแต่การวางแผนการทำงานว่ารอบคอบ   รักดุม  ครอบคลุม  และสามารถปฏิบัติตามได้หรือไม่
2.ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา   จะช่วยให้เกิดความคิดในการหาทางออก  เทื่อพบปัญหาในเวลาหรือสถานการณ์การทำงาน  โดยมีขั้นตอน ดังนี้
 1.       สังเกต  นักเรียนควรฝึกตนเองให้เป็นคนช่างสังเกต  สามารถศึกษาหรือรับรู้ข้อมูลมองเห็นและเข้าใจปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นได้
 2.      วิเคราะห์   เมื่อทราบปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว   ควรวิเคราะห์ว่าปัญหาที่มีมากน้อยเพียงใดและลำดับความสำคัญของปัญหา           
3.     สร้างทางเลือก  ควรสร้างทางเรื่องในการแก้ปัญหาซึ่งอาจจะมีมากมายโดยการสร้างทางเลือกนั้นอาจจะมาจากการศึกษาค้นคว้าการทดลอง   การตรวจสอบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการแก้ปัญหา
4.    ประเมินทางเลือก    ทางเลือกต่างๆที่สร้างขึ้นมาจากการศึกษาค้นคว้าหรืการตรวจสอบต่างๆควรพิจารณาให้ละเอียดว่าทางเลือกใดที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาที่สุด
3.ทักษะการทำงานร่วมกัน ขั้นตอนการทำงานมีหลักการดังนี้
1.      รู้จักบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม   ในการทำงานร่วมกับคนอื่นนั้น    ควรรู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง
2.      มีทักษะในการพูดแสดงความคิดเห็นและอภิปรายในกลุ่ม     เมื่อทำงานร่วมกับคนอื่นควรฝึกฝนที่จะเป็นผู้ฟังที่ดี ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น
3.      มีคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน  เพื่อความสุขในการทำงานร่วมกับผู้อื่น  และหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
 4.      สรุปผลโดยการจัดทำรายงาน   การทำงานกลุ่มใดๆก็ตามควรมีการสรุปผลออกมาอย่าเป็นรูปธรรม 
อาจอยู่ในรูปแบบของการจัดทำรายงาน
 5.     นำเสนองาน  เมื่อมีรายงานออกมาอย่างชัดเจน  เป็นเอกสารแล้ว ควรมีทักษะในการนำเสนองานการปฏิบัติงานของกลุ่มในรุ)แบบต่างๆ
4.ทักษะการแสวงหาความรู้  ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถฝึกฝนได้จากการปฏิบัติต่อไปนี้
1.     กำหนดปัญหาในการสืบค้นข้อมูลความรู้    คือการตั้งหัวข้อ   ตั้งประเด็นในการศึกษาค้นคว้า
2.      การวางแผนในการสืบค้นข้อมูลความรู้  เมื่อคิดหาหัวข้อหรือประเด็นที่เราต้องการจะสืบค้นได้แล้ว  ควรวางแผน กำหนดเป้าหมายว่าจะสืบค้นข้อมูลความรู้จากที่ใด
3.      การดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ตามแผนที่กำหนดไว้  คือการดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ในหัวข้อที่ต้องการ  ตามแผนงานที่วางไว้
4.      การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นความรู้   การนำข้อมูลต่างๆมาพิจารณาอย่างละเอียดถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของข้อมูล
 5.     การสรุปผลจากการสืบค้นความรู้และการบันทึกจัดเก็บเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้ออกมาตามต้องการควรบันทึกจัดเก็บข้อมูลที่รวบรวมมาได้ต่างๆในรูปแบบที่ง่ายต่อการค้นหา  
 5.ทักษะการจัดการ ทักษะการจัดการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
5.1  การจัดการระบบงานโดยสามารถจัดสรรเวลาทำงานให้เป็นระบบปฏิบัติงานตามกฎระเบียบแบบแผนและขั้นตอนต่างๆได้
5.2.    การจัดการระบบคนโดยมีความสามารถในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน  แบ่งปัน จัดสรรให้เหมาะสมกับงาน       


แหล่งอ้างอิง:  เสาวนีย์ ประทีปทอง และคณะ หนังสือการงานอาชีพและเทคโนโลยี สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)

………………………………………………………………………………………………………


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การพัฒนาบุคคลภาพการปรับปรุงตนเอง

ขอบคุณภาพจากGoogle การพัฒนาบุคคลภาพการปรับปรุงตนเอง 1. ความหมายของคำว่า  บุคคิลภาพ  (Personality)   หมายถึง ลักษณะเฉพาะทางของบุคคล...