วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ธุรกิจ

 ความหมายและความสำคัญของธุรกิจ

ความหมายของธุรกิจ
      "ธุรกิจ"หมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดจำหน่าย และการบริการ โดยภายในหน่วยงานหรือ
ธุรกิจนั้น ๆ มีการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาผสมผสานกันอย่างมีระบบ มีระเบียบตามกฏเกณฑ์ เพื่อตอบสนองความ
ต้องการของประชาชนหรือผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดผลประโยชน์หรือบรรลุตามเป้าหมายของธุรกิจ และ
ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม

อ่านเพิ่มเติม
องค์ประกอบของกิจกรรมทางธุรกิจ
    จากความหมายของธุรกิจจะเห็นได้ว่าธุรกิจจะดำเนินได้นั้นต้องมีการนำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างมาประสานกัน ซึ่งกิจกรรมนั้น ๆ ก็คือ การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบภายในธุรกิจนั้นเอง
    หน้าที่ทางธุรกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะผสมผสานทรัพยากรที่มีอยู่ภายในธุรกิจหรือหน่วยงานเข้าด้วยกันอย่างมีระเบียบกฎเกณฑ์ และสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมเพื่อนให้สินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้นตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
    ทรัพยากร (Resource) ที่หน่วยงานมีอยู่ คือ วัสดุ อุปกรณ์ หรือสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่หน่วยงานใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหรือเรียกสั้น ๆ ว่า 4 M's อันประกอบด้วย
                1. คน (Man) เป็นทรัพยากรแรกที่ก่อให้เกิดการดำเนินงานภายในธุรกิจ ซึ่งนับรวมทั้ง ฝ่ายบริหาร
                   และฝ่ายปฎิบัติการ
                2. เงินทุน (Money or Capital) คือสินทรัพย์ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ อาจจะอยู่ในรูปของ
                    เงินสดหรือสินทรัพย์อื่น ๆ ก็ได้
                3. วัตถุดิบหรืออุปกรณ์ (Material) คืออาจจะเป็นรูปของวัตถุดิบถ้าธุรกิจนั้นเป็นธุรกิจการผลิต
                    เช่น เครื่องจักรกล วัสดุ อะไหล่ต่าง ๆ หรืออาจใช้ในการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จได้
                4. การบริหารงานหรือการจัดการ (Management) คือกระบวนการหรือขั้นตอนในการนำคน เงิน
                    ทุน และวัตถุดิบหรือวัสดุอุปกรณ์ มาดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    การดำเนินของหน้าที่ภายในธุรกิจ เพื่อให้ทรัพยากรประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องแบ่งหน้าที่ต่าง ๆ ออกเป็น 5 หน้าที่ ดังนี้
                1. หน้าที่เกี่ยวกับการผลิต  (Production Function)
                2. หน้าที่เกี่ยวกับการตลาด  (Marketing Functon)
                3. หน้าที่เกี่ยวกับการเงิน  (Financial Functon)
                4. หน้าที่เกี่ยวกับการบัญชี  ( Accounting Functon)
                5. หน้าที่เกี่ยวกับบุคคลากร  (Personal Functon)
 การสร้างความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางธุรกิจ
    หน้าที่ของธุรกิจทุกหน้าที่จะต้องมีการทำกิจกรรมที่ประสานกัน เพื่อให้การปฎิบัติงานภายในธูรกิจมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ซึ่งหน้าที่ต่าง ๆ เหล่านั้นจะประสานกันได้ต้องมีการจัดโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน พร้อมทั้งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหล้งนั้น ๆ
การจัดโครงสร้างขององค์กร  (Organization Structure)
    หมายถึง รูปแบบของแผนงานภายในองค์กรที่มีการกำหนดขึ้นเป็นตำแหน่งต่าง ๆ พร้อมระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งนั้น ๆ ทำให้บุคคลผู้ที่ดำรงตำแหน่งสามารถปฎิบัติงานได้ทั้งในหน้าที่ของตนและในหน้าที่ที่ต้องประสานกับฝ่ายอื่น ๆ เพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันภายในองค์กร โดยแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์เดียวกันเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ
โครงสร้างขององค์กรโดยทั่วไปประกอบด้วย
            1. มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนเพื่อมอบหมายให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลปฎิบัติงาน
            2. มอบหมายงานที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 อาจจะเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
            3. กำหนดความรับผิดชอบของแต่ละหน้าที่ เพื่อให้ผู้ปฎิบัติรู้ขอบเขตของหน่วยงานที่ต้องปฎิบัติ
            4. จัดให้มีเอกภาพในการบังคับบัญชา โดยการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กับกลุ่มผู้ปฎิบัติงานช่วยกัน
                ดูแล ปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
โครงสร้างขององค์กรโดยทั่วไปมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
                1. โครงสร้างที่เป็นทางการ (Formal Organization Structure) มีการกำหนดรูปแบบการจัด
                     กิจกรรมต่าง ๆ ที่ชัดเจน มีผู็รับผิดชอบในแต่ละกลุ่ม มีการปฎิบัติงานร่วมกันอย่างมีระเบียบ
                     แบบแผนและในองค์กรมักจะมีแผนภูมิโครงสร้างแสดงไว้ให้เห็น
                2. โครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ (Lnformal Organization Structure) เป็นโครงสร้างที่ไม่มีรูป
                     แบบที่ชัดเจน ไม่มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ไม่มีการกำหนดกฎระเบียบใด ๆ แต่ละ
                     บุคคลในองค์กรจะปฎิบัติงานโดยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โครงสร้างลักษณะนี้มักเกิดขึ้นใน
                     ธุรกิจขนาดเล็กหรือธูรกิจภานในครอบครัว ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวในการช่วยกันทำงาน แต่
                     ในธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะมีโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ เช่น พนักงานที่เรียนจบมาจากสถาบัน
                     เดียวกันทำงานอยู่ในบริษัทเดียวกัน ทำให้เกิดการรวมกลุ่มทำให้เกิดความสนิทสนมรักใคร่กัน
                     เมื่องานมีปัญหาก็จะช่วยกันแก้ไข ร่วมกันสร้างสรรค์งานให้ไปสู่เป้าหมายได้
ประโยชน์ของการจัดโครงสร้างภายในองค์กร
             1. ช่วยให้ผู็ปฎิบัติงานรู้จักขอบข่ายของหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องปฎิบัติ
             2. เป็นเครื่องมือในการสั่งการและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับบุคคลในองค์กร
             3. ก่อให้เกิดวิธีการที่จะปฎิบัติงานร่วมกัน
             4. เสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฎิบัติมีความกระตือรือร้นในการปฎิบัติงานไปสู่เป้าหมาย
ความสัมพันธ์ภายในองค์กร (Organization Relationship)
    ในองค์กรแต่ละองค์กรมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนหรือจะไม่มีการแบ่งหน้าที่ก็ตามแต่ทุกคนที่อยู่ในองค์กรต่างก็มีวัตถุประสงค์ในการปฎิบัติงานเหมือนกันคือความสำเร็จขององค์กร ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้นั้นทุกคน ทุกตำแหน่งหน้าที่จะต้องมีความสัมพันธ์กันเพื่อร่วมมือกันปฎิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จากการกำหนดโครงสร้างขององค์กรพอจะแบ่งความสัมพันธ์ออกได้ดังนี้
            1. ความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ (Formal Relationship) ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยตำแหน่งหน้าที่ 
                เช่น พนักงานขายกับผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ในที่นี้พนักงานขายมีความสัมพันธ์ในบทบาท
                ของผู้ใต้บังคับบัญชา
            2. ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ (Informal Relationship) ความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่เกี่ยวกับ
                ตำแหน่งงาน แต่ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ก็จะมีผลต่อการปฎิบัติงาน เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายการ
                ตลาดกับพนักงานขายเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ แต่ในขณะเดียวกันบุคคลทั้งสองอาจจบ
                การศึกษามาจากสถาบัญเดียวกัน นับถือเป็น รุ่นพี่รุ่นน้องกัน นับเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เป็น
               ทางการ
    ดังนั้น ธุรกิจต่าง ๆ จึงมีความสัมพันธ์ทั้งสองลักษณะควบคู่กัน ก่อให้เกิดความร่วมมือกัน มีผลทำให้งานในธุรกิจนั้นมีความก้าวหน้า เจริญเติบโตและมีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความสำคัญของธุรกิจ
่่    ธุรกิจเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานในการสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือประชาชนโดยนำทรัพยากรต่าง ๆ มาเข้ากระบวนการที่เรียกว่า "การดำเนินธุรกิจ" ซึ่งธุรกิจเหล่านั้นมีผลต่อการพัฒนาประเทศและสังคม พอจะสรุปได้ดังนี้
        1. การดำเนินงานของธุรกิจก่อให้เกิดการนำทรัพยากรของประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
        2. ช่วยให้ผู้บริโภคหรือประชาชนได้ใช้สินค้าหรือบริการ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น
        3. ธุรกิจต่าง ๆ ช่วยขจัดปัญหาการว่างงาน และช่วยกระจายรายได้ไปสู่ประชาชน
        4. ช่วยเพิ่มพูนรยได้ให้กับประเทศในรูปแบบของภาษีอากร
        5. ประชาชนหรือผู้บริโภคมีโอกาสได้เลือกสินค้าหรือบริการที่สนองความพึงพอใจสูงสุดได้ง่าย                
             เพราะธุรกิจต่าง ๆ มีการแข่งขันกัน เพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการ
        6. ประเทศสามารถนำภาษีอากรที่จัดเก็บไปพัฒนาประเทศได้
ความสำคัญของธุรกิจ
ธุรกิจเป็นหัวใจสำคัญของสังคม สังคมจะเจริญก้าวหน้า มีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นที่ยอมรับของชาวต่างประเทศ ก็ต้องอาศัยความเจริญของธุรกิจ ซึ่งอาจสรุปความสำคัญของธุรกิจดังนี้
1.  ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศมีความก้าวหน้าและมั่นคง เนื่องจากมีการลงทุนประกอบธุรกิจ ทำให้มีการหมุนเวียน มีการกระจายรายได้ ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น
2. ช่วยให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการที่ประชาชนมีรายได้ จำเป็นต้องเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้รัฐเพื่อที่จะนำรายได้เหล่านี้ไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
3. ช่วยให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การทำธุรกิจย่อมต้องมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยอยูเสมอ เพื่อเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และทันคู่แข่งขัน
4. ช่วยให้ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น ทั้งนี้เพราะธุรกิจทให้มีการจ้างงาน ประชาชนมีรายได้
5. ช่วยลดปัญหาทางด้านสังคม คือปัญหาเรื่อง การว่างงาน ถ้าประชาชนมีการว่างงานจำนวนมาก จะไม่มีรายได้ ปัญหาเกิดขึ้นตามมา เช่น การเกิดอาชญากรรม
ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับบุคคล
ในการประกอบธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ธุรกิจต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องกับบุคคลหรือกลุ่มต่างๆดังนี้
1.  เจ้าของกิจการ เป็นบุคคลที่ลงทุนทำธุรกิจในการผลิตสินค้า หรือ บริการ
2.   ลูกจ้างหรือพนักงาน คือ กลุ่มบุคคลที่เป็นผู้มีหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการ หรือทำหน้าที่อื่นๆเกี่ยวข้องในกิจการนั้น
3   ผู้ขาย ในที่นี้ได้แก่ ผู้ที่ทำหน้าที่จัดหาสินค้าสำเร็จรูปเพื่อการจำหน่ายต่อไปยังผู้บริโภค
4.   ผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ได้แก่บุคคลที่ซื้อสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง
5.   เจ้าหนี้ ได้แก่ แหล่งเงินทุนที่ผู้ประกอบการไปติดต่อ เพื่อขอยืมเงินทุนในการประกอบธุรกิจ
6.    คู่แข่งขัน คือ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจซึ่งผลิตสินค้า และบริการประเภทเดียวกัน
7.    รัฐบาล การประกอบธุรกิจต่างๆต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาล ต้องปฎิบัติตามตามกฎระเบียบที่รัฐกำหนดขึ้น
หน้าที่ของการประกอบธุรกิจ
การประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะเป้นรูปแบบใดๆก็ตาม จะต้องมีหน้าที่หรือกิจกรรมที่คล้ายคลึงกันมีขั้นตอนและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอยู่ตลอด กิจกรรมเหล่านี้ได้แก
1.               การผลิต เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์โดยการแปรรูปวัตถุดิบหรือทรัพยากรเพีอให้เป็นสินค้าหรือบริการเพื่อให้เกิดความพึงพอใจในการบริโภค
2.               การจัดหาเงินในการประกอบธุรกิจ เงินทุน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากอย่างหนึ่ง ในการประกอบธุรกิจ การจัดหาเงินทุนเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ สามารถหาได้จาก 2 แหล่ง คือ
ก. แหล่งเงินทุนภายใน เป็นเงินที่ได้มาจกส่วนของเจ้าของกิจการ
ข. แหล่งเงินทุนภายนอก เป็นเงินที่ได้มาจากภายนอกกิจการ เช่น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนาคาร
3. การจัดหาทรัพยากรทางด้านกำลังคน ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีความสำคัญมากที่สุด
4. การบริหารทางการตลาด คือการดำเนินงานต่างๆที่จะทำให้สินค้าและบริการถึงมือผู้บริโภค โดยที่ผู้บริโภค จะได้รับความพึงพอใจมากที่สุด
ธุรกิจแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมที่กระทำได้ 8 ประเภทคือ
1. ธุรกิจเกษตร(Agriculture) ธุรกิจการเกษตรเป็นธุรกิจพื้นฐานของคนไทยที่ยึดถือเป็นอาชีพมาช้านาน ได้แก่ การทำนา ทำสวน ทำไร่ การประมง การเลี้ยงสัตว์ และการทำป่าไม
2. ธุรกิจเหมืองแร่(Mineral) ธุรกิจเหมืองแร่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการขุดเจาะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ มาใช้ เช่น ถ่านหิน ดีบุก น้ำมัน ปูนซีเมนต์ ฯล
ธุรกิจอุตสาหกรรม(Manufacturing) ธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นธุรกิจการผลิตและบริการทั่วไปทั้งอุตสาหกรรม ขนาดย่อมและขนาดใหญ่ ซึ่งแบ่งได้ดังนี
3.1 อุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือุตสาหกรรมขนาดย่อม ธุรกิจประเภทนี้เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กใช้แรงงานจากสมาชิกในครอบครัว โดยใช้เวลาว่างจากการประกอบอาชีพหลักให้เกิดประโยชน์ วัสดุต่างๆ หาได้ในท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์เป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่น สืบทอดจากบรรพบุรุษ เช่น อุตสาหกรรมจักสานอุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป ฯลฯ
3.2 อุตสาหกรรมโรงงาน อุตสาหกรรมโรงงานเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มี่มีการผลิตสินค้าจากโรงงานถาวร มีเครื่องจักรที่ทันสมัย และเกิดการจ้างแรงงานจากบุคคลภายนอก และใช้เงินลงทุนจำนวนมาก มีกระบวนการผลิตที่ดี ผลผลิตที่ได้จึงมีคุณภาพดีและปริมาณจำนวนมาก เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหาร รถยนต์ ฯลฯ
4 . ธุรกิจก่อสร้าง(Cnostruction) ธุรกิจก่อสร้างเป็นอุตสาหกรรมที่ทำต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมต่างๆ ที่กล่าวข้างต้น โดยนำเอาผลผลิตของอุตสาหกรรมมาใช้ เช่น การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ถนน สะพาน เขื่อน ทางระบายน้ำ เป็นต้น
5. ธุรกิจการพาณิชย์(Commercial) ธุรกิจการพาณิชย์เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการตลาด มีการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภค ทำให้ซื้อหาสินค้าต่างๆ ได้สะดวกสบายตามความต้องการ ซึ่งต้องอาศัยคนกลางดำเนินธุรกิจ ได้แก่ พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก นายหน้าและตัวแทนจำหน่าย
6 . ธุรกิจการเงิน(Financial) ธุรกิจการเงินเป็นธุรกิจที่ส่งเสริมให้ธุรกิจต่างๆ มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นเพราะเป็นองค์กรทีให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการเงิน และการลงทุน เช่น การซื้อที่ดิน การสร้างโรงงาน การซื้อเครื่องจักร วัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงาน นอกจากนี้การจัดจำหน่ายก็ต้องใช้เงินลงทุนซื้อสินค้าเพื่อขายต่อ การเก็บรักษาสินค้า ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าโฆษณา ผู้ประกอบการสามารถพึ่งพาธุรกิจการเงินได้ด้วยการกู้ยืมเพื่อนำไปลงทุนดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ธุรกิจการเงิน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพ่อการส่งออกและนำเข้า บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กองทุนหมู่บ้าน และบริษัทประกันภัย เป็นต้น
ธุรกิจบริการ(Services) ธุรกิจบริการเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ผลิตการบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในการอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค เช่น บริการขนส่ง การสื่อสาร ธุรกิจโรงแรม การท่องเที่ยว โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ ภัตตาคาร สถานบันเทิงต่างๆ ร้านซักรีด ร้านถ่ายรูป สถานเสริมความงาม ฯลฯ ธุรกิจอื่น ๆ ธุรกิจลักษณะอื่นๆ เป็นธุรกิจที่นอกเหนือไปจากธุรกิจดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ ผู้ประกอบการอาชีพอิสระต่างๆ เช่น แพทย์ ครู เภสัชกร วิศวกร สถาปนิก จิตรกร ประติมากร เป็นต้น
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ หมายถึง ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค หรือเป็นแรงกดดันที่มีอิทธิพลส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ปัจจัยที่ควบคุมได้ (Controllable Factors)
1.1 ผลิตภัณฑ์ (Product)
1.2 ราคา (Price)
1.3 ช่องทางการขาย (Place)
1.4 การส่งเสริมการขาย (Promotion)
2. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrollable Factors)
2.1 สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economics Environment)
2.2 สภาวะแวดล้อมทางด้านกฎหมายและการเมือง (Legal and Political Environment)
2.3 สภาวะแวดล้อมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม (Social and Cultural Environment)
2.4 สภาวะแวดล้อมทางการแข่งขัน (Competitor Environment)
2.5 สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางวิชาการ (Technology Environment)
2.6 พฤติกรรมของผู้บริโภค (Consumer Behavior)

แหล่งข้อมูลทางธุรกิจ
ข้อมูลทางธุรกิจมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจทั้งในด้านการผลิต การจำหน่าย การเงิน และการจัดการ การมีข้อมูลทางธุรกิจที่เพียงพอ จะช่วยในการตัดสินใจ การวางแผน และการกำหนดยุทธวิธีในการประกอบการให้เป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ เหนือกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งแบ่งออก เป็น 2 ประเภทได้แก่
1. แหล่งข้อมูลภายในกิจการ (Internal Sources) เช่นเอกสารต่าง ๆ ประวัติการซื้อขาย เอกสารทางการบัญชี เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาประกอบการวางแผน บอกแนวโน้ม และกำหนดวิธีการดำเนินงานของธุรกิจในอนาคตได้
2. แหล่งข้อมูลภายนอกกิจการ (External Sources) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ซึ่งสามารถหาได้จากหนังสือ นิตยสาร หรือข่าวสารต่าง ๆ ทั้งในหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะผลงานวิจัย งานวิชาการ ล้วนเป็นสิ่งที่ช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
https://sites.google.com/site/chamnam2554/home/naew-kar-sxn1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การพัฒนาบุคคลภาพการปรับปรุงตนเอง

ขอบคุณภาพจากGoogle การพัฒนาบุคคลภาพการปรับปรุงตนเอง 1. ความหมายของคำว่า  บุคคิลภาพ  (Personality)   หมายถึง ลักษณะเฉพาะทางของบุคคล...