วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

การพัฒนาบุคคลภาพการปรับปรุงตนเอง

ขอบคุณภาพจากGoogle

การพัฒนาบุคคลภาพการปรับปรุงตนเอง
1. ความหมายของคำว่า  บุคคิลภาพ  (Personality)   หมายถึง ลักษณะเฉพาะทางของบุคคล เช่น กิริยาท่าทางและพฤติกรรมการแสดงออก  หรือ บุคลิคภาพ หมายถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น เช่น กิริยาท่าทาง วาจา การแต่งกาย ซึ่งเราสามารถพัฒนาและปรับปรุงให้มีบุคลิกภาพที่ดีได้ ซึ่งในปัจจุบันมีสถาบันเปิดสอนหลายสถาบันด้านการปรับปรุงและพัฒนาบุคลิภาพ เพื่อให้เป็นผู้นำหรือเป็นผู้บริหาร
2. ปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างของบุคลิกภาพ
2.1 พันธุกรรม  เช่น รูปร่าง หน้าตา กิริยาท่าทาง ลักษณะนิสัย ผอม สูง อ้วน เตี้ย ห้าวหาญ อ่อนหวาน หล่อ สวย
2.2  สิ่งแวดล้อม   ได้แก่คนรอบข้าง ครอบครัว   สังคมหรือชุมชน
2.3  ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม  เช่น กิริการรับประทานอาหาร การเดิน การใช้ชีวิตทั่วไป
3.  ลักษณะของผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดีและไม่ดี
- บุคลิกภาพที่แสดงออกทางกิริยาอาการ เช่น  ไม่เรียบร้อย กระโดกกระเดก สวยหล่อแต่เข้าตา อวดดี ลืมตัว  รีบร้อนลนลาน  รูปงามแต่กิริยามารยาทไม่ดี  เข้ากับใครได้หมด
- บุคลิกภาพที่แสดงออกทางการแต่งกาย  เช่น ผิวดำแต่ใส่สีแดงสีรุนแรง  กาละเทศะการแต่งกายในสถานที่ต่างๆ
- บุคลิกภาพที่แสดงออกทางรับประทานอาหาร เช่น  กินเลอะเทอะ เละเทะ ไม่เรียบร้อย ไม่ระวัง  หรือกินอย่างมีมารยาทควรตักแต่พองาม
- บุคลิกภาพที่แสดงออกทางการพูด เช่น พูดจาไม่เกรงใจใคร เถียงไม่รู้จบ สับปลับ หลวกหลวง เชื่อถือไมได้ ไม่รักษาคำพูด พูดแทรกขณะที่ผู้อื่นพูดอยู่
3.1  การแสดงออกทางกาย ได้แก่ กิริยาท่าทาง การยืน การเดิน การนั่ง 
   3.1.1  ท่าทาง   สง่า สุภาพ อ่อนน้อม ยิ้มแย้มเป็นมิตร ไม่หยิ่งยโส ก้าวร้าว หน้าบึ้ง มองหน้าผู้อื่นเป็นศัตรู
   3.1.2. การยืน  เดินตัวตรง  ไม่เอียงซ้าย ขวา มากไป
   3.1.3 การนั่ง นั่งตัวตรงเข่าชิด เท้าชิด ไม่นั่งไข่วห้าง เท้าคาง นั่งหมอบกับโต๊ะ นั่งโยกโต๊ะ สั่นขา
   3.1.4  การเดิน เดินตัวตรง ไม่เอียงตัวเดิน ลากขา ลาก กระแทกท้าวเสียงดัง
   3.1.5  การแต่งกาย   เสื้อผ้า ตามจารีตประเพณี ให้ถูกกาละเทศะสถานที่ ไม่เปิดเผยจนเกินไป เหมาะสมกับวัย
   3.1.6  ทรงผม  เรียบร้อย ไม่รกรุงรัง  หน้าตารกรุงรัง 

3.2 การแสดงออกทางวาจา ได้แก่  
      3.2.1  การพูดไพเราะ อ่อนหวาน มีรับคำ เช่น คะ ครับลงท้าย จ๊ะ หรือหางเสียง ไม่กระโชกกระชาก ไม่ตลวดเสียงดัง หรือแหลมสูง
     3.2.1 พูดคำจริง ไม่สับปลับ หลวงหลวก เปลี่ยนไปตามอารมณ์ ผิดนัดผิดเวลาทำให้เสียความรู้สึกได้
     3.2.2  พูดให้กำลังใจ  ไม่ริษยา ไม่พูดให้ร้าย หรือใส่ร้ายผู้อื่น หรือพูดบั่นทอนกำลังใจคนอื่น
3.2.3  การแสดงออกทางลักษณะนิสัย  เช่น ควรเอาใจใส่ผู้อื่น เสียสละเพื่อส่วนรวม ไม่ใช่สนใจแต่ตนเอง เห็นแก่ตัว
3.3.4 รับผิดชอบ ตรงเวลา ไม่ควรผิดนัด 
3.3.5 รักการทำงาน  ซื่อสัตย์ต่หน้าที่ รักษาประโยชน์ของหน่วยงาน องค์อร ไม่ทำงานพ้นไปวันๆ หรือเรียนพ้นไปปวัน แต่ไม่สนใจงานใด เพราะไม่ว่าจะเรียนหรืองานก็วัดคุณค่าของผลงาน ไม่ยักยอก และทุจริตเมื่อมีโอกาส
4. กลวิธีในการปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพ
         เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของตนเองให้ปรากฏแก่สายตาบุคคุลทั่วไป เพื่อให้เกิดความประทับใจ เลื่อมใสศรัทธาและต้องการเป็นมิตรด้วย การพัฒนาบุคลิกภาพจึงต้องปรับปรุงทั้งบุคลิกภาพทั้งภายนอกและภายใน
         4.1 การพัฒนาทางกาย ได้แก่ ร่างกาย  เช่น ออกกำลังกาย  รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ  ความสะอาดของร่างกาย  การแต่งกาย  กิริยาท่าทางที่แสดงออกภายนอก
         4.2 การพัมนาทางใจ  ได้แก่ ลืมอดีตและให้อภัย  มีน้ำใจใฝ่ธรรมะ
         4.3 พัฒนานิสัยตนเอง  ลักษณะนิสัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับความต้องการและสิ่งที่ขาดหายไป  กลบเกลื่อนและไม่ยอมรับฟังความจริง  บางคนอาจกลบเกลื่อนจุดด้อยของตนเอง แสดงออกภายนอก แข็งก้าว รุนแรง หยอหยิ่ง มักแสดงด้วยการข่มผู้อื่นได้ ถ้าบางคนได้รับความกดดันในครอบครัว หรือรองรับอารมณ์คนในครอบครัว อาจแสดงออกมาด้วยบุคลิกที่ก้าวร้าว เกรี้ยวกราด เจ้าอารมณ์หรือไม่ก็หนีถอยจากสังคม มักเก็บตัว  ส่วนบางคนอาจมีครอบครัวที่ไม่ค่อยพูดจา เงียบ ก็จะแสดงออกมาเป็นคนไม่กล้าแสดงออก เก้อเขิน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง  สิ่งที่กล่าวมาอาจไม่ใช่ทั้งมด เป้นเพียงการสันนิฐานตามลักษณะชีวิตความเป็นอยู่ บางคนอาจหาทางออกและแสดงกิริยาท่าท่างของตนเองออกมาจากสิ่งที่เลียนแบบพฤติกรรมหรือตามความชอบของผู้อื่นได้
         การปรับปรุงและพัฒนาลักษณะนิสัย
1. สำรวจตนเองว่ามีลักษณะนิสัยอย่างไร เช่น กินเร็ว เดินเร็ว พูดเร็ว หยาบคาย รีบร้อน ไม่รอใคร  ฯลฯ
2. มองโลกในแง่ดี  มองทุกมุมเห้นเรื่องดี แต่ไม่ใช่การโกหกตนเอง  ลืมเรื่องที่ทำเสียใจเสียบ้าง
3. เชื่อมั่นในตเองว่าสามารถทำได้ ให้กำลังใจตนเอง อย่าท้อ อย่าอ้างว่าไม่สวย ไม่รวย ไม่หล่อ เรียนไม่สูง
4.  ยอมรับความคิดเห็นและคำตำหนิของผู้อื่น เพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุง
5. เรียนรู้จากตำรา หาข้อมูลสื่อต่างๆ ความรู้เพิ่มเติมด้านต่างๆ  เพื่อนำมาพัฒนาตนเอง
6. ปรับเปลี่ยนเจตคติ (Attitude) เลิกความคิดที่ว่า ตนเองทำไม่ได้ เลิกดูถูกตนเอง หรือแม้แต่ถูกถูกฐานันดรของตนเอง
7. ปรับเปลี่ยนรสนิยม  เช่น พอเพียงในความสันโดษ พอเพียงในสิ่งที่เป็น การดื่มหล้า การใช้ของราคาแพง เที่ยวกลางคืน เตร็ดแตร่ ก็ไม่ได้ทำให้ตนเองดูดีขึ้นในสายตาใครหรือแม้แต่คนที่ตนรัก หากแต่จะเสียทรัพย์เสียสุขภาพเสียเวลา
 5. ประโยชน์ของผู้มีบุคลิภาพดี
         5.1 ผู้มีบุคลิกภาพดีย่อมมีคนชื่นชมมากมาย
         5.2 บุคคลิกภาพดีมีอาชีพให้เลือกทำ
         5.3 บุคคลิกดีมีความสำเร็จในชีวิตและธุรกิจการทำงาน
สรุปว่าการมีบุคลิกภาพดีทำให้ได้รับการยอมรับในสังคมและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน บุคลิกภาพสามารถพัฒนนาได้มาจากความดีที่มีอยู่ในตนเอง จากการอบรมของครอบครัว สิ่งแวดล้อมและสนใจใฝ่รู้ฝึกฝนตนเองเพิ่มมากขึ้น  ปรับปรุงพัฒนาทางกาย เช่นการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปรับปรุงนิสัย ไม่ดื้อรั้น อวดดี ทำให้มีความรอมชอม มีความสุภาพมากขึ้น   สร้างสิ่งดีงามให้ตนเอง ปรับปรุงจิตใจ เพื่อให้ส่งผลให้บุคลิกภาพงดงาม มีมารยาทและมีกาละเทศะ ไม่ใช่สวยแต่รูปจูบไม่หอม สวยหล่อ แต่ไม่มีมารยาททางสังคม ให้ดูเป็นผู้ดีในสายตาของผู้ที่พบเห็น และน่าคบหาเป็นมิตรภาพที่ดี


วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560

การขยายพันธ์ุพืช

     
ขอบคุณภาพจาก Google


                                                  

ประวัติความเป็นมาของการขยายพันธุ์พืช
          มนุษย์รู้จักการขยายพันธุ์พืชมาตั้งแต่มนุษย์รู้จักพืชและความสำคัญของพืช โดยยุคแรกๆ มนุษย์ขยายพันธุ์พืชด้วยการเพาะเมล็ดที่เก็บรวบรวมมาจากท้องถิ่นต่างๆต่อมาจึงมีการคิดเลือกเฉพาะพืชพันธุ์ดีมาปลูก และเริ่มรู้จักวิธีการขยายพันธุ์พืชแบบแบ่งและแยกที่ไม่ต้องอาศัยเพศ หลังจากนั้นมนุษย์ชนชาติจีนได้ดัดแปลงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมาเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชโดยเมื่อสังเกตเห็นกิ่งอยู่ติดกัน  แล้วเกิดเสียดสีกันตามธรรมชาติ กิ่งหรือต้นพืชทั้งสองสามารถติดเป็นต้นเดียวกันได้ ต่อมาจึงคิดค้นวิธีการทาบกิ่ง ติดตา ต่อกิ่งและตอนกิ่งขึ้นมา
          ในยุคกลางวิธีการขยายพันธุ์พืชได้แผ่ขยายไปแถบประเทศตะวันตก  ต่อมาได้พัมนาวิชาการต่างๆ ที่เกียวข้องกับการขยายพันธุ์พืช เช่น วิชาพฤกษศาสตร์ วิชาฮอร์โมนพืช  วิชาพันธุศาสตร์ ทำให้การขยายพันธุ์พืชเจริญก้าวหน้ามาจนปัจจุบันนี้

     ความหมายและความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช
           การขยายพันธุ์พืช  หมายถึง  วิธีการที่ทำให้ต้นพืชเพิ่มจำนวนมากขึ้นดำรงสายพันธุ์ชนิดต่างๆ ไม่ให้สูญพันธุ์ โดยมีคุณสมบัติและคุณภาพของผลผลิตดีเท่าเดิม หรือดีขึ้นกว่าเดิม
           
การขยายพันธุ์พืชมีความสำคัญหลายด้านดังนี้
          1. ความสำคัญต่อมนุษย์  การเพิ่มจำนวนของต้นพืชเป็นหารเพิ่มอาหาร  เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคให้แก่มนุษย์
          2. ความสำคัญต่อต้นพืช  ต้นพืชสามารถดำรงพันธุ์ที่ดีไว้ได้  และเกิดพันธุ์ใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เช่น ต้นมะนาวที่สามารถให้ผลผลิตนอกฤดูกาล ต้นเฟื่องฟ้าหลายหลากสีในต้นเดียว ฝรั่งไร้เมล็ด
          3. ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม การเพิ่มจำนวนของพืชทำให้เกิดความร่มรื่ร เพิ่มออกซิเจนในอาการ ทำให้อากาศบริสุทธิ์ ช่วยดูดควันพิษจากการเผาไหม้เวื้อเพลิงของเครื่องยนต์ ยืดเกาะดินไม่ให้พังทลาย
          4. ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติ การขยายพันธุ์นำไปปลูกในดินที่ว่างเปล่าทำให้ดินนั้นมีคุณค่ามากกว่าการปล่อยทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์ และเพิ่มทรัพยกรป่าไม้ให้มีมากขึ้น
          5.ความสำคัญต่ออาชีพ  เกิดอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการขยายพันธุ์พืชมากมาย เช่น การขยายพันธุ์มะนาวเพื่อจำหน่วย  การปลูกสวนมะนาวโรงงานแปรรูปน้ำมะนาวและมะนาวผง  โรงงงานทำขวดหรือกล่องบรรจุมะนาวและมะนาวแปรรูปต่างๆ
           6.ความสำคัญต่อประเทศ  การนำผลผลิตที่ได้จากการขยายพันธุ์ เช่น ข้าว ยางพารา มะม่วง ทุเรียน  ฯลฯ ไปจำหน่ายเป็นสินค้าส่งออกช่วยให้มีรายได้นำมาพัฒนาประเทศของเราให้เจริญก้าวหน้า

ขอบคุณภาพจาก Google

ประเภทของการขยายพันธุ์พืชปละหลักการขยายพันธุ์พืช
             
                การขยายพันธุ์พืชแบ่งออกเป็น 2  ประเภท
              1. การขยายพันธุ์พืชแบบอาศัยเพศ  หรือการขยายพันธุ์ด้วยส่วนสืบพันธุ์ของพืช  เป็นการขยายพันธุ์พืช โดยการผสมเกสรเพื่อให้เกิดเป็นเมล็ด และนำเมล็ดไปเพาะให้เกิดต้นใหม่ นิยมขยายพันธุ์พืชจำพวกพืชล้มลุก


ขอบคุณภาพจาก Google

              2. กขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ หรือไม่ใช้ส่วนสืบพันธุ์เป็นการขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชในการขยายพันธุ์ เช่น กิ่ง ลำต้น ใบ นำไปตัดชำ ติดตา ต่อกิ่ง ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ



ขอบคุณภาพจาก Google

              
 การขยายพันธุ์พืช หมายถึง วิธีการที่ทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณของต้นพืชให้มากขึ้น เพื่อดำรงสายพันธุ์ พืชชนิดต่าง ๆ ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ ซึ่งวิธีการที่นิยมปฏิบัติโดยทั่วไป ได้แก่  การตอนกิ่ง   การทาบกิ่ง   การติดตา   การเสียบยอด  การตัดชำ  และการตอนกิ่ง

          การตอนกิ่ง  คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่ทุกประการ  พืชที่นิยมนำมาตอนกิ่ง เช่น มะนาว ฝรั่ง ชบา เป็นต้น โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1) การเลือกกิ่งที่จะใช้การทำตอน ควรเลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบรูณ์ หรือไม่เกิน 1 ปี มีใบงาม ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย โดยปกตอมักจะเลือกกิ่งกระโดง ซึ่งเป็นกิ่งที่งอกในแนวตั้ง จะพุ่งขึ้นอย่างเดียวและเป็นกิ่งที่อวบอ้วน
2) ทำแผลบนกิ่งโดยควั่นกิ่่งทั้งด้านบนและด้านล่าง ลอกเอาเปลือกออก แล้วขูดเนื้อเยื่อเจริญที่เป็นเหมือกลื่นออก เพื่อตัดทางลำเลียงอาหาร โดยขูดจากบนลงล่างเบาๆ
3) ทาฮอร์โมนเร่งรากบริเวณนรอยแผลบนกิ่งตอน จะช่วยให้กิ่งพืชออกรากเร้ว มีรากมากขึ้น และรากเจริญเร็วขึ้น
4) หุ้มกิ่งตอนโดยนำตุ้มตอนซึ่งเป็นขุยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาดฟ อัดลงในถุงพลาสติกผูกปากถุงให้แน่น มาผ่าตามยาว แล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผล หลังตอนกิ่ง 3-5  วัน จะต้องรถน้ำตุ้้มตอน ถ้าตุ้มตอนแห้งให้ใช้เข็มฉีดยาฉีดน้ำเข้าไปในตุ้มตอน 5-7 วันต่อครั้ง จนกว่าจะงอก
5) เมื่อกิ่งตอนมีรากงอกแทงผ่านขุยมะพร้าวและเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีน้ำตาลปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอ จึงตัดกิ่งตอนไปในภาชนะ กระถาง หรือถุงพลาสติกเพื่อการย้ายปลูกต่อไป


ขอบคุณภาพจากgoogle


ขอบคุณภาพจากGoogle


......................................................................................................................................................................................................................

การทาบกิ่ง  คือ การนำต้นพืช 2  ต้น ซึ่งเป็นต้นชนิดเดียวกันและมีระบบรากเชื่อมต่อกิ่งกันโดยต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นตอพันธุ์ดี เมื่อเกิดการประสานจองตัวกิ่งทั้งสองแล้ว จึงตัดกิ่งพันธฺุ์ดี หลือเป็นต้นตอของพันธฺุ์ และยอดพันธุ์เป็นของอีกพันธุ์ พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาบกิ่ง เช่น มะขาม มะม่วง ทุเทียน ขนุน เงาะ ลำไย  เป็นต้น  การทาบกิิ่งทำได้หลายวิธี แต่ในที่นี้ขอนำเสนอวิธีการทาบกิ่งแบบฝานบวบ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
          1.เลือกกิ่งพันธุ์ของต้นไม้ที่ต้องการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาบกิ่ง โดยเลือกกิ่งที่มีลักษณะกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบรูณ์ ไม่มีโรครบกวน และแมลงทำลาย
           2.เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นแผลรูปโล่ ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว แล้วเฉือนต้นตอให้เป็นแผลแบบเดียวกันกับกิ่งพันธุ์ และแผลต้องมีความยาวเท่ากับแผลกิ่งพันธุ์
          3.ประกบแผลต้นตอเข้ากับกิ่งพันธุ์ดีให้สนิทแล้วพันพลาสติกให้แน่น แล้วรากกิ่งพันธุ์เข้ากับต้นตอเชือกหรือลวด
          4.ประมาณ 7-8  สัปดาห์ รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ แผลจะติดกันดี รากตุ้มต้นตอจะงอกแทงผ่านวัสดุและเริ่มมีน้ำตาล ปลายรากสีขาวและจำนวนมาก แล้วจึงทำการตัดกิ่งพันธุ์ดีที่ระดับเดียวกับตุ้มต้นตอที่นำมาทาบ จากนั้นนำลงถุงเพาะชำ พร้อมปักหลักค้ำยันต้น เพื่อป้องกันต้นล้ม  ก่อนตัดไปลงถุงเพาะต้องควั่นต้นพันธุ์ดี เพื่อกระตุ้นให้รากต้นตอทำงานให้เต้มที่ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงตัด



....................................................................................................................................................................

  การติดตา  คือ การนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดีไปติดบนต้นตอเพื่อเซื่อมประสานส่วนของพืชเข้าด้วยกัน ให้เจริญเป้นพืชต้นเดียวกัน พืชที่นิยมนำมาติดตา เช่น พุทธา กุหลาบ ยางพารา
           การติดตา มีขั้นตอนดังนี้
           1.  เลือกต้นตอในส่วนที่เป็นสีเขียวปนนำ้ตาล แล้วกรัดต้นตอเป็นรูปตัวที T โดยกรีดให้ลึงถึงเนื้อไม้ ความยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร
           2.เฉือนแผ่นตาของต้นพันธุ์ดีที่จะใช้เป็นรูปโล่ยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร  โดยเฉือนให้เนื้อติดมาด้วย จากนั้นลอกเอาเนื้อไม้ออก
           3. สอดแผ่นตาลงไปในเปลือกต้นตอ โดยให้ตาตั้งขึ้น แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่นโดยพันจากด้านล่างขึ้นด้านบน
           4.ประมาณ 7-10  วัน ให้เปิดพลาสติกออกดูว่าแผ่นมีสีเขียว แสดงว่าตาติดกับต้นตอแล้ว จากนั้นจึงพันใหม่ โดยเว้นช่องให้ตาโผล่ออกมา ทิ้งไว้ประมาณ 2-3  สัปดาห์ จึงตัดต้นตอเดิมแล้วกรีดพลาสติกออก


ขอบคุณภาพจากGoogle


ขอบคุณภาพจากGoogle
............................................................................................................................................................................................
การเสียบยอด  คือ การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของต้นพืช 2  ต้น เข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเติบโตเป็นต้นเดียวกัน พืชที่นิยมเสียบยอด เช่น ลำไย ทุเทียน ลองกอง
      การเสียบยอด มีขั้นตอนดังนี้
       1.ตัดยอดต้นตอให้สุงจากพื้นดินประมาณ 10 เซนติเมตรแล้วผ่ากลางลำตันของต้นให้ลึกประมาณ 3-4  เซนติเมตร
       2.เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 3-4  เซนติเมตร
       3.เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกันแล้วใช้พลาสติกพันให้แผลและกิ่งพันธุ์จากต้นด้านบนลงสู่ล่างเพื่อให้รอยแผลต้นตอติดกันจนแน่น
       4.คลุมต้นตอที่เสียบยอดแล้วด้วยพลาสติก ประมาณ 5-7  สัปดาห์ รอยแผลจะประสานดี หลังจากนั้นจะนำไปพักไว้ในโรงเรือนเพื่อย้ายปลูกต่อไป


ขอบคุณภาพจาก Google

...............................................................................................................................................................................................................


การตัดชำ   คือ การนำส่วนต่าง ๆ ของพืชพันะุ์ดี เช่น ใบ ราก มาตัดและปักชำในวัสดุเพาะชำ เพื่อให้ได้ใหม่จากส่วนที่นำมาตัดชำ โดยมีคุรสมบัติและลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ พืชที่นิยมนำมาตัดชำ เช่น เทียนทอง ดกสน ชาฮกเกี้ยน
      การตัดชำ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
      1. เลือกกิ่งพันธุ์ที่มีลักษณะที่ตาและใบ ถ้าเป็นกิ่งแก่ควรเลือกกิ่งที่มีตา หลังจากนั้นจึงโคนกิ่งให้ชิดข้อ ยาวประมาณ 15-20  เซนติเมตร โดยตัดเฉียงเป็นปากแลากและตัดปลายบนให้เหนือตาประมาณ 1 เซนติเมตร
      2. ใช้มีดปลายแหลมกรีดบริเวณรอบโคนยาว 1-1.5 เซนติเมตร  ประมาณ 2-3 รอย เพื่อกระตุ้นให้เกิดราก
      3. ปักกิ่งชำลงในวัสดุเพาะชำ ลึกประมาณ 2.5-5  เซนติเมตร
      4. ห่อหรือคลุมด้วยถงพลาสติกประมาณ  25-30  วัน กิ่งตัดชำจะแตกพร้อมออกราก เมื่อมีจำนวนมากจึงย้ายไปปลูกต่อไป
ขอบคุณภาพจาก Google



อ้างอิง : หนังสือการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3





การพัฒนาบุคคลภาพการปรับปรุงตนเอง

ขอบคุณภาพจากGoogle การพัฒนาบุคคลภาพการปรับปรุงตนเอง 1. ความหมายของคำว่า  บุคคิลภาพ  (Personality)   หมายถึง ลักษณะเฉพาะทางของบุคคล...